ภาวะตับวาย ตับล้มเหลวคืออะไร รับมืออย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ภาวะตับวาย ตับล้มเหลว เป็นภาวะที่มีความอันตรายมากอย่างมาก เพราะตับ เป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา

และมีความสำคัญมาก เนื่องจากตับทำหน้าที่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโปรตีนและสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย

เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสารอาหาร โดยเฉพาะกลายเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนที่ผู้ออกกำลังกายมักจะรู้จักการแลกเปลี่ยนนี้ดี

รวมทั้ง ยังขับถ่ายของเสียและสารพิษต่าง ๆ ผ่านทางน้ำดีอีกด้วย เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเริ่มตระหนักแล้วว่า

ตับมีความสำคัญอย่างไร และถ้าเกิดภาวะตับวาย ตับล้มเหลว จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับร่างกายของเรา

ภาวะตับวาย ตับล้มเหลว คืออะไร ?

ภาวะตับวาย หรือ ตับล้มเหลว (Liver Failure) เป็นภาวะที่ตับไม่ทำงานอย่างที่ควรจะเป็น

ซึ่งส่งผลกระทบไปยังอวัยวะหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง

และระบบหลอดเลือดที่ทำงานสัมพันธ์กับตับโดยตรง ความอันตรายของโรคตับวายนี้ อยู่ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

โดยไม่เจาะจงว่า ต้องเป็นเพศชายหรือเพศหญิง และอัตราการเกิดโรคก็ยังคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากันอีกด้วย

อาการของภาวะตับวาย ตับล้มเหลว

อาการของภาวะตับวาย ตับล้มเหลวในช่วงระยะแรก ๆ ที่มีอาการนำของโรคนั้น ผู้ป่วยจะเริ่มจากการมีอาการคลื่นไส้

และอาเจียนก่อนเสมอ จากนั้นจึงเริ่มเบื่ออาหาร มีอาการปวดท้องบริเวณตับ รวมไปถึงมีอาการตัวเหลือง – ตาเหลือง

คล้ายกับโรคดีซ่าน และเมื่อเริ่มมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะเกิดการบวมบริเวณท้องเพราะมีน้ำไปคั่งอยู่

เนื่องจากตับไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็นนั่นเอง และอาจเกิดการติดเชื้อจนเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

โดยสามารถแบ่งภาวะของโรคออกเป็น 2 ประเภท ตามความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

ภาวะตับวายแบบเฉียบพลัน (Acute Liver Failure)

หรืออาจจะได้ยินในอีกชื่อว่าเป็นตับวายแบบ FHF เหตุที่เรียกว่า เฉียบพลัน เพราะมีอาการผิดปกติของร่างกาย

แจ้งเตือนเพียงไม่เกิน 26 สัปดาห์เท่านั้น และบางคนอาจจะมีสัญญาณเตือนเพียงแค่ 8 สัปดาห์

หากพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับสมองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยภาวะตับวายแบบเรื้อรังนี้

มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับตับมาก่อนเลย รวมทั้งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับด้วย

โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งใจกินยาพาราเซตามอลฆ่าตัวตายจำนวนมาก ๆ แล้วแพทย์ช่วยทันด้วยการล้างท้อง

มักจะเกิดผลข้างเคียงด้วยภาวะนี้มากที่สุด หากมีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

ภาวะตับวายแบบเรื้อรัง (Chronic Liver Failure)

ตับวายประเภทนี้จะมีอาการนำเป็นอาการคลื่นไส้อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และมักจะแสดงอาการทางสมองเป็นส่วนใหญ่

สาเหตุของการเป็นโรคตับวายประเภทนี้ เกิดจากการดื่มสุราเป็นประจำ หรือมีอาการมาจากการเป็นตับวายเฉียบพลันมาก่อน

ซึ่งวิธีการรักษาก็จะเหมือนกับการเป็นโรคตับวายเฉียบพลัน แต่แตกต่างกันแค่ระยะเวลาในการเกิดโรคเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะตับวาย ตับล้มเหลว

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะตับวาย ตับล้มเหลว ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • การดื่มสุราจำนวนมากต่อเนื่องเป็นประจำ หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคตับแข็งตามมา
  • การใช้ยาเสพติดประเภทโคเคนเกินขนาด
  • การเป็นโรคไวรัสที่เกี่ยวกับตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ-บี-ซี
  • การได้รับพิษจากพืชหรือสมุนไพรบางชนิด โดยเฉพาะเห็ดป่าที่ชาวบ้านมักจะเก็บมาปรุงอาหารโดยไม่รู้ว่ามีพิษ ซึ่งเกิดจากความสับสนและความเข้าใจผิด
  • การได้รับโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร เช่น ตะกั่ว หรือทองแดง
  • การได้ประสบอุบัติเหตุที่เป็นเหตุให้ตับถูกกระแทกอย่างรุนแรงจนเกิดความเสียหายอย่างหนัก
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่เป็นเหตุให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรคมะเร็งตับ และโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มีการแพร่เซลล์มะเร็งมายังตับ

วิธีรักษาภาวะตับวาย ตับล้มเหลว

เนื่องจากการเกิดภาวะตับวาย หรือตับล้มเหลวนั้น ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ปกติ

โดยเฉพาะในเรื่องของการกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย แพทย์จึงต้องทำการรักษา

ด้วยการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้แทน เพื่อรอให้ตับฟื้นตัวกลับมาทำหน้าที่ได้อีกครั้ง โดยส่วนมากแล้ว

การเป็นโรคนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องมีการรักษาด้วยการควบคุมอาหารเสียเป็นส่วนใหญ่

โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระการทำงานให้ตับมากขึ้น และจะต้องป้องกันเหตุใด ๆ ก็ตาม

ที่จะทำให้เลือดออกและยังต้องควบคุมสมดุลของเกลือแร่และน้ำด้วย เพราะฉะนั้นผู้ป่วยโรคนี้

จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดแทบจะตลอดเวลา นั่นหมายถึงการต้องรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น

ซึ่งถ้าหากแพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากตับเสียหายมากเกิน 80%

ก็อาจจะต้องมีการปลูกถ่ายตับ หรือขอรับบริจาคตับเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งอัตราการรอดชีวิตมักจะอยู่ที่ 60%

วิธีป้องกันภาวะตับวาย ตับล้มเหลว

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุของโรค นั่นก็คือ

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หรือกินแค่พอเหมาะเป็นครั้งคราวเท่านั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  • ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และถูกสุขอนามัย ไม่ควรทานของแปลก หรือเมนูเปิบพิสดาร
  • ไม่เสพยาเสพติดทุกชนิด
  • ควรป้องกันตัวเอง ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้าหากมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน (ผู้ชาย) ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • ไม่ควรกินยาเกินขนาด ไม่ว่าจะเป็นพาราเซตามอล ยานอนหลับ หรือแม้กระทั่งสารเคมีต่าง ๆ อย่างยาฆ่าแมลง หากมีปัญหาเครียดหรือไม่สบายใจควรปรึกษาเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือจิตแพทย์ เพราะผลข้างเคียงอันตรายกว่ามาก

Credit : www.rukyou.com

ภาวะตับวาย ตับล้มเหลว เป็นภาวะที่มีความรุนแรงไม่น้อยกว่าอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งคนส่วนมากมักจะมองข้ามตับไป

เพราะคิดว่าไม่สำคัญ และจะมีผลเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย และถ้าหากมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว

ผลข้างเคียงก็ค่อนข้างจะรุนแรง โดยเฉพาะภูมิต้านทานที่จะต่ำลง จึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและอาจเจอโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ อีกได้