ภาวะตัวเย็นเกิน ภัยเงียบที่มาพร้อมอุณหภูมิต่ำ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องเฝ้าระวัง !

ภาวะตัวเย็นเกิน

ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความหนาวเย็นหรือเย็นจัด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเป็นแน่ เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้

สำหรับ ภาวะตัวเย็นเกินนั้น คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง เราไปดูคำตอบพร้อมๆ กันเลยค่ะ

ภาวะตัวเย็นเกิน คืออะไร?

ภาวะตัวเย็นเกิน หรือ ไฮโปเธอร์เมีย (Hypothermia) คือ ภาวะที่ร่างกายปรับอุณหภูมิให้ลดต่ำลงไปอย่างรวดเร็ว

เพราะโดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่หากเกิดภาวะตัวเย็นเกินไป ร่างกายก็จะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส

เมื่อร่างกายเกิดภาวะตัวเย็นเกิน ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทรวมถึงระบบอวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกาย

ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบประสาทต่างๆ ล้มเหลว โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก

สาเหตุของไฮโปเธอร์เมีย

สำหรับสาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายปัจจัย ดังนี้

1.อายุมาก

ผู้ที่มีอายุมากถือร่างกายว่ามีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นระบบภายในร่างกายต่างๆ

อาจจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติได้

เพราะฉะนั้น ร่างกายจะทำการลดระดับอุณหภูมิในตัวเองลง โดยสังเกตได้จากการที่ผู้สูงอายุมักพยายามทำตัวเองให้อบอุ่นอยู่เสมอ

2.อายุน้อย

สำหรับเด็กๆ ก็สามารถที่จะสูญเสียอุณหภูมิความร้อนในร่างกายได้เร็วกว่าผู้ใหญ่

เนื่องจากระบบภายในร่างกายอาจจะยังไม่สามารถทำงานได้ดีพอ เพราะฉะนั้น แม้เพียงแค่แต่งตัวไม่เรียบร้อย

หรือแต่งตัวไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศ ก็สามารถทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

3.ปัญหาสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตอาจจะไม่ได้ส่งผลโดยตรง เพราะอาจจะส่งผลทางอ้อม โดยผู้ที่เป็นโรควิกลจริต

หรือมีปัญหาในการตัดสินใจ ก็อาจจะส่งผลต่อการแต่งกายได้ เช่น การตัดสินใจเลือกรูปแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสม

ซึ่งอาจจะทำให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพอากาศ หรืออาจจะปล่อยให้เสื้อผ้าเปียกโดยที่ไม่ยอมเปลี่ยน

ก็จะเป็นปัญหาจนส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว

4.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หลายคนอาจจะได้ยินว่าการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถที่จะช่วยทำให้อุณหภูมิในร่างกายอบอุ่นได้มากยิ่งขึ้น

แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดหลอดเลือดเกิดการขยายตัว ทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

เพราะฉะนั้น แนะนำว่าหากต้องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควรที่จะต้องสวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อยเพื่อคงความอบอุ่นให้กับร่างกาย

หรือเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนถูกระบายออกมาอย่างรวดเร็ว จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเย็นเกินได้นั่นเอง

5.ยา

ยาบางชนิดสามารถส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ อย่างเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด

ยาระงับประสาท ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระบบประสาทและการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย

อาการของภาวะตัวเย็น

สำหรับอาการของภาวะตัวเย็นเกินก็มีดัวยกัน ดังนี้

  • ตัวสั่น (เป็นอาการแรกที่สามารถสังเกตได้ สำหรับภาวะตัวเย็นเกิน)
  • หายใจช้า
  • ผิวเย็น
  • สีผิวซีด
  • ง่วงซึม

โดยอาการเหล่านี้จะไม่ปรากฏในทันที แต่จะค่อยๆ แสดงอาการออกมา เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นภาวะตัวเย็นเกินก็อาจจะไม่สามารถทราบได้โดยทันทีว่าตนเองเกิดภาวะนี้

ภาวะแทรกซ้อนของไฮโปเธอร์เมีย

สำหรับภาวะตัวเย็นเกินไปหรือไฮโปเธอร์เมีย ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

สาเหตุเป็นเพราะว่าการไหลเวียนของกรดแลคติกภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง

และยังส่งผลต่อภาวะแมกนีเซียมภายในร่างกายต่ำ เพราะฉะนั้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ

  • ปอดบวม
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • แสบผิว
  • เนื้อตาย

การวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกิน

การวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกิน จะใช้วิธีในการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยรูปแบบของการตรวจร่างกายนั้นจะเป็นการวัดอุณหภูมิ

ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีง่ายที่สุดในการวินิจฉัยภาวะที่เกิดขึ้น และอาจจะต้องมีการตรวจเลือดด้วยเพื่อเป็นการวินิจฉัย

และสำหรับการวัดอุณหภูมิเพื่อการวินิจฉัย ก็สามารถแบ่งออกไปตามอุณหภูมิได้ดังนี้

1.อุณหภูมิ 32-35 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิภายในร่างกายที่เริ่มลดต่ำลง โดยอาจจะมีอาการสั่นบ้างเล็กน้อย

รวมถึงบางคนอาจจะมีปัญหาในด้านการหายใจ ทั้งนี้อาจจะมีปัญหาในการพูดตะกุกตะกักบ้างเป็นบางครั้ง

2.อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส

เป็นระดับอุณหภูมิที่ต่ำลงจนร่างกายอาจจะมีปัญหามากกว่าเดิม นอกจากอาการสั่นที่จะเกิดขึ้น

อุณหภูมิจะเริ่มลดลงมาที่ 30 องศาเซลเซียส จะเริ่มทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และชีพจรเต้นอ่อนลง

3.อุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส

เมื่อระดับอุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินไปจะมีความเสี่ยงหมดสติ

นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีความดันเลือดต่ำ อาจจะมีอาการหยุดหายใจ จนสามารถทำให้เกิดภาวะสมองตายได้

วิธีรักษาภาวะไฮโปเธอร์เมีย

การรักษาภาวะตัวเย็นเกิน สามารถที่จะแบ่งการรักษาออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1.รักษาด้วยตนเอง

แนะนำว่าควรที่จะต้องมีปรอทวัดไข้เอาไว้คอยวัดอุณหภูมิ แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีวิธีดูแลรักษาจากการปฏิบัติตนในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกดังนี้

เครื่องแต่งกาย

สำหรับผู้ที่มีกำลังเป็นภาวะไฮโปเธอร์เมีย เครื่องแต่งกายก็ควรเลือกรูปแบบให้เหมาะสม

โดยควรที่จะต้องปิดมิดชิดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ซึ่งหากมีเครื่องแต่งกายหรือเสื้อผ้าที่เปียกชื้น ก็ไม่ควรที่จะนำมาสวมใส่เด็ดขาด

เครื่องดื่ม

เครื่องดื่มก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใส่ใจ อย่างแรกควรที่จะต้องงดเว้นในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

รวมถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

แนะนำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหรือน้ำผลไม้ก็ช่วยรักษาระดับความร้อนภายในร่างกายเอาไว้ได้

การทำ CPR

การทำ CPR เป็นเรื่องสำคัญซึ่งควรที่จะต้องให้คนรอบข้างรู้ว่าผู้ป่วยป่วยเป็นภาวะไฮโปเธอร์เมีย เพราะเมื่อไหร่ที่ชีพจรเต้นอ่อนลงควรที่จะต้องรีบทำ CPR โดยทันที

2.รักษาจากทางการแพทย์

การรักษาจากทางการแพทย์ในผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกิน ทางแพทย์จะทำการรักษาตามรูปแบบความรุนแรงของอาการด้วยวิธีดังนี้

สร้างความร้อนด้วยตนเอง

เป็นวิธีรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก โดยจะใช้เปลี่ยนวิธีในการสร้างความอบอุ่นภายนอก เช่น การห่มผ้าห่ม หรือการดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ

ใช้เครื่องไตเทียมฟอกเลือด

การใช้เครื่องไตเทียมในการฟอกเลือดเพื่อส่งกลับมาให้เลือดไหลเวียนเข้าไปในร่างกาย จะทำให้เลือดมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น และช่วยรักษาภาวะตัวเย็นเกินได้

ปรับอุณหภูมิทางเดินหายใจ

วิธีรักษาที่สามารถช่วยปรับอุณหภูมิให้กับผู้ป่วย คือการใส่ผ้าปิดจมูก ซึ่งออกซิเจนที่จะเข้าไปภายในร่างกายนั้น

ก็จะมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงสามารถช่วยเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกายให้สูงขึ้นได้เช่นเดียวกัน

วิธีป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน

1.สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ที่มีสภาพอากาศเย็น

อย่างแรกควรที่จะต้องแต่งกายให้เหมาะสม โดยใส่เสื้อผ้าหนาๆ แบบที่เป็นแขนยาวขายาว สวมถุงเท้า

นอกจากนี้ การเลือกชนิดผ้าก็เป็นเรื่องสำคัญ แนะนำผ้าไหมหรือผ้าที่ผลิตจากโพพีลีน ซึ่งจะช่วยเก็บอุณหภูมิในร่างกายได้ดี

2.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงหน้าหนาว ถือเป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

เพราะจะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในช่วงที่อยู่ในอากาศเย็น

ไม่ควรที่จะดื่มน้ำเย็นมากเกินไปเช่นกัน เพราะจะยิ่งทวีอุณหภูมิความหนาวเย็นให้แก่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น

3.กินอาหารที่ให้พลังงานและทำให้ร่างกายอบอุ่น การเลือกรับประทานอาหารเป็นเรื่องสำคัญ

โดยจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ที่สำคัญจะต้องเป็นอาหารที่สามารถให้พลังงาน

เพื่อที่ร่างกายจะนำพลังงานเหล่านี้มารักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกาย และควรกินอาหารที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เช่น อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนหรืออาหารอุ่นๆ ร้อนๆ

4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี

ไม่เพียงเท่านั้น การออกกำลังกายยังเป็นการกระตุ้นระบบควบคุมอุณหภูมิให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติมากขึ้นด้วย

Credit : winnews.tv

ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลัน เพราะฉะนั้นควรที่จะต้องสังเกตความผิดปกติให้ดี

เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตลง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นควรที่จะดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ เพื่อกักเก็บความอบอุ่นและการดื่มกินอาหารที่อุ่นๆ ร้อนๆ ที่มีประโยชน์

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะตัวเย็นเกินได้แล้ว