วิธีการสังเกตอาการไส้ติ่งอักเสบ อันตราย หากไส้ติ่งแตก!

อาการปวดไส้ติ่งอักเสบ

การเกิดโรคบางโรคนั้น มีอาการที่ซับซ้อนมาก จนกระทั่งที่อาจทำให้ผู้นั้นเกิดปัญหาในเรื่องของการวินิจฉัยโรคที่มีความแตกต่างกันออกไป

แต่โรคที่พบได้บ่อย รวมทั้ง เป็นโรคที่เรานั้น สามารถที่จะสังเกตอาการผิดปกติ ในการเกิดโรคได้ส่วนหนึ่ง โรคนั้นคือ โรคไส้ติ่งอักเสบ

ในส่วนของโรคไส้ติ่งอักเสบ (ภาษาอังกฤษ – Appendicitis) เนื่องจาก ไส้ติ่ง นั้นเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ ที่ไม่มีหน้าที่ที่สำคัญในร่างกาย

เมื่อเกิดการสะสมของเศษอาหาร ที่มีการหลุดเข้าไปในบริเวณช่องว่างของไส้ติ่งแล้ว อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอาหารปวด

อาการอักเสบของไส้ติ่ง เกิดอาการปวดบีบในช่องท้องได้ ซึ่งลักษณะอาการปวดท้อง ที่สงสัยเรื่องของภาวะอาการของไส้ติ่งอักเสบนั้น มีดังต่อไปนี้

เกิดอาการปวดท้องอยู่ตลอดเวลา ลักษณะปวดบีบ บางรายนั้นมีตำเเหน่งของอาการปวดที่มีความคล้ายคลึงกัน

ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดที่บริเวณช่องท้องด้านขวาล่าง (Right lower quadrant) หรือ อาการปวดที่เกิดในช่วงกลางท้องของร่างกาย แล้วย้ายมาที่ตำเเหน่งช่องท้องข้างขวาของร่างกาย

อาการปวดที่เกิดจากไส่ติ่งอักเสบนั้น จะมีอาการปวดที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมักมีอาการทันทีทันใด

โดยอาการปวดท้อง ไม่สัมพันธ์กับเวลาอาหาร เหมือนอาการปวดของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

อาการปวดท้องจะมีลักษณะอาการกดแล้วปล่อย แล้วมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Rebound tenderness

ซึ่ง อาการท้องเสียถ่ายเหลว ที่อาจเกิดขึ้นได้ ร่วมกับอาการไข้

ตรวจไส้ติ่งอักเสบ

ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น แพทย์จะใช้หลักการในการวินิจฉัยโรคที่มีความแตกต่างกันออกไปเพียงเล็กน้อย

ส่วนใหญ่โดยการใช้วิธีการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อเป็นการประเมินการอักเสบในส่วนของไส้ติ่ง

เพื่อประเมินดูจากค่าของเม็ดเลือดขาว ที่มีการเพิ่มมากขึ้นได้จากผลเลือด

นอกจากนี้ ในส่วนของการตรวจเอ็กซเรย์ด้วยวิธีการที่คล้ายคลึงกันนั่นคือ การทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound lower abdomen)

ที่เป็นการทำ Ultrasound ที่บริเวณช่องท้องส่วนล่าง แต่มีข้อจำกัดในส่วนของผู้ป่วยที่มีผนังหน้าท้องหนา เช่น

คนอ้วนลงพุง อาจส่งผลให้การทำ Ultrasound เห็นภาพของไส้ติ่งไม่ชัดเจน

ตรวจไส้ติ่ง

จึงต้องทำการวินิจฉัยต่อไป โดยการใช้วิธีการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่บริเวณของช่องท้อง (CT lower abdomen) เพื่อเป็นการตรวจให้ทราบรายละเอียดของไส้ติ่งได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โดยไส้ติ่งที่มีการอักเสบจะบวม มีขนาดที่ขยายใหญ่มากยิ่งขึ้นได้ร่วมกับอาจมีผลเลือดที่ผิดปกติ และผลการตรวจร่างกายพบความผิดปกติ

การรักษาอาการไส้ติ่งอักเสบ ทำได้อย่างไร

ส่วนใหญ่โดยการใช้วิธีการผ่าตัด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอาการไส้ติ่งแตกโดยศัลยแพทย์

การรักษาในช่วงวิธีก่อนการผ่าตัด แพทย์จะมีวิธีการสังเกตอาการทางหน้าท้อง ด้วยการหลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด

เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาอาการทางหน้าท้อง มีอาการเปลี่ยนแปลงในทางที่ลดลงจนสังเกตอาการได้ยาก

ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจำตัวรุนแรง หรือแพทย์ประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด อาจหลีกเลี่ยงโดยการให้ยาลดการอักเสบ

เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จนกว่าผู้ป่วยจะมีความพร้อมในการผ่าตัดได้ แต่เป็นวิธีนี้แพทย์แต่ละท่านจะใช้ดุลยพินิจในการประเมิน