โรคตาขี้เกียจ โรคตาที่เกิดขึ้นในเด็ก ภัยเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม !

โรคตาขี้เกียจ อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมาก และอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในตาข้างนั้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น หรือรักษาก่อนอายุ 7 ปี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า โรคตาขี้เกียจเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่ วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักโรคนี้กันมากขึ้นค่ะ โรคตาขี้เกียจหรือสายตาขี้เกียจ คืออะไร ? โรคตาขี้เกียจ หรือสายตาขี้เกียจ (Lazy eye หรือ Amblyopia) คือ การที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมีการมองเห็นภาพลดลง หรือมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ทำให้สมองรับภาพจากตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง หรือเพิกเฉยต่อการรับภาพจากตาข้างที่ด้อยกว่า ซึ่งทำให้ตาอีกข้างมีระดับการมองเห็นที่น้อยลง โรคนี้มักจะเกิดกับเด็กทารกแรกเกิด จนถึงช่วงอายุ 6-7 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังมีพัฒนาการทางด้านสมองและการมองเห็น สาเหตุโรคตาขี้เกียจ 1.เกิดจากสายตามีความผิดปกติต่างกันมากเกินไป กล่าวคือ มีความสั้น ยาว และเอียงของตาแต่ละข้างมากเกินไป โดยปกติค่าของสายตาทั้งสองข้างจะต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เนื่องจากแสงที่ส่องผ่านเข้าเลนส์ตามีความมากน้อยไม่เท่ากัน จึงทำให้สมองเลือกที่จะตอบสนองกับตาข้างที่รับแสงได้ดีกว่า ทำให้ตาอีกข้างไม่ถูกใช้งานและไม่มีการพัฒนา 2.เกิดจากความบกพร่องของอวัยวะในส่วนของการรับภาพ เช่น จอประสาทตาฝ่อ สมองส่วนที่แปลภาพขาดออกซิเจน เป็นต้น 3.เกิดจากกล้ามเนื้อที่ควบคลุมการเคลื่อนไหวของดวงตาทำงานไม่สมดุลกัน 4.เกิดจากตาเหล่หรือตาเข ซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พบโรคตาขี้เกียจในเด็กมากที่สุด […]

kaewsai

March 12, 2018