โรคขนคุด โรคผิวหนังที่ทำลายความมั่นใจผู้หญิงอย่างคาดไม่ถึง !
โรคขนคุด เป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้ ซึ่งโรคขนคุดเป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ด้วย ซึ่งจากการสอบถามประวัติผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่าใน 50% ของผู้ป่วย มีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคขนคุด และจากการสำรวจทั่วโลกพบว่าประมาณ 50-80% มักเกิดในเด็กและวัยรุ่น ในวัยผู้ใหญ่พบประมาณ 40% และยังพบว่าเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อีกทั้งยังเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วยเช่นกัน โรคขนคุด คืออะไร? โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) คือ ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณเซลล์ผิวหนัง ทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตันขึ้น ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกโผล่ออกมายังนอกผิวหนังได้ โดยเกิดเป็นตุ่มนูนๆ ที่มีลักษณะเป็นสีเนื้อหรือสีเดียวกับผิวขึ้นบริเวณผิวหนัง มีลักษณะคล้ายกับหนังไก่ที่ถูกถอนขน ซึ่งไม่มีอาการคันหรือเจ็บใดๆ เว้นแต่กรณีที่เกิดอาการอักเสบขึ้น ก็ตุ่มก็จะการเปลี่ยนสีเป็นสีแดง และมีอาการเจ็บบ้าง จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรงนัก เพียงแต่เมื่อมีอาการก็อาจจะทำให้ผู้ที่เป็นขาดความมั่นใจในเรื่องของรูปลักษณ์เล็กน้อย สาเหตุของโรคขนคุด เกิดจากการสะสมของเคราติน (Keratin) อันเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งเคราตินก็คือ โปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการดูดซึมสารอันตรายต่างๆ เข้าสู่เซลล์ผิวหนัง เมื่อมีการสะสมเคราตินในปริมาณมากก็จะก่อให้เกิดภาวะรูขุมขนอุดตันขึ้น ทำให้ขนไม่สามารถขึ้นมาเหนือผิวหนังได้ กลายเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนังแทน ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของเคราตินเกิดจากอะไร แต่ได้มีการสันนิษฐานไว้ว่าอาจจะเกี่ยวของกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของผิวหนัง หรืออาจจะเกิดจากภาวะทางผิวหนังอื่นๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นปัจจัยร่วมด้วย แต่อีกหนึ่งสาเหตุ อาจจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม […]