โรคกลัวการตกหลุมรัก แค่เริ่มหวั่นไหวใจก็ถอยหนีทันที

โรคกลัวการตกหลุมรัก Philophobia

โรคกลัวการตกหลุมรัก ฟังดูเหมือนจะเป็นโรคตลก ๆ ในภาพยนตร์มากกว่าจะเป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วย

ที่เริ่มเป็นโรคกลัวการตกหลุมรักจำนวนมากขึ้นทุกวัน บางคนก็เป็นมาตั้งแต่เด็ก แต่บางคนมาเป็นเอาเมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ความน่าสนใจของโรคนี้ก็คือ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง

เพราะความรักที่ใคร ๆ ต่างบอกว่าเป็นสิ่งสวยงาม กลับเป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่น่าเข้าใกล้สำหรับผู้ป่วยโรคนี้เลย

โรคกลัวการตกหลุมรัก คืออะไร

โรคกลัวการตกหลุมรัก (Philophobia) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการตามชื่อโรคเลย คือ การกลัวที่จะมีความรัก

กลัวการไปตกหลุมรักใครสักคน กลัวเกิดความผูกพัน และกลัวการถูกทอดทิ้ง ในบรรดาของโรคโฟเบียทั้งหมดในโลกใบนี้

มีสถิติที่ระบุไว้ว่า โรคกลัวความรัก เป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากที่สุด คนภายนอกมักจะไม่ค่อยเข้าใจผู้ที่เป็นโรคนี้มากนัก

เข้าใจว่าเป็นโรคดัดจริต หรืออุปโลกน์ขึ้นมา (ปัญหาคล้ายกับโรคซึมเศร้า) ซึ่งก็ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่แย่ลงไปกว่าเดิม

สาเหตุของโรคกลัวการตกหลุมรัก

ด้วยความที่แพทย์ได้จัดกลุ่มให้โรคกลัวการตกหลุมรัก เป็นโรคโฟเบียที่กลัวเฉพาะทาง จึงมีการสรุปสาเหตุที่อาจะทำให้เกิดโรคได้ดังต่อไปนี้

1.เกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ฝังใจตั้งแต่เด็ก

บางครั้งเด็กอาจเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีปัญหา พอแม่ทะเลาะเบาะแว้ง ลงไม้ลงมือทุบตีทำร้ายร่างกายเป็นประจำ

บางครั้งก็อาจจะมีเหตุที่ทำให้ต้องสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่วัยเยาว์ รวมถึงอาจจะเห็นปัญหาการหย่าร้างในหมู่พี่น้องและญาติ

จนทำให้รู้สึกกลัวที่จะมีความรัก กลัวว่าวันหนึ่งชีวิตคู่จะต้องลงเอยแบบนี้

2.ปัญหาเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาในท้องถิ่น

บางประเทศหรือบางชุมชนท้องถิ่น มักจะมีข้อห้ามที่ประหลาด ๆ อยู่เสมอ เช่น หากหญิงสาวจะแต่งงาน พ่อแม่จะต้องเป็นคนหาให้เท่านั้น

มิเช่นนั้นฝ่ายชายจะต้องถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิต หรือบางประเพณีอนุญาตให้ผู้ชายสามารถมีภรรยารองได้แบบไม่จำกัด บางท้องถิ่นในประเทศไทยเอง

ก็ยังมีความเชื่อเรื่องส่งลูกสาวไปขายประเวณี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ช่วยหล่อหลอมให้บางคนโตขึ้นมากลายเป็นคนกลัวการตกหลุมรักได้เช่นกัน

3.ประสบการณ์ด้านความรัก

ในขณะที่บางคนโตมากับครอบครัวที่อบอุ่น มีทุกสิ่งที่อยากได้ แต่มาเจอปัญหาเรื่องความรักที่ล้มเหลวซ้ำซาก

ไม่ว่าจะถูกทอดทิ้ง ปัญหามือที่สาม ปัญหาความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและผิดหวัง

ยิ่งหลายครั้งเข้าก็ยิ่งทำให้เกิดความกลัวมากขึ้น กลัวว่าถ้าหากรักใครใหม่ ก็จะผิดหวังเหมือนที่เคยเป็นอีก

อาการของโรคกลัวการตกหลุมรัก

อาการของโรคตกหลุมรักโดยทั่วไปที่สามารถสังเกตได้ทั้งจากตัวเอง และจากคนใกล้ชิด มีดังต่อไปนี้

[wpsm_list type=”bullet”]

  • เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มหวั่นไหวกับคนใกล้ตัว ก็จะแสดงอาการถอยห่างอย่างเห็นได้ชัด เหมือนพยายามปิดกั้นตัวเองเอาไว้ บางคนอาจถึงขั้นเครียดและวิตกกังวลอย่างรุนแรง
  • ไม่ชอบเดินทางไปในสถานที่ที่มีคู่รักไปเที่ยวด้วยกัน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือสวนสาธารณะ
  • ชอบอยู่คนเดียว ทำอะไรด้วยตัวคนเดียวจนดูเหมือนหยิ่ง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือของใคร ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เป็นการป้องกันตัวอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้เกิดความหวั่นไหว หรือรู้สึกดีกับผู้ที่มาช่วยเหลือ
  • ไม่เปิดใจยอมรับความหวังดี และความปรารถนาดีของใครทั้งสิ้น โดยเฉพาะเพศตรงข้าม
  • มักจะไม่ค่อยแสดงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง จนดูเหมือนคนที่นิ่งเงียบตลอดเวลา การที่จะหัวเราะหรือแสดงความรู้สึกอย่างจริงใจ อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อรู้สึกไว้วางใจใครคนหนึ่งเป็นพิเศษ และคนเหล่านั้นมักจะเป็นเพื่อนสนิทมากกว่า
  • มีอาการใจสั่น อ่อนแรง โดยเฉพาะในกรณีที่โดนจีบซึ่ง ๆ หน้า หรือได้รับการแสดงความรักแบบไม่ทันตั้งตัว ก็จะรู้สึกมือสั่น ใจสั่น อ่อนแรงถึงขั้นเป็นลมได้เลยทีเดียว

[/wpsm_list]

วิธีรักษาโรคกลัวการตกหลุมรัก

โรคกลัวการตกหลุมรัก ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง จึงมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

1.บำบัดความคิด

วิธีที่ดีและน่าสนใจที่สุด ก็คือการเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อใหม่ ๆ ของผู้ป่วย ให้มองเรื่องของความรักเป็นสิ่งที่ดี

และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น หาผู้ที่มีประสบการณ์ดี ๆ เกี่ยวกับความรักมาแบ่งปันความรู้สึกที่ดี ทำความเข้าใจกับสาเหตุ

และปัญหาของผู้ป่วยที่เป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว จะทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อความรักมากขึ้น

2.สร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเผชิญหน้า

เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีทัศนคติที่ดีแล้ว ก็ลองให้ผู้ป่วยได้เผชิญหน้าหรือสัมผัสกับสถานการณ์จริงดู

ด้วยการให้ลองนั่งคุยกับเพศตรงข้ามในเรื่องที่อยากคุย การให้ลองชมหนังโรแมนติกสุดประทับใจ การจัดให้มีการออกเดท

เพื่อให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ทำความเข้าใจและรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง เมื่อต้องมีครั้งต่อไป ก็จะไม่ค่อยเครียดหรือหวาดกลัวแล้ว

3.รักษาด้วยยา

จะทำการรักษาได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการกลัวและเครียดสูงสุด จนมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า

หรือเมื่อเกิดความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่น่าหวาดกลัวสำหรับผู้ป่วยเอง (การตัดสินใจออกเดท

การตักสินใจไปรับประทานอาหารแบบ 2 ต่อ 2) จะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองไม่ให้เกิดอาการแพนิก (Panic) ได้

วิธีป้องกันโรคกลัวการตกหลุมรัก

สำหรับการป้องกันการเป็นโรคกลัวการตกหลุมรักที่ดีที่สุด ก็คือการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติให้ยอมรับความเป็นจริง

และมองโลกในแง่บวกเข้าไว้ ให้ประสบการณ์ความเจ็บปวด และความผิดหวังในชีวิตเป็นสิ่งที่สอนให้เรา

สามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น อย่าปิดกั้นตัวเอง และอย่าฝืนความรู้สึกตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่เจ็บปวดทั้งต่อคุณและฝ่ายตรงข้าม

Credit : pexels.com

โรคกลัวการตกหลุมรัก ถึงแม้จะเป็นโรคหนึ่งในทางจิตเวช แต่ก็ไม่ได้มีความน่ากลัว และเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างเหมือนโรคอื่น ๆ เลย

นอกจากสภาพจิตใจของผู้ป่วยเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ดีหากรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็ควรหาเวลาไปพบจิตแพทย์สักครั้ง

ถึงจะรักษาไม่หาย แต่ก็อาจจะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความรักได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น