ภาวะไขมันในเลือดสูง บริจาคเลือด ได้หรือไม่?
ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดอุดตัน อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อโลหิตที่ได้รับบริจาคได้ โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พบว่า ส่วนประกอบโลหิตที่เป็นพลาสมา ในผู้บริจาคที่เป็นโรคภาวะไขมันในเลือดสูง มีลักษณะขุ่นขาวมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับผู้บริจาคที่มีสุขภาพแข็งแรง หากทำการบริจาคโลหิตในช่วงระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จะทำให้ไม่สามารถใช้ส่วนประกอบโลหิตที่เป็นพลาสมาได้ ไขมันในเลือดมีกี่ประเภท โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเอง อีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย (LDL – แอลดีแอล) ถ้ามีในระดับสูงเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน โคเลสเตอรอบชนิดดี (HDL – เอชดีแอล) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลชนิดนี้สูง จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ ไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันที่ได้รับจากอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล ถ้ามีระดับสูงมากจะทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ สาเหตุหลักของไขมันในเลือดสูง พันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ เช่น […]