เชื่อว่า คุณผู้หญิงหลายท่านคงเคยมี อาการผิดปกติในช่องท้อง อยู่บ่อยๆ โดยคิดว่านั้นคืออาการผิดปกติเหล่านั้น คือ อาการที่สามารถรับได้ไม่ได้ส่งผลอะไรกับร่างกายมาก
แต่นั้นคุณอาจคิดผิด เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้ เมื่อทราบแบบนี้แล้ว การตรวจเช็คอาการของโรคคงเป็น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด
วันนี้เรามี อาการของโรคมะเร็งรังไข่ มาให้คุณลองตรวจเช็คกันดูว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้หรือไม่
โรคมะเร็งรังไข่ มีสาเหตุเกิดจากอะไร
โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เป็นโรคที่เรียกได้ว่า เป็นเป็นภัยเงียบใกล้ตัวสำหรับคุณผู้หญิง
นั่นก็เพราะ โรคมะเร็งรังไข่ มักจะไม่แสดงสัญญาณอะไรออกมาให้ทราบแบบชัดเจนเท่าที่ควร จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ป่วยจะทราบว่า
ตนเองป่วยเป็นโรคนี้ในระยะแรก และโรคมะเร็งรังไข่ ก็เป็นโรคที่ยังหาสาเหตุได้ไม่แน่ชัด อาจเป็นได้ทั้งมีความผิดปกติของยีนส์บางชนิดในร่างกาย หรือผ่านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เพราะในผู้หญิงที่มียีนผิดปกตินนั้น มักจะมีโอกาสในการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ หญิงวัยกลางคน ผู้สูงอายุ
ผู้ที่มีประจำเดือนมาเร็วและหมดประจำเดือนช้า มีญาติใกล้ชิดที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งทางเดินอาหาร
และในผู้ป่วยที่เคยป่วยเป็นเคยมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน รวมทั้งผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการคลอดบุตร หรือมีลูกยาก อีกด้วย
อาการที่อาจบ่งบอกว่า คุณอาจป่วยเป็นมะเร็งรังไข่
[wpsm_list type=”bullet”]
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มักจะมีอาการคล้ายคลึงกับอาการที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะจึงเป็นผลให้การวินิจฉัยโรคได้ล่าช้า ซึ่งมักตรวจพบโรคเมื่ออาการลุกลามออกไปมากแล้ว จนทำให้ผลการรักษาโรคไม่ดีเท่าที่ควร
- หากคุณมีอาการ รู้สึกอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร ปวดท้องในอุ้งเชิงกราน มีการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะลำบาก มีอาการขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม เช่น มีเลือด มีตกขาวที่ผิดปกติจากช่องคลอด มีอาการท้องอืดแน่น ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยด่วน
[/wpsm_list]
การตรวจหา มะเร็งรังไข่
Credit Photo: http://ovariancancerday.org/about-ovarian/
[wpsm_list type=”bullet”]
- การตรวจมะเร็งรังไข่ แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการตรวจภายใน ร่วมกับการตรวจเพิ่มเติม โดยการทำอัลตราซาวนด์ หรือ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรงบริเวณอุ้งเชิงกรานและบริเวณช่องท้อง
- มะเร็งรังไข่บางชนิดจะสร้างโปรตีน ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในเลือด หรือที่เรียกกันว่า สารบ่งชี้มะเร็ง เป็นวิธีการตรวจที่สามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยขอแพทย์ และเป็นนำมาเป็นข้อมูลเพื่อตรวจติดตามภายหลังการรักษาโรคได้ แต่การตรวจโดยวิธีนี้ ไม่ใช่การตรวจมะเร็งรังไข่ที่ให้ผลแน่นอน
[/wpsm_list]
การดูแลและป้องกันมะเร็งรังไข่ที่ดีที่สุด คือการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หมั่นตรวจความผิดปกของร่างกาย และไม่ควรนิ่งนอนใจในการไปพบแพทย์นะคะ