หลายคนก็อาจจะเคยได้ยินชื่อ โรคหลอดลมอักเสบ ด้วยเพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย หลายครั้งจึงทำให้เราเจ็บป่วยเป็นหวัดง่าย บางทีก็คิดว่าอาจป่วยเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่แท้จริงแล้ว เราอาจจะเป็นหนักกว่านั้นก็เป็นได้
แต่คงมีไม่กี่คนที่รู้จักเกี่ยวกับโรคนี้อย่างแท้จริง วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดลมอักเสบกัน ซึ่งเป็นโรคใกล้ตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคหลอดลมอับเสบมาฝากกัน เราลองมาดูกันเลยดีกว่า
โรคหลอดลมอักเสบ คืออะไร?
โรคหลอดลมอักเสบ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bronchitis เกิดจากการอักเสบของเยื้อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลมหรืออากาศเข้าไปสู่ปอด
ส่งผลทำให้เยื้อบุหลอดลมบวม มีเสมหะติดอยู่ที่หลอดลม จึงส่งผลเสียต่อระบบหายใจ
โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการพัฒนามาจากโรคไข้หวัด รวมถึงการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ
โรคหลอดเกิดขึ้นได้ 2 ชนิด โดยทั่วไปจะเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน กับโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ซึ่งจะมีความรุนแรงมากกว่า
อาการของหลอดลมอักเสบ
อาการเริ่มต้นของหลอดลมอักเสบจะเริ่มต้นจากการเป็นหวัด รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว มีน้ำมูก แสบคอ
ถ้าหากรู้สึกแน่นหน้าอกพร้อมกับมีเสมหะอยู่ในลำคอ และมีอาการไอ นั้นเป็นอาการที่แสดงถึงโรคหลอดลมอักเสบในเบื้องต้น
โรคหลอดลมอักเสบมีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยจะมีอาการที่สังเกตได้ง่ายดังต่อไปนี้
– ไอ ถือว่าเป็นอาการสำคัญอย่างหนึ่งของโรคนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยในขณะที่ไอ
– มีเสมหะ จะมีทั้งเสมหะแบบไม่มีสี อาจมีสีเหลือง สีเขียว ในบางกรณีจะมีเสมหะปนเลือดอยู่ด้วย แต่อาจจะพบได้น้อย
– แสบคอ อาการแสบคอเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโรคหลอดลมอักเสบ
– หายใจลำบาก จะทำรู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงหวีด มีอาการแน่นหน้าอกร่วมด้วย
– ไข้ อาการเริ่มแรกของโรคหลอดลมอักเสบ จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวก่อน โดยผู้ป่วยอาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้
ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการไอต่อเนื่องอยู่หลายสัปดาห์
ถึงแม้ว่าอาการติดเชื้อจะหายไปแล้วก็ตาม โดยผู้ป่วยหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง จะมีอาการไออย่างรุนแรงอย่างน้อยติดต่อกัน 3 เดือน
ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการแย่ลง โดยอาจจะเริ่มจากโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันก่อน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นได้จากแบคทีเรียและไวรัส แต่โดยส่วนมากแล้วจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza Virus) อะดิโนไวรัส (Adenovirus) ไรโนไวรัส (Rhinovirus)
ในบางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) หรือคลาไมเดีย (Chlamydia)
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบคือ การสูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่จำเป็นต้องอยู่กับคนสูบบุหรี่บ่อย ๆ
มลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่น ก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้ง่าย
การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ
สำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการในช่วงวันแรก ๆ จะทำให้แยกลักษณะได้ยาก เนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบในระยะแรก
จะมีอาการคล้ายกับอาการของไข้หวัด ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะใช้หูฟัง เพื่อฟังเสียงจากปอดในขณะที่ผู้ป่วยหายใจ
เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
เอ็กซเรย์หน้าอก จะช่วยทำให้สามารถระบุโรคได้ง่ายขึ้น หากผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ
ตรวจการทำงานของปอด แพทย์จะให้เป่าเครื่องสำหรับวัดอัตราการหายใจที่ปอดสามารถรับได้และความเร็ว
ในขณะที่อากาศออกจากปอด การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้สามารถตรวจหาอาการของโรคหอบหืด และอาการผิดปกติของปอดได้
ตรวจเสมหะ เป็นการเพาะเชื้อจากเสมหะ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอและมีเสมหะ
แพทย์จะสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันโดยส่วนใหญ่ จะสามารถหายไปเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ยังมีอาการผู้ป่วยจะต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก
พักผ่อนให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1.ยาปฏิชีวนะ หลอดลมอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะอาจจะทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผลดีเท่าไหร่
แต่แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
2.ยาแก้ไอ การรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยได้ผลดีเท่าไหร่ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอและมีเสมหะร่วมด้วย
เนื่องจากยาแก้ไอ จะกำจัดสิ่งที่กระตุ้นทำให้เกิดการระคายเคืองจากปอดและทางเดินหายใจ
3.การรักษาด้วยยาอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาพ่นเข้าปอด หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ
วิธีป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นสามารถหายได้เอง ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
แต่ผู้ป่วยจะต้องดูแลตัวเองให้ถูกวิธี เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่พอเหมาะ
ผ่อนคลายความเครียด นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่าอยู่ในพื้นที่มีอากาศเย็นมาก รวมถึงระมัดระวังคนรอบข้างที่อาจแพร่เชื้อได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังจะต้องหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีควัน
ฝุ่น และสารเคมี รวมถึงสารระคายเคืองต่าง ๆ นอกจากนี้ยังควรป้องกันตนเองด้วยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อมีอาการป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น หมั่นดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ด้วยการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะช่วยทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้หายใจเร็วขึ้น เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรคหลอดลมอักเสบได้เป็นอย่างดี
Credit : doctoroz.com
โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคใกล้ตัว ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะมีลักษณะอาการคล้ายกับอาการหวัด
โรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน สามารถหายไปเองโดยไม่ต้องทำการรักษา
ส่วนโรคหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง จะต้องทำการตรวจโดยละเอียด เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี