นกเขาไม่ขัน ปัญหาหนุ่มใหญ่วัย 40-70 ปี ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่ต้องรีบแก้ !

นกเขาไม่ขัน

นกเขาไม่ขัน หรือ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ชายหลายคนหมดความมั่นใจไปเลยทีเดียว

เพราะไม่สามารถสร้างความสุขให้เป็นไปอย่างใจต้องการได้ ไม่เพียงที่ตัวคุณจะรู้สึกแย่แต่เพียงเท่านั้น เพราะยังส่งผลทำให้คู่รักของคุณมีความสุขกับชีวิตคู่น้อยลงได้ด้วยเช่นกัน

แต่โรคนี้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอย่างที่คิดอีกต่อไป เพียงคุณหันมาศึกษาทำความเข้าใจ และรับมือรักษาบำบัดอย่างถูกต้อง

นกเขาไม่ขัน คืออะไร?

นกเขาไม่ขัน (Erectile Dysfunction) คือ ภาวะสมรรถภาพทางเพศของเพศชายเสื่อมลง หรืออาจจะเรียกว่าการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โดยไม่ว่าจะพยายามเร้าอารมณ์ด้วยวิธีใดๆ ก็จะไม่สามารถปลุกอารมณ์ให้อวัยวะเพศชายกลับมาแข็งตัวได้ เนื่องจากระบบประสาทของสมองไม่ได้รับการกระตุ้น

ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างสมองไปจนถึงอวัยวะเพศ โดยจะทำให้เกิดความดันโลหิตและยังช่วยกระตุ้นให้อวัยวะเพศเกิดการแข็งหรือขยายตัว

แต่หากเป็นโรคนกเขาไม่ขันก็จะทำให้ปฎิกิริยาเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น สำหรับอาการนกเขาไม่ขันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

และส่วนใหญ่มักจะเป็นเฉพาะเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 40-70 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้มากพอสมควร

สาเหตุนกเขาไม่ขัน มีอะไรบ้าง?

การเกิดปัญหานกเขาไม่ขัน สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักๆ 2 ประการคือ ปัญหาทางร่างกาย และปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งมีดังนี้

1.ปัญหาทางสุขภาพ

ปัญหาทางสุขภาพเป็นปัญหาที่ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเป็นโรคนกเขาไม่ขัน แต่จะเกิดปัญหาสุขภาพได้นั้น

ผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันดังนี้

การเกิดโรคหรือภาวะต่างๆ : โรคถือเป็นตัวส่งผลสำคัญที่ทำให้เป็นโรคนกเขาไม่ขัน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ

โรคต่อมลูกหมากขยาย และโรคเส้นเลือดตีบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงแค่การเกิดโรคแต่เพียงเท่านั้นที่ส่งผลทำให้เกิดอาการนกเขาไม่ขัน

เพราะภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายก็สามารถส่งผลได้เช่นเดียวกัน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันสูง ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ และภาวะการนอนหลับผิดปกติ

โดยแต่ละโรคหรือภาวะดังกล่าวนั้นล้วนมีความเชื่อมโยงที่ทำให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันได้ อย่างเช่น ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

เพราะเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายต่ำลงก็ทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบประสาทที่ทำให้เกิดความต้องการทางเพศได้ และเช่นเดียวกัน

เมื่อเป็นโรคเบาหวานก็จะส่งผลทำให้ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มีความเกี่ยวข้องก่อให้เกิดปัญหานกเขาไม่ขันได้

ยา : ถึงแม้ยาจะสามารถช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้ แต่ในบางคนอาจจะมีการได้รับยาเกินขนาดหรือใช้ยารักษาที่ไม่เหมาะสม โดยสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้หลายอย่าง

เช่น ระดับฮอร์โมนผิดปกติ และความดันเลือดผิดปกติ อันเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันกับการเกิดปัญหานกเขาไม่ขันนั่นเอง

พฤติกรรมทั่วไป : พฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถส่งผลต่อการเป็นโรคนกเขาไม่ขันได้ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ

เนื่องจากสารที่อยู่ในแอลกอฮอล์และบุหรี่ สามารถส่งผลรบกวนการทำงานของระบบประสาทในร่างกายได้

ดังนั้น จึงทำให้ระบบประสาทเหล่านี้เสื่อมได้อย่างรวดเร็วและทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

2.ปัญหาทางสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิต ถือเป็นสาเหตุที่แอบแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่ผู้ป่วยหลายคนไม่ทราบ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์กระตุ้น

ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ปัญหาทางด้านความเครียด นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีปัญหากับคนใกล้ตัว

ไม่ว่าจะจากคนในครอบครัวหรือในที่ทำงาน ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นเดียวกัน

อาการของโรคนกเขาไม่ขัน

สำหรับอาการของโรคนกเขาไม่ขันนั้น ผู้ป่วยจะไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยเหมือนโรคอื่นๆ อะไรมากมาย

เพราะจะแสดงอาการในช่วงที่กำลังจะมีเพศสัมพันธ์เป็นหลักเท่านั้น กล่าวคือ อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว

และไม่ว่าจะพยายามกระตุ้นเท่าไรก็ไม่สามารถที่จะเกิดการแข็งตัวได้ หรือในบางรายอาจแข็งตัวได้เพียงไม่นาน

ก็จะกลับมาสู่สภาพหดตัวลงดังเดิมอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจเรื่องบนเตียงกับฝ่ายหญิงตามที่ต้องการได้

การวินิจฉัยโรคนกเขาไม่ขัน

การวินิจฉัยโรคนกเขาไม่ขัน แพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยแบบเฉพาะ โดยจะมีกระบวนการ ดังนี้

  • การสอบถามประวัติผู้ป่วย
  • อาการ
  • ยาที่ใช้
  • การตรวจร่างกายพื้นฐาน
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การอัลตราซาวด์
  • การทดสอบความแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย

วิธีรักษาโรคนกเขาไม่ขัน

สำหรับวิธีรักษาโรคนกเขาไม่ขัน สามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทานยา และการรักษาทางสุขภาพจิต ซึ่งทั้ง 3 วิธีเรามีรายละเอียดมาฝากเพิ่มเติมดังนี้

1.การเปลี่ยนพฤติกรรม

การเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นวิธีพื้นฐานรักษาโรคนกเขาไม่ขันได้ดี โดยวิธีรักษาจากการปรับพฤติกรรมนั้น มีข้อควรปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

น้ำหนักตัว : น้ำหนักเป็นตัวส่งผลสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันได้ โดยผู้ป่วยจะต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ด้วยการใส่ใจรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

บุหรี่และแอลกอฮอลล์ : ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีสารเสพติดที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท

โดยมีส่วนทำลายเส้นประสาทได้ อันจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่อวัยวะเพศชายด้วยนั่นเอง

ความเครียด : ความเครียด มีผลทำให้เกิดความวิตกกังวล และนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงความเครียดให้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าว

2.การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ในเรื่องของการใช้ยาเพื่อรักษาโรคนกเขาไม่ขันเสียก่อน

โดยยาที่นำมาใช้คือ พีดีอี 5 อินฮิบิเตอร์ (Phosphodiesterase-5-Inhibitors:PDE-5) ซึ่งประกอบด้วยตัวยาหลายชนิดรวมกัน คือ

  • ยาซิลเดนาฟิล (sildenafil)
  • ยาทาดาลาฟิล (Tadalafil)
  • ยาวาร์เดนาฟิล (vardenafil)

ตัวยาที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นยาที่ช่วยรักษาโรคนกเขาไม่ขัน โดยจะช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนโลหิตภายในอวัยวะเพศชายเป็นไปดีขึ้น

หากแต่จะออกฤทธิ์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และอย่างที่ทราบกันดีว่าการใช้ยารักษา เราควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อน

เพราะหากได้รับยาเกินขนาดอาจจะส่งผลเสี่ยงทำให้เกิดภาวะองคชาตแข็งค้าง (Priapism) ได้ หรือมีผลทำให้เกิดอาการนกเขาไม่ทันได้ด้วยเช่นกัน

3.การรักษาด้วยฮอร์โมน

การรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาฮอร์โมนเพศชายต่ำ ซึ่งแพทยจะทำการักษา

ด้วยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายให้กลับมาสูงขึ้นตามปกติ

4.การบำบัดทางจิต

การบำบัดทางจิตถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยโรคนกเขาไม่ขัน เนื่องจากปัญหาทางจิตไม่ว่าจะเป็นอาการเครียด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า

ล้วนสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทได้พอสมควร แพทย์จึงต้องให้การบำบัดรักษาทางจิตไปด้วย ซึ่งการบำบัดทางจิตก็มี 2 ช่องทางคือ

การบำบัด Sensate Focus เป็นการบำบัดแบบคู่รัก เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างคู่รักมีเพศสัมพันธ์

การบำบัดเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy) เป็นการบำบัดที่สามารถทำแบบคู่รัก

ซึ่งจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกทางเพศ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

วิธีป้องกันโรคนกเขาไม่ขัน

สำหรับวิธีป้องกันโรคนกเขาไม่ขันนั้น สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้จากตนเอง โดยมีวิธีป้องกันดังนี้

1.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และระบบต่างๆภายในร่างกาย

ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุลมากขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือดให้ทำงานดีขึ้นนั่นเอง

2.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยให้ร่างกายปลอดจากสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาท

โรคนกเขาไม่ขัน เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้มากพอสมควร

ทั้งนี้ก็สามารถที่จะรักษาได้แต่ควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Credit : lommelegen.no

โรคนกเขาไม่ขัน เป็นโรคที่กลุ่ม คนวัย 40 ปีขึ้นไปจนกระทั่ง ผู้สูงอายุ มักประสบกันมาก

ซึ่งหากใครที่อายุยังไม่มากก็ควรใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว สำหรับใครที่เป็นโรคนี้แล้ว

ก็ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างตรงจุด อาการก็จะดีขึ้น การเสพสุขกับคนที่คุณรักก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป