โรคไข้อีดำอีแดง ทำร้ายสุขภาพเด็ก อีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้าม

โรคไข้อีดำอีแดง

โรคไข้อีดำอีแดง เป็นโรคที่มักจะพบในเด็กเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-15 ปี แต่ก็สามารถที่จะเกิดได้กับเด็กแรกเกิด

แต่ไม่ได้อยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่น่ากังวล เนื่องจากเด็กทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันจากน้ำนมแม่ และปัจจุบันความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคไข้อีดำอีแดงก็ลดน้อยลง

เพราะส่วนใหญ่จะได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่เริ่มต้น วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันอย่างมากขึ้น

โรคไข้อีดำอีแดงคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง? ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

โรคไข้อีดำอีแดง คืออะไร?

โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) คือ โรคที่มีการติดเชื้อจากเชื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งทั้งนี้จะทำให้ร่างกายเกิดอาการผื่นแดงไปทั่วร่างกาย

แต่ก็ยังสามารถที่จะมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนได้ โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับต่อมทอนซิลร่วมด้วย

สาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดง

โดยสาเหตุหลักของการเป็นโรคไข้อีดำอีแดง อย่างที่ทราบกันแล้วว่าโรคนี้เกิดได้จากการติดเชื้อ คือ สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (group A streptococcus)

และจะมีการผลิตสารไพโรเจนิกเอกโซท็อกซิน (Pyrogenic exotoxin) หรือ สารชีวพิษ จึงทำให้เป็นตัวการสำคัญในการเกิดโรคไข้อีดำอีแดง

สำหรับระยะเวลาในแสดงออกของโรคนั้น หากว่าใครที่ได้รับเชื้อนี้แล้วร่างกายจะเริ่มแสดงอาการ 2-7 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เชื้อใช้เวลาในการฟักตัวนั่นเอง

อาการของโรคไข้อีดำอีแดง

สำหรับในส่วนของอาการของโรคไข้อีดำอีแดง สามารถที่จะแบ่งแยกได้ตามระยะที่เริ่มเป็น ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

กล่าวคือ เริ่มแรกผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ เหมือนกับอาการป่วยทั่วไปตามปกติ โดยอาจจะมีอาการแทรกซ้อนที่เหมือนกับไข้หวัดทั่วไป

คือ ปวดศีรษะ หนาวสั่น แต่สำหรับบางรายอาจจะไม่มีอาการเจ็บคอรวมอยู่ด้วย เพราะไม่ได้ติดเชื้อที่ต่อมทอนซิล

แต่สามารถสังเกตได้จากบริเวณผิวหนังอาจจะมีแผล ทั้งนี้จะเริ่มสังเกตได้เมื่อมีไข้มาไม่ต่ำกว่า 1-2 วัน บริเวณผิวหนังตามลำตัว

หรือรักแร้ และอวัยวะอื่นๆ อาจจะมีการเกิดผื่นแดงขึ้น ซึ่งผื่นแดงที่ว่าสามารถที่จะกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง

และอาจจะมีอาการคันบริเวณนั้นๆ ร่วมด้วย หลังจากผื่นขึ้นมาแล้ว ก็จะมีระยะที่ผื่นเหล่านี้คงอยู่ประมาณ 3-4 วัน

แต่ก็สามารถที่จะหายไปได้ตามปกติ เมื่อผื่นบริเวณต่างๆ ที่ลำตัวหายแล้ว จะมีอาการผิวหนังลอกตามบริเวณที่เคยเป็นผื่นเหล่านั้น

ถือเป็นเรื่องปกติของโรคไข้อีดำอีแดง โดยระยะเวลาการลอกจะไม่เท่ากัน บางรายสามารถที่จะเป็นได้ถึง 6 สัปดาห์

ในขณะที่สังเกตว่าเริ่มมีผื่นขึ้นที่ร่างกาย ระหว่างนั้นอาจจะมีอาการเจ็บคอรวมอยู่ด้วย ซึ่งก็จะคล้ายคลึงกับการเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ

แต่จะแตกต่างตรงที่ลิ้นอาจจะมีฝ้าขาวๆ ขึ้นมา และจะมีการพัฒนาสีไปเรื่อยๆ จนถึงสีแดง

ซึ่งจะเรียกว่า “ลิ้นสตรอว์เบอร์รีสีแดง” (Red strawberry tongue) และต่อมทอนซิลก็จะเริ่มบวมและมีจุดหนอง

การติดต่อของโรคไข้อีดำอีแดง

เนื่องจากโรคไข้อีดำอีแดง ส่วนใหญ่จะเป็นที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 5-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่จะต้องพบปะกับผู้คนมากมายในโรงเรียน

เพราะฉะนั้น เชื้อเหล่านี้สามารถที่จะแพร่กระจาย ผ่านทางสารคัดหลั่งที่มีอยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำลาย

หรือการไอ จามรูปแบบต่างๆ จึงทำให้เด็กๆ สามารถที่จะได้รับเชื้อของโรคได้ง่ายและทำให้เกิดการติดต่อของโรคได้ง่ายนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้อีดำอีแดง

สำหรับการเป็นโรคไข้อีดำอีแดงนั้น ผู้ป่วยสามารถที่จะเกิดอาการภาวะแทรกซ้อนควบคู่กันไป

โดยจะเริ่มจากการติดเชื้อที่บริเวณต่อมทอนซิล และมีการลุกลามไปบริเวณอื่นๆ จนทำให้เป็นไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ จมูกอักเสบ

ไม่เพียงเท่านั้น เพราะถ้าหากว่าเชื้อถูกแพร่ไปที่กระแสเลือดแล้ว สามารถที่จะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

รวมถึงการติดเชื้อฉับพลันที่ข้อ กระดูกอักเสบ และสามารถที่จะเป็นได้ถึงไข้รูมาติก และสาเหตุที่สำคัญมากที่สุด

เป็นเพราะแอนติบอดี้ที่มีอยู่ได้รับการกระตุ้นจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

การวินิจฉัยโรคไข้อีดำอีแดง

แพทย์จะเริ่มจากการศึกษาประวัติและอาการ อันนำมาซึ่งสาเหตุของการเป็นโรคไข้อีดำอีแดง หลังจากนั้นก็จะมีการตรวจร่างกาย

ในกรณีนี้จะใช้สำหรับคนไข้ที่มีประวัติจึงสามารถวินิจฉัยได้ง่าย แต่บางรายอาจจะไม่ได้มีอาการที่ชัดเจนมากนัก ก็จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

อย่างเช่น การตรวจหาเชื้อบริเวณคอหอย (Rapid strep test) การเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่ง (Throat swab culture) โรงพยาบาลบางแห่งอาจจะให้มีการเจาะเลือดหาสารก่อภูมิต้านทาน

วิธีรักษาโรคไข้อีดำอีแดง

การรักษาโรคไข้อีดำอีแดง แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพนนิซิลิน และอะม็อกซีซิลลิน ถือเป็นกลุ่มยาหลักๆ ที่จะช่วยรักษาได้อย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าหากผู้ป่วยบางรายที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้ สามารถที่จะใช้ยาอิริโทรมัยซินแทนได้ แต่วิธีนี้เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ทราบชัดเจน

ว่าเป็นโรคไข้อีดำอีแดง และเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องถึง 10 วัน เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญ

ในการลดโอกาสการเป็นโรคแทรกซ้อน และอาจจะมีการรักษาไปตามปกติ แต่ในระหว่างการรักษาจะต้องมีการดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย

ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ เช็ดตัวด้วยน้ำจากอุณหภูมิห้องและทานยาลดไข้พาราเซามอล

วิธีป้องกันโรคไข้อีดำอีแดง

ในปัจจุบันวิธีป้องกันการเป็นโรคไข้อีดำอีแดงด้วยวัคซีน ยังไม่ได้มีการถูกคิดค้นขึ้น

เพราะฉะนั้น อาจจะต้องใช้วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคไข้อีดำอีแดง ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  1. เลือกรับประทานให้ได้ 5 หมู่ ในทุกๆ มื้อ
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ

ถือเป็นวิธีดูแลตัวเองแบบพื้นฐานง่ายๆ ที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคไข้อีดำอีแดง

แต่ถ้าหากว่าอยากได้วิธีที่จะช่วยป้องกันแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วย

รวมไปถึงไม่ควรใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วย แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรพยายามที่จะทำความสะอาดส่วนที่สัมผัสกับผู้ป่วย

โดยเฉพาะมือที่อาจจะต้องสัมผัสทั้งกับตัวผู้ป่วย และข้าวของเครื่องใช้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้ออันเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าวนั่นเอง

โรคไข้อีดำอีแดงในเด็ก

Credit : maerakluke.com

โรคไข้อีดำอีแดง เป็นโรคที่อาจจะไม่ได้อันตรายมากนัก ถ้าหากว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

แต่ทั้งนี้ถ้าหากสามารถที่จะรักษาได้ตรงตามที่แพทย์บอก ก็จะสามารถให้หายจากโรคได้ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาและรับมือกับอาการหลังจากผื่นหายไปด้วยพร้อมกัน