มะเร็งเล็บ เมื่อได้ยินชื่อโรคนี้หลายคนเองก็อาจจะยังไม่ได้รู้จัก เพราะยังเป็นโรคที่ไม่ได้แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก
เพราะฉะนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ โดยเรียนรู้ได้จากบทความนี้ค่ะ
มะเร็งเล็บ คืออะไร?
มะเร็งเล็บ (Subungual Melanoma) คือ มะเร็งอีกหนึ่งชนิด หรือที่เรียกว่า melanoma ซึ่งพัฒนามาจากเซลล์ melanocytes Melanocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความเกี่ยวข้องในการผลิตเม็ดสีเมลานิน
ประเภทของมะเร็งเล็บ
สำหรับมะเร็งเล็บสามารถที่จะแบ่งแยกได้ 3 ประเภท โดยแบ่งได้ดังนี้
1.Lentigo maligna melanoma
สำหรับรูปแบบนี้ไม่ใช่รูปแบบที่สามารถพบเจอได้ว่าอยู่บ่อยครั้งในผู้ที่อยู่วัยกลางคน แต่ทั้งนี้จะมีลักษณะคล้ายกับกระเนื้อ และพบได้บนใบหน้า
2.Acral lentiginous melanoma
ไม่ใช่เพียงแค่สามารถเกิดขึ้นที่บริเวณเล็บได้อย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังสามารถเกิดขึ้นในส่วนอื่นของร่างกายได้อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรรูปแบบนี้ก็สามารถที่จะพบได้น้อยในใต้เล็บ
3.Superficial spreading melanoma
สำหรับรูปแบบนี้เป็นชนิดทั่วไปที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับมะเร็งเล็บ โดยในอันดับแรกแรกนั้นจะค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ
หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงสีให้เห็นได้ชัด แต่หลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสีแล้วนั้นก็จะทำให้เกิดการลุกลามในเวลาต่อมาได้อย่างรวดเร็ว
4.Nodular melanoma
เป็นชนิดที่ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ชายวัยกลางคน
สาเหตุของโรคมะเร็งเล็บ
หากจะให้พูดถึงสาเหตุของโรคมะเร็งเล็บ บอกได้เลยว่า มีหลากหลายสาเหตุที่สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคมะเร็งเล็บได้ แต่ทั้งนี้ก็สามารถอธิบายสาเหตุหลักๆ ได้ ดังนี้
1.ยีนส์ก่อมะเร็งที่ไม่สามารถควบคุมได้
สำหรับสาเหตุนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก เพราะยีนส์ชนิดที่เป็นสาเหตุของการก่อมะเร็งภายในร่างกายนั้นไม่สามารถที่จะถูกยับยั้งได้ด้วยกลไกธรรมชาติของร่างกาย จึงทำให้เป็นโรคมะเร็งเล็บได้
2.การเปลี่ยนแปลงของเซลล์
โดยถ้าหากภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในการที่เซลล์ภายในร่างกาย ก็จะเกิดการผ่าเหล่าหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งได้เช่นเดียวกัน
3.รังสี
หากร่างกายพบเจอกับรังสี ไม่ว่าจะเป็นรังสี UV หรือรังสีอื่นๆ เพราะรังสีเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับ DNA รวมถึงการยับยั้ง
และควบคุมการทำให้เกิดเนื้องอก รวมถึงเซลล์มะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอยู่กลางแดดมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดการเป็นมะเร็งเล็บ
4.ประวัติครอบครัว
ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเล็บมาก่อน ดังนั้นก็สามารถที่จะทำให้เกิดการมีเซลล์สืบทอด รวมถึงเซลล์กลายพันธุ์ในการทำให้เกิดโรคมะเร็งเล็บได้ง่าย
อาการของโรคมะเร็งเล็บ
หลายคนอาจจะคิดว่า โรคมะเร็งเล็บ จะมีความคล้ายคลึงกับมะเร็งทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการแสดงออกให้เห็นถึงอาการดังนี้
- มีวงกลมสีน้ำตาลทั้งเข้มและอ่อนอยู่ที่เล็บ
- ขนาดของวงกลมจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
- เล็บเปราะและแตกง่าย
- เริ่มมีเลือดออกที่บริเวณเล็บ
- ผิวบริเวณเล็บมีสีคล้ำลง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งเล็บ
อย่างที่บอกว่าเมื่อเป็นมะเร็งก็สามารถที่จะทำให้เซลล์มะเร็งนี้แพร่กระจายไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย
เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นมะเร็งได้เช่น
- ปอด
- ตับ
- สมอง
- กระดูก
- ระบบทางเดินอาหาร
การวินิจฉัยโรคมะเร็งเล็บ
สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเล็บ แพทย์ส่วนใหญ่จะต้องมีการสอบถามประวัติของผู้ป่วยรวมทั้งการตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด
เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเล็บอย่างแม่นยำ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องมีการตรวจร่างกายในรูปแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
1.Dermoscopy การตรวจด้วยเครื่องมือวินิจฉัยที่มีไว้สำหรับการตรวจผิวหนังโดยเฉพาะ
2.ตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการนำชิ้นเนื้อที่แพทย์จะทำการเก็บมาตรวจสอบใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อเป็นการหาเซลล์มะเร็งที่อยู่บริเวณนั้น
3.การตรวจชิ้นเนื้อ Excisional เป็นการฉีดยาชาเพื่อนำเนื้อเยื่อบริเวณขอบเล็บ มาใช้ในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง
4.การตรวจชิ้นเนื้อแบบ Punch การตรวจรูปแบบนี้จะเริ่มจากการฉีดยาชาบริเวณรอบๆ เล็บ แล้วจึงจะนำชิ้นเนื้อบริเวณนั้นไปตรวจ แต่วิธีนี้จะทำให้มีแผลขนาดใหญ่
5.การตรวจชิ้นเนื้อแบบ Incisional เป็นการนำชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยมีดผ่าตัด
6.การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง การตรวจรูปแบบนี้จะเป็นการตรวจสอบเพื่อดูการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ โดยจะมีการฉีดสีเข้าไปในพื้นที่ที่มีเนื้องอก แล้วจึงนำไปตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์
วิธีรักษาโรคมะเร็งเล็บ
สำหรับวิธีในการรักษาโรคมะเร็งเล็บ สามารถที่จะรักษาได้หลากหลายวิธี ดังนี้
1.การผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดนั้นจะเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยการผ่าตัดจะมีการผ่าตัดตามความกว้างของระยะขอบตามความหนาของเนื้องอก
2.การผ่าตัดแบบ Mohs micrographic เป็นการผ่าตัดที่เพิ่งจะถูกนำมาใช้ได้ไม่นาน โดยจะเริ่มผ่าตัดในช่วงต้นของเซลล์มะเร็ง แต่ก็ไม่ใช่วิธีที่จะถูกนำมาใช้ได้บ่อยๆ
3.การให้เคมีบำบัด การให้เคมีบำบัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษาและฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่ทั้งนี้อาจจะให้เป็นยากิน
หรือการฉีดเข้าเส้นเลือด แต่ก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ยาเคมีบำบัด ไม่ว่าจะเป็นผมร่วง ไม่อยากอาหาร ท้องร่วง และเหนื่อยง่าย
4.การให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน วิธีนี้จะเป็นวิธีที่จะช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นการที่ทำให้ร่างกายได้ทำการรักษาโดยธรรมชาติ
เป็นยาที่มีการสังเคราะห์โปรตีนจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้นถูกเพิ่มขึ้น แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน เช่น ปวดหัว เมื่อยกล้ามเนื้อ และมีไข้
5.การฉายรังสี เป็นการใช้ลำแสงพลังงานเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แล้วจะใช้เพื่อเป็นการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งเล็บ
แต่ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีผลกับการช่วยลดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แต่ก็อาจจะมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เหนื่อยได้ง่าย
วิธีป้องกันโรคมะเร็งเล็บ
สำหรับวิธีป้องกันโรคมะเร็งเล็บ จะไม่มีวิธีป้องกันที่แท้จริงได้ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการช่วยป้องกันได้ คือ
- การตรวจสุขภาพ
- การบำรุงดูแลมือและเล็บ
- การเลือกรับประทานอาหารเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
- หลีกเลี่ยงไม่ให้มือสัมผัสกับแสงแดดนานๆ บ่อยๆ
Credit : hatyailike.com
โรคมะเร็งเล็บ ถึงแม้ว่าเป็นโรคที่ไม่ค่อยได้ยินในประเทศไทยและเป็นโรคที่หาข้อมูลได้น้อย แต่ก็ควรจะพยายามทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด
เพื่อป้องกันการเป็นโรคมะเร็งเล็บ และจะได้รู้เท่าทันโรค เพื่อรับการรักษาให้หายได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง