เป็นที่รู้กันดีว่า ประจำเดือน เป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กับผู้หญิงทุกคน ซึ่งจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ช่วงอายุ 12-15 ปี
เหตุที่เรียกกันว่าประจำเดือนนั้น เกิดจากการที่เลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ สลายตัวหลุดลอกออกจากเยื่อบุมดลูก
ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 28-30 วัน หรือทุก ๆ เดือนนั่นเอง
การมาของประจำเดือนในแต่ละครั้งนั้น จะกินเวลาประมาณ 3-7 วัน ในช่วง 1-3 วันแรกก็มักจะมามากกว่าทุก ๆ วัน
ซึ่งบางคนอาจจะต้องใช้ผ้าอนามัย 1-3 แผ่น แต่เมื่อพ้นวันที่ 4 ไปแล้วก็จะค่อย ๆ น้อยลงและหมดลงไปเอง
เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ร่างกายของเราก็จะเริ่มจดจำได้ว่าประจำเดือนของเรามักจะมาช่วงวันที่เท่าไร และระยะเวลากี่วัน
สาเหตุของการมีประจำเดือนมากผิดปกติ
เมื่อใดก็ตามที่ ประจำเดือนมามากผิดปกติ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะการมีประจำเดือนมากผิดปกตินั้น
บ่งบอกถึงความไม่ปกติของร่างกายที่อาจจะส่งผลร้ายแรงได้ โดยสามารถจำแนกสาเหตุออกมาได้ คือ
1.ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่า ฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการสร้างประจำเดือนในเพศหญิง ก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน นั่นเอง
ซึ่งจะทำงานร่วมกับโปรเจสเตอโรน ในการสร้างสมดุลเพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกไปสร้างตัวขึ้นมาไม่
แต่เมื่อฮอร์โมนทั้งคู่ทำงานไม่สมดุลกัน ก็อาจจะทำให้เกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกที่มากเกินไปหรือหนาผิดปกติ จึงเป็นเหตุให้ประจำเดือนมามากผิดปกติได้
2.ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก
หากมีความผิดปกติในส่วนนี้จะค่อนข้างน่ากังวลสักนิดหนึ่ง เพราะอาจกระทบต่อการทำงานของมดลูก
ที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ ซึ่งปัญหาของมดลูกที่ทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติมีดังต่อไปนี้
เนื้องอกในมดลูก
หรือที่เรียกกันว่าซีสต์นั่นเอง การเป็นเนื้องอกชนิดนี้ไม่น่ากลัว เพราะไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งได้
แต่อาจส่งผลให้เกิดการปวดท้องประจำเดือนมาก และมีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แพทย์ก็มักจะใช้วิธีผ่าตัดออก
มะเร็ง
มะเร็งที่เกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงมี 3 ชนิด คือมะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก
ซึ่งทุกมะเร็งก็มีความอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากหากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์
แต่ถึงกระนั้นก็เกิดขึ้นได้น้อยกว่าโรคมะเร็งทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสาเหตุให้ประจำเดือนมานานผิดปกติ
เยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปเจริญเติบโตในเนื้อมดลูก
ส่วนมากมักจะเกิดกับหญิงที่ผ่านการมีบุตรมาแล้ว เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกเข้าไปเจริญเติบโตที่มดลูกนั่นเอง
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตนอกมดลูก
อันนี้ก็ค่อนข้างอันตรายเหมือนกัน เพราะเยื่อบุโพรงมดลูก อาจไปเจริญเติบโตตามท่อนำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และกระเพาะอาหารที่อยู่ใกล้กันได้
อุ้งเชิงกรานอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก รังไข่ จะสังเกตได้ชัด เพราะอาจจะมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ และระยะเวลาที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
3.ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่างๆ และการเป็นโรคบางชนิด
เพราะยารักษาโรคบางอย่างก็มีส่วนที่เข้าไปทำให้เลือดไหลผิดปกติได้ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (ยาสลายลิ่มเลือด)
ยารักษาในการทำคีโมบางชนิด เป็นต้น และผู้ป่วยบางคนก็มีโรคประจำตัว เช่น ฮีโมฟีเลีย ไฮโปไทรอยด์ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง
สังเกตอย่างไรว่าประจำเดือนมามากผิดปกติ
หากพบว่าร่างกายคุณมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้เตรียมตัวไปพบแพทย์ทันที
- มีประจำเดือนนานกว่า 7 วันขึ้นไป
- ประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยหลายครั้งติดต่อกันภายใน 1 วัน
- ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยระหว่างนอนหลับในตอนกลางคืน (ซึ่งปกติรอบเดือนจะไม่ค่อยไหลในช่วงเวลานี้)
- มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ไหลมาพร้อมกับประจำเดือน และรู้สึกอ่อนเพลีย
อันตรายที่อาจเกิดขึ้น
แม้การมีประจำเดือนมากผิดปกติจะไม่มีอันตรายกับร่างกายถึงชีวิต แต่ก็สามารถผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาวด้วยอาการต่อไปนี้
ภาวะโลหิตจาง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าเลือดออกไปจากตัวมาก ๆ เช่น การบริจาคเลือด หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ
จะทำให้ร่างกายมีเฮโมโกลบินและธาตุเหล็กที่น้อยลง แพทย์จึงมักจะให้ทานยาเพิ่มธาตุเหล็ก (เฟอรัส) ให้กับร่างกาย
มิเช่นนั้นจะเกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว จนถึงขั้นช็อคได้
อาการปวดท้องประจำเดือน
ปกติผู้หญิงมักจะมีอาการปวดท้องประจำเดือนอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น การปวดท้องก็จะรุนแรงมากขึ้นด้วย จึงมักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือการรักษาด้วยตัวเองในระยะเบื้องต้น และการพบแพทย์
การรักษาด้วยตัวเอง
สามารถทำได้ด้วยวิธีปกติทั่วไป เช่นการประคบเย็นเมื่อประจำเดือนมามากผิดปกติครั้งละ 15-20 นาที
หรือรับประทานยาและวิตามินเพื่อเสริมธาตุเหล็ก เพื่อไม่ให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย
การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์
ส่วนมากแล้ว ถ้าแพทย์วินิจฉัยและพบว่าอาการไม่รุนแรงเท่าที่ควร ก็มักจะใช้ยาในการรักษา เช่น ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์
ยาคุมกำเนิด และยาปรับระดับฮอร์โมนในกรณีที่ฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล รวมทั้ง การใช้ยาต้านการสลายลิ่มเลือดด้วย
แต่ถ้ามีความรุนแรงมาก ๆ อาจจะต้องมีการผ่าตัดเอาเนื้องอกหรือมดลูกออก
Credit : rakluke.com
จะเห็นได้ว่า ประจำเดือนมามากผิดปกติ นั้นเป็นอาการที่สาวๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจอย่างยิ่ง สำหรบใครที่เจอปัญหานี้กับตัวเองบ่อยๆ
อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกของโรคบางอย่างอยู่ก็ได้นั่นเอง ทางที่ดีควรพบแพทย์
เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายอย่างละเอียดจะได้ค้นหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น จะได้เป็นการรู้เท่าทันโรค
และยังเป็นการรับมือรักษาโรคนั้นๆ ได้อย่างทันการณ์ได้อีกด้วยนั่นเอง เพียงเท่านี้ก็จะหมดกังวลกับ ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติได้แล้วค่ะ