โรคไข้เลือดออก โรคใกล้ตัวที่อาจรุนแรงถึงชีวิต

ไข้เลือดออก อาการ

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) คือ เป็นโรคที่ติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี (Dengue virus) ติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ป่วยโรคไข้เลือดออกช่วงแรกอาการจะคล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป แต่ก็รุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการช็อคเพราะเสียเลือดมาก และภาวะแทรกซ้อนหากได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ ทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตโด้วยโรคนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

เชื้อไวรัสไข้เลือดออก จะถ่ายทอดจากผู้ที่ป่วยอยู่ก่อนแล้วสู่คนปกติ โดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายกัดผู้ที่ป่วยโรคไข้เลือดออก ยุงลายก็จะกลายเป็นพาหะของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้ตลอดอายุขัยของมัน อยู่ที่ราว 1 เดือน รวมทั้งยังส่งต่อเชื้อไปยังไข่ของมัน ทำให้ลูกยุงที่เกิดใหม่ก็กลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในทันที

โดยโรคไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ที่้เคยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มาแล้วก็สามารถป่วยซ้ำได้อีก แถมมีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม การระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

อาการของโรคไข้เลือดออก

ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงแบบเฉียบพลันต่อเนื่องเป็นเวลานั้น แม้จะทานยาลดไข้แต่อาการก็ไม่ทุเลา มีอาการปวดศีรษะ ใบหน้าแดง เริ่มมีอาการเบื่ออาหารหรือทางอาหารได้น้อยลง เพราะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางหลายมีอาการไอ เจ็บ คอ ตามตัวเริ่มเกิดผืนสีแดง

โดยอาการเหล่านี้จะแสดงออกภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการไข้สูง หลังจากนั้นอาการของไข้เลือดออกจะเริ่มรุนแรงและชัดเจนขึ้น ซึ่งเรียกว่า ระยะช็อกและเริ่มมีเลือดออก เป็นช่วงที่เชื้อไวรัส มีอาการเจ็บป่วยแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมอาการไข้ ทั้ง ปวดท้องและอาเจียรบ่อยขึ้น รู้สึกกระสับกระส่ายไม่สบายตัว เหงื่อออกมาก เซื่องซึม ความดันต่ำ ชีพจรเต้นช้า ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค ต้องพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้จนเริ่มมีอาการเลือดออก ทั้งจากเลือดกำเดา ถ่ายเป็นเลือด และเลือดออกตามผิวหนัง (ลักษณะเป็นรอยจ้ำเขียวตามผิวหนัง) ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการช็อก เนื่องจากเสียเลือดในภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อาการระยะที่ 2 จะแสดงออกในช่วงวันที่ 3-7 ของการป่วย ผู้ป่วยควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

วิธีรักษาและป้องกัน ไข้เลือดออก

สำหรับวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออก ช่วงที่เริ่มต้นมีอาการไข้แต่ยังไม่บ่งชี้ว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ก็ใช้การดูแลเหมือนการรักษาอาการไข้ทั่วไป พักผ่อนมากๆ เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลดลง ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินยาลดไข้ พาราเซตามอล หากอาการไข้ไม่ลดลง ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะเสี่ยงต่อภาวะช็อก ซึ่งแพทย์จะรักษาอย่างใกล้ชิดด้วยการให้น้ำเกลือ และทำการตรวจเลือดดูความเข้มข้นของเลือด (ฮีมาโทคริต) เป็นระยะๆ จนกว่าจะผ่านช่วงวิกฤตประมาณ 24-48 ชั่วโมง

ปัจจับันยังไม่มียาต้านไวรัสไข้เลือดออก สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่เราทุกคนสามารถทำได้ อันดับแรกสุดต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงต่อการถูกยุงลายกัด ทำลายแหล่งกำเนิดของยุงลายที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณบ้าน ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ