โรคหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม !

โรคหูดหงอนไก่ การติดต่อ

โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นติ่ง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

เพราะหลังจากการรักษาแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจ

หากพบว่าตำเองมีติ่งเนื้อในอวัยวะเพศผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วนทันที

และวันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่มาฝากกัน ใครไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคนี้ รีบไปติดตามกันเลยค่ะ

โรคหูดหงอนไก่ คืออะไร?

โรคหูดหงอนไก่ คือ หูดที่ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย

โดยเฉพาะในช่วงเจริญพันธุ์ คือ อายุ 17 – 33 ปี พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่มักจะพบในเพศหญิงได้บ่อยกว่า

โรคนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ได้อีก เช่น โรคหงอนไก่, หูดอวัยวะเพศ, หูดกามโรค ในประเทศอเมริกาพบว่าในแต่ละปี

จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ที่เข้ามารับการรักษาประมาณ 1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

สาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

สาเหตุของหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี ในปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้กว่า 200 สายพันธุ์ย่อย

ในบางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดที่ผิวหนัง บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ บางสายพันธุ์ก็ทำให้เพิ่มความเสี่ยง

ต่อการเกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ สำหรับการติดต่อของหูดหงอนไก่นั้น

เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลักประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่น

แต่การติดต่อจากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างการคลอดพบได้น้อยมาก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

โรคนี้โดยทั่วไปแล้วเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด มีสุขอนามัยที่ไม่ดี การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย

ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน คนที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหูดหงอนไก่เพิ่มมากขึ้น

ตลอดจนผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และมีคู่นอนที่มีการติดเชื้อหูดหงอนไก่

ระยะฟักตัวของหูดหงอนไก่

หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้วจะเริ่มแสดงอาการโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน – 2 ปี แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 เดือน

แต่ผู้ที่สัมผัสเชื้อนี้จะไม่ติดเชื้อทุกราย ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกายและจำนวนเชื้อที่ได้รับ

การติดเชื้อหูดหงอนไก่ผิวหนังจะได้รับเชื้อผ่านรอยถลอกที่ผิวหนัง หลังจากผ่านระยะเวลาในการฟักตัวไปแล้ว

เชื้อไวรัสจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ผิวหนังเกิดความผิดปกติ

แต่โดยทั่วไปแล้ว ผิวหนังสามารถกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้ออกไปได้เอง หากไวรัสเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง

จะทำให้เกิดโอกาสเป็นมะเร็งในตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อได้

[wpsm_video]https://www.youtube.com/watch?v=OimGj88S3Mo[/wpsm_video]

อาการของโรคหูดหงอนไก่

การแสดงอาการสำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายดี เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาให้เห็น

โดยส่วนใหญ่แล้วเชื้อเหล่านี้จะถูกกำจัดไปได้เองภายในระยะเวลา 2 ปี ยกเว้นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ แต่ในบางรายหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว

จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังจากได้รับเชื้อไปแล้วหลายเดือนหลายปี จนเกิดเป็นติ่งเนื้อออกมาเรียกว่าหูดหงอนไก่

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคหูดหงอนไก่จะเกิดอาการคันบริเวณเนื้อหูดที่เกิดขึ้น แต่ในบางกรณีอาจจะไม่มีอาการคันเลยก็ได้

แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ชายมีปัญหาในเรื่องการปัสสาวะไม่ออก

ส่วนสำหรับผู้หญิงอาจทำให้มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ตกขาว ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ

จะทำให้หูดหงอนไก่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการของโรคมากกว่าคนทั่วไป

ลักษณะของหูดหงอนไก่

หูดจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้องอกอ่อน ๆ มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ โดยจะเริ่มจากรอยเล็ก ๆ แล้วขยายตัวลุกลามใหญ่โตอย่างรวดเร็ว

จนมีลักษณะคล้ายกับหงอนไก่ ในบางชนิดจะเป็นหูดชนิดแบนราบ มักจะพบได้บริเวณปากมดลูก

การรักษาหูดหงอนไก่

1.ทาด้วยยาโพโลโดฟิลลิน โดยการใช้ยาโพโดฟิลลิน ชนิด 25 เปอร์เซ็นต์ ต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกเนื้อดี

ให้ทาวาสลีนปิดทับเนื้อดีโดยรอบเอาไว้ หลังจากทายาประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงต้องล้างออก ต้องทาซ้ำสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง

จนกว่ารอยของโรคจะหาย โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ หากรักษาด้วยวิธีนี้เกิน 2 เดือน

แล้วอาการของโรคยังไม่ดีขึ้น ให้เปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีอื่น

2.ทาด้วยกรดไตรคลอโรอะซิติก ชนิด 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องล้างออก หลังจากทายาแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง

หลีกเลี่ยงอย่าให้บริเวณที่ทายาโดนน้ำ ต้องทำการรักษาซ้ำทุก 2 สัปดาห์ จนกว่ารอยจะหายไป

ตัวยาชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ช่วยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพทำให้เซลล์ตาย จึงทำให้หูดที่มีก้านหลุดออกไปเองได้ ภายใน 2 – 3 วัน

แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทำให้เกิดอาการแสบและระคายเคือง ตรงรอยโรค

หากรักษาด้วยวิธีนี้เกิน 6 ครั้งแล้วยังไม่ได้ผล ให้เปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีอื่น

3.ทาด้วยครีมอิมิควิโมด ชนิด 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดเชื้อเอชพีวีออกไป

ให้ทายาชนิดนี้ก่อนเข้านอนวันเว้นวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ยาทาชนิดนี้มีราคาแพง ผู้ป่วยสามารถกลับมาทายาเองที่บ้านได้

ยาชนิดนี้ห้ามใช้กับหูดหงอนไก่บริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอด และห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์

4.การจี้ไฟฟ้า เป็นการจี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ เพื่อตัดรอยโรคออก จะลดความเจ็บปวดในระหว่างการรักษา

ด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะทำการรักษาวิธีนี้สำหรับหูดที่มีขนาดใหญ่ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นมาแล้วแต่ไม่ได้ผล

5.การจี้ด้วยความเย็น จะใช้ไม้พันสำลีชุบไนโตรเจนเหลว แล้วนำมาป้ายลงที่รอยโรค

เพื่อให้ความเย็นสัมผัสรอยโรคเป็นเวลาประมาณ 10 – 15 วินาที แต่ต้องระวังอย่าให้สัมผัสกับผิวหนังส่วนที่ดี

ในระหว่างการรักษาจะทำให้เกิดความเจ็บปวดบ้าง แต่เป็นระดับที่สามารถทนได้ โดยไม่ต้องใช้ยาชา หลังการรักษาจะทำให้เกิดรอยดำ

การรักษาจะต้องทำซ้ำทุก 2 สัปดาห์ จนกว่ารอยของโรคจะหายไป การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์

แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20 – 40 เปอร์เซ็นต์

6.ตัดหูดหงอนไก่ด้วยมีดผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ การรักษาหูดหงอนไก่ด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพสูง

ช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษา

วิธีป้องกันหูดหงอนไก่

ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพราะการมีเพศสัมพันธ์สำหรับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ จะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อได้สูง

สวมถุงยางอนามัย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ควรป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังสามารถช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ

ทางเพศสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ทำถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่ได้อย่างเต็มที่

เนื่องจากเชื้อเอสพีวีมักจะอยู่บริเวณขาหนีบ บริเวณปากช่องคลอด ในจุดที่ถุงยางอนามัยครอบไม่ถึง

รีบพบแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ เมื่อพบว่ามีหูดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศที่สงสัยว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่

ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์เพื่อทำการตรวจรักษาให้หายก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไป

Credit : ctoetotakoe.ru

โรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายขาดได้ยาก แต่เราสามารถป้องกันได้

โดยการใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

เพราะโรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ร่างกายสามารถกำจัดได้ หากระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงเชื้อไวรัสก็จะถูกกำจัดทิ้งไปได้ง่ายนั่นเอง