โรคมะเร็งต่อมน้ำลาย หลายคนพอได้ยินโรคนี้อาจจะมีความกังวลมากพอสมควร เนื่องจากขึ้นชื่อว่ามะเร็งแล้ว
ย่อมทำให้หลายคนรู้ดีว่าอันตรายได้มาเยือนชีวิตอย่างแน่นอน บทความนี้เราจึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันมากยิ่งขึ้น
โรคมะเร็งต่อมน้ำลายคืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลยค่ะ
ทำความรู้จักโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
โรคมะเร็งต่อมน้ำลาย (Salivary gland cancer) โรคมะเร็งต่อมน้ำลายเป็นโรคที่พบได้น้อย ซึ่งจะพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
โดยเฉพาะในประเทศไทย โรคนี้หากผู้ป่วยยังเป็นในระดับปานกลาง ก็สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่หากเป็นในระดับที่ร้ายแรง
อาจจะยังต้องทำการรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งต่อมน้ำลายก็นับว่าอันตรายอย่างมาก เพราะสามารถส่งผลต่อระบบย่อยอาหารได้ด้วยนั่นเอง
สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
ปัจจุบัน ยังไม่มีการค้นพบถึงสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย หรือจะเรียกว่ายังไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนว่าเป็นเพราะอะไร
จึงสามารถที่จะทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำลายได้ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะมีบางปัจจัยที่ถือว่าเป็นส่วนร่วมที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำลายได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีดังนี้
1.ร่างกายขาดวิตามิน
โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี เนื่องจากวิตามิน 2 ชนิดนี้มีความสำคัญต่อต่อมน้ำลายเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ต่อมน้ำลายเกิดความแข็งแรง
2.ร่างกายได้รับรังสีไอออนไนซ์ (Ionizing radiation)
หรือรังสีที่ใช้รักษาโรคบางชนิด เพราะหากได้รับมากเกินไปก็ย่อมส่งผลให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำลายได้
ขณะเดียวกัน แม้ว่าบางคนไม่ได้รักษาโรคโดยใช้รังสีดังกล่าวก็ตาม หากแต่สถานที่ทำงานหรือสถานที่พักอาศัย
อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการใช้คลื่นรังสี ก็ย่อมทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการได้รับรังสีจนทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำลายได้เช่นเดียวกัน
3.พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
เช่น การคุยโทรศัพท์เป็นเวลานานก็สามารถสร้างความเสี่ยงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จากการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
และการสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้
4.คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
สาเหตุนี้นับว่ามีส่วนทำให้หลายคนเป็นโรคมะเร็งกันได้ง่ายๆ เพราะหากพบว่าคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งมาก่อน
ย่อมส่งผลทำให้สมาชิกในบ้านคนอื่นๆ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำลายได้สูงทีเดียว
อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย บางรายก็อาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมามากมาย แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ รวมอยู่ด้วยบ้างเพื่อช่วยในการสังเกต ซึ่งก็มีดังนี้
- มีก้อนเนื้อ บริเวณขากรรไกร ลำคอ และปาก
- ใบหน้ามีขนาดไม่เท่ากัน
- กลืนอาหารได้ลำบาก
- การขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นไปได้ยาก
- ไม่สามารถอ้าปากได้
- กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
โรคมะเร็งต่อมน้ำลายจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยมีระยะคล้ายกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ซึ่งอาการทั้ง 4 ระยะก็สามารถอธิบายได้ดังนี้
ระยะที่ 1 ระยะแรกนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีก้อนมะเร็ง แต่ขนาดจะอยู่ที่ไม่เกิน 2 เซนติเมตร
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดที่โตมากขึ้น แต่จะอยู่ที่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร โดยจะอยู่ที่ความระดับปานกลาง และอยู่เพียงแค่ในต่อมน้ำลายเท่านั้น
ระยะที่ 3 มีขนาดที่ใหญ่มากกว่า 4 เซนติเมตร โดยอยู่ในระดับที่รุนแรง เนื่องจากก้อนมะเร็งจะเริ่มมีการลุกลาม
ไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลือง ลำคอ แต่อาจจะยังไม่มีขนาดที่ใหญ่มาก จึงไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ระยะที่ 4 อาจเรียกได้ว่าเป็นระยะที่มีความรุนแรงมากที่สุดก็ว่าได้ เมื่อก้อนมะเร็งเกิดการลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง
ก้อนก็จะมีขนาดที่โตมากกว่า 3 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะลุกลามไปในส่วนของเส้นประสาท กระดูก
และส่วนที่เป็นอวัยวะอื่นได้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีโอกาสน้อยที่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย อย่างแรกแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย เพราะถือเป็นตัวบ่งชี้ที่จะสามารถช่วยในเรื่องของการวินิจฉัยได้
นอกจากนี้ จะต้องมีการตรวจร่างกายร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับในส่วนของการวินิจฉัย สำหรับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมในรูปแบบอื่นๆ ก็มีดังนี้
1.ตรวจต่อมน้ำลายด้วยการเอกซเรย์
2.ตรวจต่อมน้ำลายด้วยการผ่าตัด (ไม่มีการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อป้องกันการลุกลาม)
3.ตรวจค่าน้ำตาลจากเลือด
4.ตรวจปัสสาวะ
5.ตรวจการทำงานของตับ ไต
6.ตรวจภาพต่อมน้ำลายและต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ
วิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
การรักษามะเร็งต่อมน้ำลาย รูปแบบสำหรับการรักษาจะมีความคล้ายคลึงกับโรคมะเร็งโดยทั่วไป โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
1.การผ่าตัด
สำหรับวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยสามารถที่จะแบ่งการผ่าตัดเป็น 2 รูปแบบ คือ
ผ่าตัดบริเวณใต้ขากรรไกร โดยจะผ่าบริเวณใต้ขากรรไกร หลังจากนั้นก็จะตัดเนื้องอกออกเพื่อนำไปวินิจฉัยอีกหนึ่งรอบ
หากพบว่าเป็นเซลล์มะเร็งก็จะต้องตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้นทิ้ง
ผ่าตัดบริเวณต่อมน้ำลาย เป็นรูปแบบการผ่าตัดที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งนี้อาจจะมีความแตกต่างตรงที่ยังมีความเสี่ยง
หากกระทบกระเทือนไปที่เส้นประสาทบริเวณนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปากเบี้ยว หรือบางรายก็อาจจะเป็นได้แบบถาวร
2.ฉายรังสี
การรักษาด้วยการฉายรังสี เหมาะสำหรับก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่ลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ แล้ว จึงทำให้ไม่สามารถที่จะผ่าตัดออกไปได้
3.การให้เคมีบำบัด
โดยจะให้ก็ต่อเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มแพร่กระจาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสำหรับการรักษา แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
วิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย
การป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำลาย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่จะสามารถช่วยป้องกันได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะช่วยได้ดีมากที่สุด
คือ คอยสังเกตความผิดปกติ ถ้าหากว่ามีก้อนเนื้อที่ผิดปกติเกิดขึ้น หรือหากร่างกายเกิดปัญหาผิดปกติใดๆ ก็ตาม
ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรค และทำการรักษาต่อไปโดยเร็ว ก็ย่อมเป็นการช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง
ไม่ให้ลุกลามบานปลาย จนกระทั่งเข้าสู่ระยะร้ายแรงซึ่งไม่อาจรักษาได้หายได้อย่างทันการณ์แน่นอน
Credit : pobpad.com
โรคมะเร็งต่อมน้ำลาย เป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก และเมื่อเกิดในระยะแรกๆ ก็แทบจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา
ซึ่งก็คงจะไม่ต่างจากการเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั่วไป ทางที่ดีเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากการเป็นโรคมะเร็งทุกชนิดได้มากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยควรที่จะคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ หากผิดปกติก็ควรรีบพบแพทย์และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถรู้เท่าทันโรคได้ค่ะ