ภาวะทุพโภชนาการ ภัยเงียบ เพิ่มความเสี่ยงโรคในผู้สูงอายุไม่รู้ตัว

ภาวะทุพโภชนาการ เป็นภาวะที่ควรจะต้องระวังสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะเป็นภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพและสามารถสร้างปัญหาได้หลากหลาย เนื่องจากจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เมื่อเกิดการขาดสารอาหารแล้ว ย่อมส่งผลทำให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและเจ็บป่วยได้ง่ายอีกด้วย วันนี้เราไปดูกันนะคะว่า ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร? รักษาอย่างไรให้หาย ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร? ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย เพราะโดยปกติแล้วร่างกายต้องการสารอาหารถึง 40 ชนิดต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน และกรดอะมิโน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจจะรับประทานอาหารได้น้อย หรือเลือกกินเพียงบางอย่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สมดุลของการได้รับสารอาหารของร่างกาย ภาวะทุพโภชนาการ มีกี่ชนิด? สำหรับภาวะทุพโภชนาการ สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1.ภาวะทุพโภชนาการในการเจริญเติบโต เป็นชนิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย โดยบางรายอาจจะมีปัญหาด้านพัฒนาการทางร่างกาย เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาได้เหมาะสมตามอายุและน้ำหนัก 2.ภาวะทุพโภชนาการแบบเฉียบพลัน เป็นภาวะของการขาดสารอาหารจากการที่น้ำหนักลดลงแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะคนสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเป็นชนิด marasmus โดยเป็นชนิดที่เกิดจากการย่อยสลายไขมัน และกล้ามเนื้อในร่างกาย เพื่อทดแทนสาอาหารที่ควรจะได้รับ 3.ภาวะทุพโภชนาการแบบเรื้อรัง เป็นชนิดที่มีผลกระทบตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เพราะอาจจะได้รับสารอาหารไม่ครบ […]

kaewsai

May 27, 2018