โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ เชื้อวายร้ายที่มักแฝงมากับสัตว์

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในปัจจุบันโดยที่ผู้ป่วยอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ซึ่งการเป็นโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์นั้น

อาจจะยังไม่มีข้อมูลมากมายให้ทำความเข้าใจและได้ศึกษา แต่บทความนี้ เราได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกันแล้ว

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ คืออะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ คืออะไร?

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (nipah virus Infection) คือ การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า เชื้อไวรัสนิปาห์ (nipah virus)

ซึ่งอยู่ในกลุ่มยีนัสเฮนนิปาห์ไวรัส (Genus Henipavirus) โดยมีความคล้ายคลึงกับเชื้อเฮนดราไวรัส (Hendra virus)

แต่เชื้อเฮนดราไวรัสจะรุนแรงกว่า ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์หลากหลายชนิด เช่น สุนัข สุกร แพะ แกะ รวมถึงค้างคาวที่เป็นพาหะสำคัญในการทำให้เกิดเชื้อไวรัส

สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ สามารถที่จะเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

1.การสัมผัสสารคัดหลั่ง

การสัมผัสหรือได้รับสารคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นแหล่งรวมเชื้อไวรัสนิปาห์ ถือเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ร่างกายเกิดโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

โดยสามารถที่จะได้รับหรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางจากปัสสาวะ อุจจาระ หรือแม้แต่กระทั่งน้ำลาย ผ่านการปนเปื้อนในอาหาร

หรืออาจจะเป็นการปนเปื้อนในเครื่องดื่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสนิปาห์ในปริมาณน้อย แต่ก็สามารถกระตุ้นและทำให้ร่างกายเกิดโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้โดยทันที

ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายของแต่ละบุคคล ว่ามีความแข็งแรงในการต้านทานโรคได้มากน้อยเพียงใด

2.การหายใจ

การหายใจเป็นอีกวิธีที่จะทำให้ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสนิปาห์ โดยความเสี่ยงส่วนมากมักจะเกิดในผู้ที่ต้องทำงานอยู่ในโรงเลี้ยงสัตว์

หรืออยู่ใกล้กับสัตว์ที่เป็นแหล่งเพาะรวมเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงเลี้ยงสุกร

ซึ่งเชื้อไวรัสนิปาห์สามารถที่จะปนเปื้อนเข้ากับอากาศหายใจ และเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย ซึ่งในเริ่มแรก การติดเชื้อไวรัสนิปาห์นั้นจะเริ่มมาจากค้างคาว

เพราะค้างคาวเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เชื้อไวรัสนิปาห์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปสู่สัตว์ชนิดอื่นได้ผ่านทางอาหาร

เนื่องจากน้ำลายค้าวคาวอาจจะมีการติดเชื้อ หากค้างคาวทานผลไม้แต่ทานไม่หมด เมื่อเกษตรกรนำพืชหรือผลไม้เหล่านั้นไปเลี้ยงเป็นอาหารสัตว์ต่อ

ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บกหรือใช้สำหรับแหล่งน้ำ สัตว์อื่นที่มากินอาหารต่อก็จะได้รับเชื้อเข้าไปนั่นเอง

นอกจากนี้ เชื้อไวรัสนิปาห์ ยังสามารถติดต่อได้ผ่านคนสู่คนเพียงแค่สัมผัสกับผู้ป่วยเท่านั้น

อาการโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

อาการโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์มักจะเริ่มแสดงออกมาเมื่ออยู่ในระยะที่ 2 ของการติดเชื้อชนิดนี้ สาเหตุเป็นเพราะว่าช่วงระยะแรกประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่ได้รับเชื้อ

จะถือเป็นช่วงระยะเวลาที่เชื้อใช้เวลาในการเพาะตัวภายในร่างกาย ดังนั้นจะทำให้อาการแสดงออกได้ช้า แต่เมื่อมีอาการแล้ว จะแสดงออกมาดังนี้

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ

โดยอาการทั่วไปจะเหมือนกับการป่วยเป็นไข้ธรรมดาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง อาการเหล่านี้จะมีการพัฒนาความรุนแรงขึ้นไปตามการเพาะเชื้อภายในร่างกาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเพิ่มเติมได้อีกคือ

  • ชัก
  • เซื่องซึม
  • สับสน

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นจะเป็นเหมือนการเตือนให้กับร่างกาย ว่าอยู่ในขั้นวิกฤตจากการได้รับเชื้อไวรัสนิปาห์ ดังนั้น หากไม่รีบรักษาก็จะส่งผลทำให้เสียชีวิตได้

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

สำหรับการติดเชื้อไวรัสนิปาห์แพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการกำหนดให้ชัดเจนในเรื่องของการรักษา โดยมีวิธีวินิจฉัยดังนี้

1.การทำ Serology

เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการอีกหนึ่งชนิด โดยจะใช้วิธีการตรวจหาแอนติบอดี้ 2 ชนิด คือ Igm และ IgG

ซึ่งเป็นแอนติบอดี้ที่จะช่วยบ่งบอกภาวะติดเชื้อ และเพื่อดูว่าร่างกายเคยติดเชื้อชนิดนี้มาก่อนหรือไม่ ซึ่งจะใช้วิธีตรวจสอบคือ

  • การเจาะเลือด
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง

2.การทำ Molecular

วิธีการตรวจรูปแบบนี้เป็นการตรวจผ่านทางห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกัน แต่จะมีวิธีเก็บตัวอย่างเชื้อที่ละเอียดกว่ารูปแบบแรก โดยตัวอย่างเชื้อที่ต้องเก็บ มีดังนี้

  • ตัวอย่างชิ้นเนื้อจากสมอง ปอด ไต และม้ามแต่จะเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • ตัวอย่างน้ำลาย
  • ตัวอย่างน้ำไขสันหลัง
  • ตัวอย่างปัสสาวะ

อย่างไรก็ตาม แพทย์ส่วนใหญ่จะเลือกใช้การวินิจฉัยรูปแบบแรกในการตรวจหาเชื้อไวรัสนิปาห์ ซึ่งผู้ป่วยเองก็ควรที่จะต้องมีการระบุข้อมูลรวมถึงอาการให้ชัดเจน

วิธีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

สำหรับวิธีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่แพทย์จะยังไม่สามารถยืนยันวิธีในการรักษาได้อย่างชัดเจน

เพราะปัจจุบันยังไม่ได้มีการวิจัยตัวยาที่จะใช้รักษาเชื้อไวรัสนิปาห์โดยเฉพาะ ดังนั้น สิ่งเดียวที่แพทย์สามารถที่จะทำได้

คือ การจ่ายยาต้านเชื้อไวรัสไรบาไวริน (Ribavirin) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสชนิดเดียวที่แพทย์จะสามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยโรคนี้ได้

เพราะจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้โดยทันที

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

ถึงแม้ว่า เชื้อไวรัสนิปาห์จะเป็นเชื้อไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในทวีปเอเชียหลายประเทศ แต่ก็สามารถรับมือป้องกันการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้

ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตดังนี้

1.ล้างมือหลังจากมีการสัมผัสซากสัตว์

2.ไม่รับประทานผลไม้ที่มีรอยแทะ

3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะวัตถุดิบที่นำมาทำอาหารอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสนิปาห์รวมอยู่ด้วย

4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตัวผู้ป่วย หรืออยู่ใกล้ตัวผู้ป่วยมากเกินไป เพราะแม้เพียงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแม้แต่ลมหายใจรินรดผ่าน ก็มีสิทธิ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าวผ่านจากผู้ป่วยได้แล้ว

Credit : thehealthsite.com

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ แม้เป็นโรคที่ดูอันตรายและมีความน่ากลัว แต่ก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดมากมายก็ตาม

แต่เมื่อป่วยมีไข้ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว โอกาสที่เชื้อจะเพาะตัวจนเกิดอาการบานปลายก็ย่อมลดน้อยลง