โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพที่ดูเหมือนเล็ก แต่ซ่อนอันตรายกว่าที่คิด !

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคในระบบลำไส้ เป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน

อาจทำให้กลายเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

เป็นโรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน หากมีอาการไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังมาฝากกัน

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง คืออะไร?

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เกิดจากการอักเสบที่เยื้อบริเวณลำไส้ใหญ่ใหญ่และลำไส้ตรง ส่งผลทำให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร

อาการอักเสบที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ ส่งผลทำให้ลำไส้บีบตัวเร็ว จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง

ท้องร่วง ถ่ายมีมูกเลือดปนออกมา โดยเกิดจากการหลุดลอกของของเยื้อบุผิวที่เกิดการอักเสบ

ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร เป็นที่รวมกากอาหารและของเสีย ไส้ตรงเป็นส่วนปลายสุดของลำไส้

อยู่ติดกับช่องทวารหนัก เป็นอวัยวะที่เป็นทางผ่านของกากอาหาร ก่อนที่จะถูกขับออกจากร่างกาย

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้ได้กับทุกช่วงอายุ แต่อาการของโรคจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 15–30 ปี หรือช่วงอายุประมาณ 50–70 ปี

อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาการของลำไส้ใหญ่อักเสบจะแสดงอาการออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่า อาการอักเสบเกิดขึ้นตรงบริเวณไหน

อาการโดยทั่วไปของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

1.ท้องร่วง ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบมักจะถ่ายมีมูกปนเลือดออกมาด้วย ในบางกรณีอาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหัน

อาจถ่ายวันละ 10 – 20 ครั้ง จนทำให้ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก

2.มีอาการปวดบีบที่ท้อง

3.เจ็บบริเวณลำไส้ตรง ลำไส้ตรงมีเลือดออก

4.น้ำหนักลด

5.อ่อนเพลีย

6.เป็นไข้

7.เกิดภาวะแคระแกรน หากโรคนี้เกิดกับเด็ก จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เด็กมีรูปร่างแคระแกรน

โรคลำไส้อักเสบยังอาจพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดบริเวณข้อต่อ แผลในปาก ความผิดปกติของตาหรือตับ

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ เกิดอาการอักเสบเรื้อรังมาเป็นปี แล้วจึงกลับมาเป็นซ้ำอีก

สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ในทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรังเกิดจากอะไร แต่สาเหตุหลัก ๆ

อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ หรือภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โดยทั่วไปแล้วระบบภูมิคุ้มกันจะมีหน้าที่ปกป้อง

ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ในกรณีที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ภูมิคุ้มกันที่ผลิตขึ้นมา

จะทำลายเนื้อเยื้อภายในร่างกายแทน ลำไส้อักเสบจึงเกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร

โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบเรื้อรัง

พันธุกรรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ป่วยด้วยโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ จะมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคนี้ได้สูงขึ้น

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

ลำไส้ใหญ่อักเสบถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง จุดประสงค์ในการรักษาก็เพื่อลดอาการอักเสบให้น้อยลง

เมื่ออาการของโรคอยู่ตัวแล้ว แพทย์จะทำการติดตามผลการรักษาทุก 6 เดือน แต่ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ได้บ่อยมากว่านั้น

หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น การรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังสามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยยา

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่โดยปกติแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะทำให้ผู้ป่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรัง

ให้ทรงตัว ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง จะช่วยทำให้ระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น

การรักษาด้วยยาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค บริเวณลำไส้ที่เกิดการอักเสบ

รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยเป็น การเลือกใช้ยามีหลักพิจารณาดังต่อไปนี้

อาการระดับอ่อนไปถึงระดับรุนแรง จะใช้ยาอะมิโนซาลิไซเลต (Aminosalicylates) โดยผู้ป่วยจะได้รับยาผ่านการรับประทาน

หรือการสวนทวารหนัก ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยารูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าอาการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณใดของลำไส้ ยาอะมิโนซาลิไซเลต

อาจผลเสียต่อไตและตับอ่อน ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาเมซาลามีน (Mesalamine) ยาโอลซาลาซีน (Olsalazine)

อาการระดับรุนแรง จะใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ในการรักษาเพื่อลดอาการอักเสบ ยาชนิดนี้มีทั้งแบบรับประทาน

แบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ และแบบสวนทวารหนัก ขึ้นอยู่กับว่าลำไส้เกิดการอักเสบในส่วนใด แพทย์จะจ่ายยาชนิดนี้

ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคค่อนข้างรุนแรง ยาชนิดนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียง

เช่น หน้าบวมฉุ ขนดก เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง

เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกเปราะ กระดูกหัก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการระดับรุนแรง

สามารถรักษาโดยการใช้ยากดระบบภูมิต้านทาน เพื่อช่วยระงับการทำงานของระบบ โดยทำหน้าที่ลดเซลล์

ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยยับยั้งการทำงานของสารโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ

การใช้ยาชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เกิดอาการของโรครุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษายาต้านอักเสบ

ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดลำไส้บริเวณที่มีการอักเสบออกไป แพทย์จะทำการรักษาในกรณี

ที่ผู้ป่วยลำไส้อักเสบมีเลือดออกมาก ลำไส้เกิดการทะลุ รวมถึงมีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา

วิธีป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี พยายามลดความเครียด

จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้อักเสบ แต่ก็มีอาหารหลายชนิดที่สามารถกระตุ้นทำให้อาการของโรคกำเริบได้

โดยผู้ป่วยควรรับประทานอาหารเพื่อลดอาการรุนแรงของโรคได้ดังต่อไปนี้

รับประทานอาหารมื้อย่อย ให้แบ่งรับประทานอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5 – 6 มื้อ ต่อวัน แทนการรับประทานมื้อใหญ่วันละ 3 มื้อ

ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเป็นเรื่องสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์

รวมถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะจะกระตุ้นทำให้ลำไส้ต้องทำงานหนัก จนส่งผลทำให้เกิดอาการท้องร่วง

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ

ลดการทานผลิตภัณฑ์จากเนยนม การลดปริมาณการทานผลิตภัณฑ์จากเนยนม จะช่วยลดอาการท้องร่วง

ปวดท้อง เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยบางรายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโทสที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ได้

ลดปริมาณอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ป่วยลำไส้อักเสบจะต้องลดปริมาณการทานผักผลไม้ให้น้อยลง เนื่องจากเส้นใยในอาหารเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลง

Credit : heaclub.ru

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดภายในช่องท้องเป็นอย่างมาก เพราะจะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

และแม้จะเป็นโรคที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้อย่างแน่ชัด แต่ก็สามารถป้องกันได้

ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารให้เหมาะสม การรักษาก็สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาและการผ่าตัด

แต่สำหรับใครที่ไม่อยากให้เกิดโรคนี้ขึ้น ก็ต้องเริ่มหันมาดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยคำแนะนำจากเราจะดีที่สุด