การตรวจสุขภาพผู้หญิงวัย 40 กับ 10 โรคที่ควรตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ตรวจสุขภาพผู้หญิงวัย-40

ผู้หญิงวัย 40 ปี เป็นช่วงอายุที่เรียกได้ว่ามีเรื่องให้ต้องคิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน การเงิน ชีวิตครอบครัว

หรือการเตรียมความพร้อมให้กับชีวิต รวมถึงในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก

และสำหรับใครที่อยากใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการรับรู้ให้รู้ทันโรค คุณสามารถเริ่มทำได้จากการ ตรวจสุขภาพ ดังนี้

การตรวจสุขภาพ คืออะไร?

การตรวจสุขภาพคือ การตรวจสภาพร่างกาย เพื่อหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และเป็นการตรวจเช็คความพร้อมของร่างกาย

และยังเป็นการตรวจสภาพเพื่อรับมือกับการดูแลตนเองเมื่อมีอายุมากขึ้นไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคได้มากกว่าผู้ชายค่อนข้างสูง

การตรวจสุขภาพผู้หญิงวัย 40 ปี มีอะไรบ้าง?

สำหรับการตรวจสุขภาพของผู้หญิงวัย 40 ปี จะเป็นการตรวจผ่านทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีการตรวจอย่างละเอียด ดังนี้

1.การตรวจคอเลสเตอรอลและไขมัน

สาเหตุ : คอเลสเตอรอลที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ HDL (ไขมันดี) และ LDL (ไขมันเลว)

แต่ส่วนใหญ่แล้ว ร่างกายมักจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอลชนิด HDL หากภายในร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลมาก

ก็จะเป็นความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และระดับคอเลสเตอรอลสามารถที่จะเพิ่มขึ้นได้มากหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอีกด้วย

วิธีตรวจ : การตรวจเลือด เพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล

ระยะเวลา : หากมีระดับคอเลสเตอรอลที่มากกว่าปกติ แพทย์จะนัดตรวจทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลตามปกติ ถ้าจะนัดตรวจทุกๆ 5 ปี

การรักษา : ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงควรที่จะเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ลดอาหารไขมันสูง และแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาเพื่อการลดระดับคอเลสเตอรอล

2.การตรวจมะเร็งเต้านม

สาเหตุ : สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนจะเสื่อมสภาพลง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันที่จะใช้ในการต่อสู้เซลล์มะเร็งนั้นก็เสื่อมสภาพลงไปด้วย

จึงทำให้เกิดความเสี่ยงได้ง่าย โดยเริ่มแรกอาจจะพบว่าเป็นเหมือนซีสต์ขนาดเล็ก ซึ่งในเวลาต่อมา สามารถพัฒนาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งดังกล่าว

วิธีตรวจ : การเอกซเรย์เต้านม โดยสามารถใช้แบบดิจิตอลและฟิล์ม

ระยะเวลา : ผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ควรที่จะต้องได้รับการตรวจทุกๆ 1 ปี

การรักษา : ผู้ป่วยควรที่จะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยเคมีบำบัด การรักษาด้วยฮอร์โมน ตามคำแนะนำของแพทย์

3.การตรวจต่อมไทรอยด์

สาเหตุ : สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมในระบบต่างๆ โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์

เมื่อระบบควบคุมในร่างกายเสื่อมทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติมีการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป

ทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะทำให้มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล และอารมณ์ไม่คงที่

วิธีตรวจ : การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์

ระยะเวลา : ต้องทำการตรวจทุก 3-5 ปี

การรักษา : แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านไทรอยด์ และต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีไอโอดีน แต่ทั้งนี้จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

4.การตรวจความดันโลหิต

สาเหตุ : การตรวจความดันโลหิตมีความสำคัญต่อผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป สาเหตุจากความเครียดในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน

ซึ่งความเครียดสามารถส่งผลทำให้หัวใจต้องทำงานหนักในการสูบฉีดเลือด ทำให้ความดันโลหิตภายในร่างกายสูงขึ้น

ซึ่งเป็นภาวะที่มีความอันตราย เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้มาก โดยจะทำให้เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ และส่งผลกระทบต่อด้านความจำ

วิธีตรวจ : เป็นการวัดระดับความดันผ่านเครื่องวัดระดับความดัน

ระยะเวลา : สำหรับบุคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิต แนะนำให้เข้ารับการตรวจปีละครั้ง แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตอยู่แล้ว ควรจะต้องได้รับการตรวจทุกเดือน

การรักษา : ภาวะความดันสามารถควบคุมได้จากการเลือกรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นระบบภายในร่างกายให้เกิดความสมดุลในการทำงาน และควรทำใจให้ไม่สบาย ปล่อยวาง ไม่เครียดร่วมด้วย อาการความดันก็จะทุเลาลงได้

5.การตรวจระดับวิตามินดี

สาเหตุ : วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก

และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรวมถึงการติดเชื้อลงได้ โดยหากมีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมาภายหลังได้

วิธีตรวจ : เป็นการวัดระดับวิตามินดีผ่านทางการตรวจเลือด

ระยะเวลา : การตรวจระดับวิตามินดีมักจะทำพร้อมกับการตรวจสุขภาพประจำปี

การรักษา : หากร่างกายมีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอ แสงแดดสามารถเติมวิตามินดีให้กับร่างกายผ่านทางผิวได้

โดยควรหมั่นออกมารับแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าหรือตอนเย็น ประมาณ 17.00 น.ก็ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่าง 10.00-16.00 น.

เพราะเป็นช่วงที่แสงแดดร้อนแรงมาก อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเป็นมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีได้จากการเลือกรับประทานอาหารด้วยเช่นเดียวกัน

6.การตรวจสายตา

สาเหตุ : การตรวจสายตาเป็นความสำคัญสำหรับผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการใช้งานดวงตามากพอสมควร

ทั้งการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือหรือเอกสาร ล้วนเสี่ยงที่จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุจากการใช้งานหนัก ยังเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องของเลนส์สายตาที่จะมีระดับผิดปกติ และการเกิดโรคต้อต่างๆ

วิธีตรวจ : การตรวจสุขภาพสายตา จะเริ่มจากการวัดระดับสายตาด้วยตาเปล่า หลังจากนั้นจะทำการวัดด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ และการวัดความดันตา

ระยะเวลา : การตรวจสายตาควรที่จะต้องตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงปัญหาสายตา

การรักษา : การรักษาปัญหาสายตาขึ้นอยู่กับชนิดของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยหากเลนส์มีระดับความยาวหรือสั้นที่แตกต่างไปจากเดิม

แพทย์จะรักษาด้วยการให้ใส่แว่นตา แต่หากเป็นเกี่ยวกับโรคต้อต่างๆ ก็อาจจะต้องมีการผ่าตัดและการใช้ยา

7.การตรวจมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุ : มะเร็งปากมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปค่อนข้างสูงทีเดียว โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์อยู่บ่อยครั้ง

หรือบางรายอาจจะมีการเปลี่ยนคู่นอนอยู่บ่อยๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการเกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงได้

วิธีตรวจ : แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเซลล์ภายในช่องคลอด และการตรวจ HPV-DNA TEST

ระยะเวลา : ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี

การรักษา : ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อตัดมดลูก รวมถึงการบำบัดด้วยรังสีและการใช้เคมีบำบัด

8.การตรวจผิวหนัง

สาเหตุ : ผู้หญิงวัย 40 ปี เรื่องผิวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะเมื่ออายุ 40 ขึ้นไป มักจะมีสีผิวคล้ำ

ซึ่งลักษณะผิวดังกล่าวถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้มากที่สุด จากการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง และยังเสี่ยงจากการเพิ่มเมลานินอีกด้วย

วิธีตรวจ : การตรวจผิวเพื่อหาความผิดปกติ เช่น ไฝ แผล ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง

ระยะเวลา : สำหรับผู้หญิงวัย 40 ปีควรที่จะต้องตรวจเป็นประจำทุกปี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ควรที่จะต้องพบแพทย์ทันที หากผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ

การรักษา : การรักษามะเร็งผิวหนังสามารถทำได้จากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง การให้เคมีบำบัด การฉายรังสี รวมถึงการใช้ยาแบบเฉพาะเจาะจง

9.การตรวจการได้ยิน

สาเหตุ : เมื่ออายุ 40 ปี เส้นประสาทภายในหูจะลดประสิทธิภาพในการทำงานลงไป และไม่เพียงเท่านั้นพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

ก็สามารถส่งผลทำให้ระบบประสาทหูเสื่อมสภาพลงได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย อย่างการรับทานยาแก้อักเสบ

การสูบบุหรี่และการอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมากๆ เป็นเวลานานหรือบ่อยๆ เป็นต้น

วิธีตรวจ : แพทย์จะทำการตรวจการได้ยินโดยการสนทนา การแยกแยะข้อความโดยมีเสียงรบกวน และการตรวจสภาพภายในหู ว่ามีส่วนใดที่ผิดปกติแล้วต้องรีบทำการรักษา

ระยะเวลา : สามารถที่จะตรวจสอบการได้ยินได้ในทุกๆ 3 ปี สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

การรักษา : การรักษาปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินสำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ต้องขึ้นอยู่กับโรค

หรือภาวะที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยบางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อการใช้ประสาทหูเทียม เพื่อช่วยในการได้ยิน

10.การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

สาเหตุ : สำหรับผู้หญิงวัย 40 ปี มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ค่อนข้างสูง สาเหตุเกิดจากความเครียดจากการทำงาน

การรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากใย ซึ่งจะกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเวลาต่อมา

วิธีตรวจ : แพทย์จะใช้การส่องกล่องไปที่ลำไส้ใหญ่ เพื่อหาความผิดปกติ

ระยะเวลา : ควรที่จะต้องได้รับการตรวจทุก 5 ปี แต่สำหรับบางรายที่มีความเสี่ยงสามารถที่จะตรวจได้ทุกปี หรือเมื่อเกิดความผิดปกติ

การรักษา : โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษามีความเชื่อมโยงกัน ทั้งการฉายรังสี เคมีบำบัด

นอกจากนี้แล้ว ควรที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม โดยเฉพาะการทานอาหารที่มีกากใยอย่างเพียงพอนั่นเอง

Credit : thaihealth.or.th

การตรวจสุขภาพของผู้หญิงวัย 40 นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากทีเดียว โดยต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ซึ่งการ ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจเมื่อพบความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอนั้น นอกจากจะช่วยรับมือรู้เท่าทันโรคได้ดีแล้ว

ยังเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยทอง และการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาในอนาคตได้อีกด้วย