การเลือกรถเข็นหรือเก้าอี้ล้อเข็นผู้สูงอายุ พร้อมวิธีใช้งานอย่างถูกต้อง

การเลือกซื้อรถเข็น เก้าอี้ล้อเข็นผู้สูงอายุ

รถเข็น หรือ เก้าอี้ล้อเข็นผู้สูงอายุ (Wheelchair) คือ รถเข็นที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นยานพาหนะของผู้สูงอายุ

ที่ไม่สามารถยืนหรือเดินเองได้อย่างสะดวก โดยรถเข็นนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการเดิน

ซึ่งเกิดจากการเจ็บป่วยหรือความชราภาพ ซึ่ง รถเข็นผู้สูงอายุ ก็มีหลากหลายประเภท สามารถที่จะเลือกสรรมาใช้ได้ตามความต้องการ

ประเภทของเก้าอี้รถเข็น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ประเภทที่ต้องใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน คือ รถเข็นที่ต้องใช้แรงจากคนคอยช่วยเข็นหรือดันให้เคลื่อนที่ไปยังข้างหน้า โดยมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1.1 แบบที่ต้องมีผู้อื่นเข็นให้เท่านั้น

รถเข็นประเภทนี้มักนิยมใช้ในโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นรถเข็นที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเอื้อมมือมาขยับล้อเข็นเองได้

มักจะมีล้อหลังขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 14 นิ้ว โดยรถเข็นประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบา และราคาถูก

1.2 แบบที่ผู้สูงอายุเข็นเองได้

รถเข็นแบบนี้ผู้สูงอายุต้องใช้แขนทั้ง 2 ข้างหมุนล้อเอง ในเวลาที่ต้องชะลอความเร็วหรือต้องการหยุดรถเข็น

ก็ต้องใช้แขนทั้ง 2 ช่วยในการหยุดรถ ซึ่งรถเข็นมักจะมีล้อที่มีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-24 นิ้ว โดยประมาณ

รถเข็นแบบนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังมีแรงพอสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง

สำหรับรถเข็นประเภทขับเคลื่อนด้วยกำลังจะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้อลูมิเนียมหรือเหล็กในการทำ

เพื่อให้รถมีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมีหลายแบบทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ พับเก็บไม่ได้และพับเก็บได้

ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักนิยมออกแบบมาให้สามารถพับเก็บได้ เพื่อช่วยประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ

2.ประเภทที่ต้องใช้พลังงานจากภายนอกในการขับเคลื่อน คือรถเข็นที่ต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่

หรือพลังงานจากไฟฟ้าช่วยในการขับเคลื่อน ลักษณะภายนอกของรถเข็นประเภทนี้จะคล้ายคลึงกันกับรถเข็นประเภทใช้กำลังคนขับเคลื่อน

ต่างกันตรงที่จะมีการติดตั้งระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่มเติม ทำให้ผู้สูงอายุสามารถควบคลุมทิศทางของรถเข็นให้ไปในเส้นทางที่ต้องการได้

ส่วนประกอบของเก้าอี้ล้อเข็นสำหรับผู้สูงอายุ

โครงสร้างโดยรวมของรถเข็น มักจะทำมาจากอลูมิเนียมหรือเหล็กพ่นสี ส่วนที่นั่งมักใช้หนังใยสังเคราะห์หรือผ้า

มีที่สำหรับวางแขน และมีที่พักเท้าซึ่งสามารถพับหรือถอดออกได้ มีคันบังคับท้ายสำหรับผู้ที่ดูแล

ในบางรุ่นอาจมีหรือไม่มีพนักพิงศีรษะ ส่วนของล้อรถเข็น จะมีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบยางตัน มีทนทานสูง แต่ไม่นุ่มนวล

ไม่เหมาะกับการใช้งานนอกสถานที่ และแบบยางสูบลม จะมีความนุ่มแต่ลมอาจรั่วซึมออกได้ง่าย

เหมาะแก่การนำออกมาใช้นอกสถานที่มากกว่า สำหรับล้อหน้า จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก

จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าล้อหลัง มีกรงล้อนอกสำหรับใช้มือหมุนให้ล้อเคลื่อนที่

และสุดท้ายคือ ล้อหลัง ทำหน้าที่ในการบังคับทิศทาง มีขนาดที่เล็กกว่าล้อหน้า สามารถหมุนได้รอบ

การเลือกซื้อเก้าอี้ล้อเข็นสำหรับผู้สูงอายุ

1.หากต้องการใช้ในระยะยาวให้เลือกซื้อแบบที่มีความทนทาน โดยทำจากอลูมิเนียม น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก

2.หากมีงบน้อยให้เลือกเก้าอี้ล้อเข็นที่เป็นแบบเหล็กชุบโครเมียม ซึ่งมีบางรุ่นสามารถนั่งถ่ายบนรถได้ด้วย

3.หากต้องการความสะดวกสบายให้เลือกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง

4.หากผู้สูงอายุไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือทรงตัวด้วยตัวเองได้ ให้เลือกรถเข็นที่สามารถปรับเอนนอนได้

5.รถเข็นต้องไม่มีความเทอะทะ ความลึกต้องมีความพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งลงไปแล้วข้อเข่าและสะโพกควรงอทำมุมฉาก

ข้อพับเข่าควรมีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างขอบที่นั่ง เพราะหากที่นั่งมีความลึกเกินไป อาจทำให้เกิดการเสียดสีจนเป็นแผลขึ้นที่บริเวณใต้เข่า

6.ความสูงของพนักพิงต้องมีความพอดี ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องความคล่องตัว

ให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำและสำหรับผู้สูงอายุไม่สามารถทรงตัวเองได้ ควรใช้พนักพิงที่เหมาะกับตัวผู้สูงอายุ

7.ที่วางเท้าต้องมีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรเลือกแบบที่ผู้สูงอายุนั่งแล้วเกิดความสบายมากที่สุด

โดยเมื่อนั่งลงไปข้อเข่าและข้อเท้าควรงอและตั้งฉาก ไม่งอหรือเหยียดจนเกินไป และไม่ควรสูงเกินไป

เพราะอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปยังบริเวณก้นมากเกินไป เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานจะทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือมีแผลกดทับเพิ่มขึ้นอีก

วิธีใช้เก้าอี้ล้อเข็นสำหรับผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง

1.เมื่อต้องการกางเก้าอี้ล้อเข็น ให้ใช้มือทั้ง 2 ข้างกดลงยังขอบที่นั่งพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน จนรถเข็นค่อยๆ กางออก

2.เมื่อต้องการกระดกล้อเล็ก ให้ใช้เท้าเหยียบแล้วกดลงไปยังปลายแกนเหล็กที่อยู่ด้านข้างล้อใหญ่ทางด้านในของล้อทั้ง 2 ข้าง พร้อมทั้งจับรถเข็นให้หงายขึ้นเล็กน้อย

3.การเข็นรถเข็นเดินหน้าและถอยหลังขึ้นบนพื้นต่างระดับ โดยการเดินหน้ารถเข็นขึ้นบนพื้นที่ต่างระดับนั้น

ให้นำเก้าอี้เข็นถอยหลังมาอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพื้นต่างระดับและทำการกระดกล้อขึ้นเล็กขึ้น

ให้เข็นด้วยการใช้ล้อใหญ่จนล้อใหญ่อยู่ชิดพื้นต่างระดับและล้อเล็กก็อยู่บนพื้นที่ต่างระดับ

จากนั้นให้ยกรถเข็นไปด้านหน้าเพื่อให้ล้อให้ล้อใหญ่อยู่บนพื้นต่างระดับ และการถอยหลังขึ้นบนพื้นต่างระดับ

ให้นำเก้าอี้เข็นถอยหลังมาอยู่ในตำแหน่งที่ล้อใหญ่ชิดอยู่กับขอบของพื้นต่างระดับ จากนั้นกระดกล้อเล็กขึ้น

ออกแรงดึงรถเข็นให้ถอยหลังขึ้นไปบนพื้นต่างระดับ โดยจะต้องกระดกล้อเล็กขึ้นตลอดเวลา พยายามค่อยๆ วางล้อหน้าลงช้า

4.การเข็นรถเข็นเดินหน้าและถอยหลังลงในพื้นที่มีความต่างระดับ สำหรับการเข็นเดินหน้าลง

จะใช้การเข็นให้ล้อเล็กอยู่ใกล้ทางต่างระดับ และกระดกล้อเล็กขึ้น จากนั้นรถเข็นจะเดินหน้าด้วยการใช้ล้อหลัง

จนกระทั้งถึงขอบทางต่างระดับแล้วจึงจะค่อยๆ ปล่อยล้อหลังลงจากพื้นต่างระดับอย่างช้าๆ

โดยต้องให้ล้อเล็กกระดกขึ้นตลอดเวลา จากนั้นจึงวางล้อหน้าลง แต่การเข็นรถถอยหลังลงนั้น

จะใช้วิธีการเข็นโดยให้ล้อเล็กอยู่ใกล้ทางต่างระดับ และกระดกล้อเล็กขึ้น จากนั้นรถเข็นจะเดินหน้าด้วยการใช้ล้อหลัง

จนกระทั้งถึงขอบทางต่างระดับแล้วจึงจะค่อยๆ ปล่อยล้อหลังลงจากพื้นต่างระดับอย่างช้าๆ ซึ่งจะคล้ายกับการเข็นเดินหน้าลง

ต่างกันตรงที่ไม่ต้องกระดกล้อเล็กขึ้นตลอดเวลา เมื่อพ้นพื้นให้ค่อยๆ วางล้อเล็กลงอย่างช้าๆ

5.การขนย้ายผู้สูงอายุบนรถเข็นขึ้น-ลงบันได ในการย้ายผู้สูงอายุขึ้นบันได จะต้องใช้คน 2 คนในการเคลื่อนย้าย

โดยให้คนหนึ่งยืนอยู่ด้านหลังรถเข็นใช้มือทั้ง 2 ข้างจับที่บริเวณที่จับมือของรถเข็น และให้อีกคนอยู่ด้านหน้ารถ

โดยให้ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับที่บริเวณเหนือที่วางเท้าของรถเข็น จากนั้นให้เข็นรถเข็นถอยหลังไปชิดยังบันได

โดยล้อใหญ่จะต้องอยู่ติดกับชั้นล่างสุดของบันได กระดกรถเข็นให้ล้อเล็กยกขึ้นทำมุม 45 องศา

ซึ่งทั้ง 2 คนจะต้องช่วยกันออกแรงยกในจังหวะที่พร้อมกัน โดยคนที่อยู่ด้านบนจะต้องจับให้แน่นและช่วยดึงรถเข็นไว้

ส่วนคนที่อยู่ข้างล่างจะต้องช่วยรับน้ำหนักไว้ไม่ให้รถเข็นเลื่อนไหลลงบันได สำหรับวิธีการย้ายผู้ป่วยลงบันได

ก็ต้องใช้คน 2 คนช่วยยกเช่นกัน โดยให้คนหนึ่งยืนอยู่ที่บริเวณด้านหลังรถเข็น ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับที่มือจับของรถเข็น

ส่วนอีกคนหนึ่งให้อยู่ที่บริเวณด้านหน้ารถ ใช้มือทั้ง 2 จับบริเวณเหนือที่วางเท้าของรถเข็น จากนั้นให้เข็นรถเข็นถอยหลังไปชิดยังบันได

กระดกล้อเล็กให้เอียงทำมุมประมาณ 45 องศาแล้วค่อยๆ ผ่อนให้รถเข็นเลื่อนไหลลงบันไดทีละขั้นอย่างช้าๆ

โดยคนที่อยู่ด้านบนต้องจับให้แน่น ส่วนคนที่อยู่ด้านล่างจะต้องช่วยรับน้ำหนักไว้ โดยทั้ง 2 คนจะอาศัยจังหวะการทำที่สอดคล้องกัน

6.การห้ามล้อ ตำแหน่งนี้จะอยู่บริเวณด้านข้างของรถเข็นซึ่งใกล้กับล้อใหญ่ โดยจะใช้วิธีการผลักคันโยกของห้ามล้อไปด้านหน้า

และหากต้องการปล่อยห้ามล้อให้ทำการดึงคันโยกของห้ามล้อกลับมาทางด้านหลัง

7.การเก็บรถเข็น ให้จับแผ่นที่รองนั่งตรงกลางที่อยู่ระหว่างขอบหลังและขอบหน้าแล้วทำการยกขึ้น รถเข็นก็จะหุบเข้า

Credit : freepik.com

และนี่ก็คือ วิธีเลือกซื้อรถเข็น หรือ เก้าอี้ล้อเข็นผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น การเดินเหินอาจจะลำบาก

หนำซ้ำบางรายอาจจะพิการเดินไม่สะดวกก็จำเป็นที่จะต้องใช้รถเข็นช่วย ซึ่งการเลือกซื้อรถเข็นก็ต้องพิจารณาเลือกดีๆ

และเมื่อเลือกซื้อมาใช้ตามความเหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ก็อย่าลืมเรียนรู้วิธีใช้งานอย่างถูกต้องด้วย

เพื่อให้การใช้งานรถเข็นอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัยพร้อมกัน