ภัยเงียบใน “น้ำตาลเทียม” ของคนรักสุขภาพ
ในยุคที่ผู้คนหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น ผู้คนเริ่มหวาดกลัวกับปริมาณน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปปรุงแต่งอาหารทั้งคาวหวานมากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ด้ว่าการลิ้มรสชาติความหวานเป็นสิ่งที่ช่างน่าดึงดูด แยกที่จะยากออกจากความสุขในการกิน เราจึงมีทางเลือกที่เข้ามาทดแทนน้ำตาลอันเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยมากมาย รวมถึงภาวะอ้วนที่คงไม่มีสาวๆ คนไหนอยากได้มาไว้ในครอบครอง เราเรียกตัวช่วยทดแทนเหล่านั้นว่า “น้ำตาลเทียม” (artificial sweetening agent) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ถูกสังเคราะห์ขึ้นในกระบวนการทางเคมี คุณสมบัติของมันคือการให้รสหวานแทนน้ำตาลได้ แต่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือแทบไม่ส่งผลเลย ซึ่งบางชนิดยังแทบจะไม่มีแคลอรี่ จึงทำให้สาวๆ สามารถใช้สารเหล่านี้เติมความอร่อยในเมนูอาหารได้อย่างไร้กังวล แต่สิ่งนี้เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะภัยเงียบที่น้ำตาลเทียมไม่เคยบอก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราในทางอ้อมได้เช่นกันค่ะ น้ำตาลเทียมคืออะไร ? ตามท้องตลาดหากพูดถึงน้ำตาลเทียม ส่วนประกอบหลักๆ ที่เราจะพบได้ก็คือ “แอสปาร์แทม” (Aspartame) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยจะมีการนำเอามาผสมกับน้ำตาลแล็กโทส ร่วมกับสารซิลิคอนไดออกไซด์ ทำให้ตัวแอสปาแทมมีสภาพเป็นผงเหมือนน้ำตาลทรายขาว อันตรายจากแอสปาร์แตม แอสปาร์แตม ถูกนำมาใช้ในอาหารหลากหลายชนิด ทั้งเป็นตัวช่วยลดต้นทุนของผู้ผลิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และช่วยควบคุมน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หลายความเชื่อยังคิดว่าสารให้ความหวานชนิดนี้ไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพมากมาย แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการตระหนักถึงโทษของมัน โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของสารเคมี 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid), เมธานอล (Methanol) และ ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) […]