โรคพาร์กินสัน โรคทางสมอง ทำลายการทรงตัวผู้สูงอายุให้เสียสมดุล

โรคพาร์กินสัน ถือเป็นที่อีกหนึ่งภัยเงียบที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการสั่นของมือและขา ซึ่งโรคพาร์กินสันเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบการทำงานของเซลล์สมองที่คอยควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ แต่ก็สามารถใช้การรับประทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติมากขึ้น ดังนั้น ก่อนที่โรคพาร์กินสันจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือญาติ ผู้สูงอายุ เราควรทำความรู้จักกับโรคพาร์กินสันให้มากยิ่งขึ้นดังนี้ โรคพาร์กินสัน คืออะไร? โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือ โรคสันนิบาต คือโรคที่เกิดขึ้นทางสมองโดยเกิดจากเซลล์ประสาท ที่อยู่ในบางตำแหน่งมีการเสื่อมสภาพหรือตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่งผลทำให้สารสื่อประสาทภายในสมองที่เรียกว่า โดปามีน มีปริมาณลดน้อยลง เมื่อสารดังกล่าวลดลงผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญคือ เกิดอาการสั่นในขณะช่วงของการพัก เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง มีอาการแข็งแรงตามสภาพร่างกาย และการทรงตัวเสียสมดุล เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรค โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมเซลล์สมองในส่วนของก้านสมองที่ทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นเซลล์ที่คอยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมเรื่องการทรงตัว ซึ่งเมื่อเซลล์ดังกล่าวเสื่อมสภาพหรือลดลง จึงส่งผลให้ร่างกายของเราเกิดอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้าลง บางครั้งก็อาจมีอาการแข็งเกร็ง ซึ่งอาการทั้งหมดส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย มีปัญหาในการเดินและทรงตัว ปัจจัยสำคัญที่เป็นผลให้เกิดโรคพาร์กินสัน ปัจจัยสำคัญที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคพาร์กินสัน มีอยู่ 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ 1.อายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอาการของโรคพาร์กินสันเป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ในสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่สุขภาพถดถอยลงตามวัย 2.เกิดจากพันธุกรรม […]

kaewsai

June 6, 2018