ต่อมน้ําลายอักเสบ มีอาการ สาเหตุและการรักษาอย่างไรบ้าง?
ต่อมน้ําลาย (ภาษาอังกฤษ: Inflammatory salivary glands) คือส่วนของต่อมที่ใช้สำหรับสร้างน้ําลายทำให้ภายในช่องปากเกิดความชุ่มชื้น และยังเป็นตัวช่วยให้การเคี้ยวอาหารสะดวก ช่วยคลุกเคล้าอาหารและช่วยย่อยไปในตัว ตามปกติต่อมน้ําลาย จะมีการสร้างปริมาณน้ําลายออกมาในสัดส่วนที่เพียงพอกับการนำไปใช้ ตำแหน่งของต่อมชนิดนี้พบได้ที่ กกหู (Parotid gland) จะสร้างน้ําลายแบบใส, ขากรรไกรล่าง (Submaxillary gland หรือ Submandibular gland) จะสร้างน้ําลายทั้งชนิดเหนียวและใส เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ําลายมากที่สุด และสุดท้ายคือใต้ลิ้น (Sublingual gland) จะสร้างน้ําลายชนิดเหนียวมากกว่าชนิดใส แต่ในกรณีที่เกิดโรคต่อมน้ําลายอักเสบ จะทำให้การผลิตน้ําลายผิดปกติ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการอักเสบ ตำแหน่งที่เกิดขึ้น และระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ที่การอักเสบอาจแปรสภาพไปเป็นมะเร็งได้เลยทีเดียวค่ะ ลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบ โรคต่อมน้ําลายอักเสบ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคคางทูม ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มาจากเชื้อไวรัส ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง แต่เกิดการอักเสบของต่อมน้ําลายตามมา รวมถึงภาวะอื่นๆ สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเสมหะและน้ําลาย การเกิดเนื้องอกขอต่อมน้ําลาย ที่จะแสดงตัวด้วยอาการต่อมน้ําลายอักเสบ เนื่องจากการอุดตันของทางเดินน้ําลาย ทำให้ตรวจพบก้อนที่อยู่ภายใน หรือการคลำพบโดยบังเอิญ การอักเสบของต่อมน้ําลาย จะพบได้มากที่บริเวณต่อมน้ําลายข้างหู ที่เรียกกันว่า “โรคคางทูม” พบได้ทั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ส่วนในผู้ใหญ่จะพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 […]