โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ภัยเงียบของคนวัย 40 Up ที่ต้องใส่ใจรับมือ

หลอดเลือดสมองโป่งพอง

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เป็นโรคที่น่ากังวลสำหรับผู้คนวัย 40 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุ ดังนั้น ใครที่อายุมากแล้ว

ก็ควรดูแลใส่ใจสุขภาพ และเราควรทำการศึกษาข้อมูลไว้ก่อนสาย จะได้รู้วิธีรับมือกับโรคได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง คืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysms, brain aneurysm) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดภายในสมอง

โดยความผิดปกตินั้นจะทำให้บริเวณใดบริเวณหนึ่งของหลอดเลือดเกิดอาการโป่งพอง มีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน หรืออาจจะคล้ายผลไม้ชนิดหนึ่ง

โดยบริเวณที่เกิดการโป่งพองขึ้นมานั้นจะเป็นการคั่งของเลือด ซึ่งสามารถเกิดการแตกหรือรั่วออกมาได้ และทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง มีอะไรบ้าง?

สำหรับโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถทราบได้จากในส่วนของกลวิธีการเกิด อย่างไรก็ตาม แต่ก็ต้องทราบด้วยว่า

บริเวณเส้นเลือดที่เกิดการโป่งพองขึ้นมานั้น ถือเป็นบริเวณที่ผนังหลอดเลือดบางลงไปมาก ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ดังนี้

1.ตั้งแต่กำเนิด : หลายคนมักจะมีสาเหตุมาจากการส่งต่อทางพันธุกรรม แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถส่งต่อโรคนี้ได้ทุกราย

ซึ่งในส่วนของการส่งต่อทางพันธุกรรม แพทย์จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนสำหรับโอกาสในการเกิด

2.ภาวะความดันโลหิตสูง : สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองได้อย่างง่ายๆ

เนื่องจากระดับความดันของเลือดภายในหลอดเลือดสมองนั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ล้วนถือเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น โดยพฤติกรรมเหล่านั้นก็มีดังนี้

ออกกำลังกายหนักเกินไป ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักจะใส่ใจในเรื่องของการออกกำลังกาย แต่ควรกำลังกายชนิดที่ไม่หนักมากเกินไป โดยจะต้องอยู่ในระดับที่ร่างกายสามารถรับไหว

ความคิดและอารมณ์ เมื่อเกิดความเครียด ตกใจ วิตกกังวล อารมณ์และความคิดเหล่านี้ จะส่งผลทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและมีผลต่อการโป่งพองในเส้นเลือดได้โดยตรง

ซึ่งเมื่อมีภาวะอารมณ์เหล่านี้มากๆ เข้าก็จะส่งผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จนอาจจะทำให้บริเวณที่โป่งพองแตกออกมาได้

เครื่องดื่ม พฤติกรรมการรับประทานเครื่องดื่ม เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถส่งผลต่อการทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิดสามารถกระตุ้นให้ระดับความดันเลือดสูงมากยิ่งขึ้น สำหรับเครื่องดื่มที่ส่งผล

เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแก๊สมาก ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้จะส่งผลกระตุ้นระดับความดันโลหิตได้นั่นเอง

การมีเพศสัมพันธ์ เป็นอีกพฤติกรรมที่ส่งผลกระตุ้นระดับความดันโลหิต ซึ่งควรต้องมีการจัดระดับให้เหมาะสมไม่ควรรุนแรงหรือตื่นเต้นมากเกินไป

3.การบาดเจ็บ : การบาดเจ็บที่สมองสามารถส่งผลกระทบต่อโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองได้ โดยอาจจะเกิดจากการล้ม

หรือการกระทบกระเทือนซึ่งนอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดแล้ว เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะยังทำให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดโป่งพองได้อีกด้วย

4.ภาวะมาร์แฟนซินโดรม : เป็นภาวะที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างสมอง จึงทำให้โครงสร้างสมองเสียหาย ส่งผลทำให้โครงสร้างอ่อนแอ และทำให้เกิดหลอดเลือดสมองโป่งพองได้ง่าย

5.การใช้ยา : การใช้ยาบางชนิด ที่อาจจะเป็นยาที่มีการกระตุ้นสารต่างๆ ในร่างกาย เช่น ยาเสพติด ซึ่งเป็นการกระตุ้นระดับความดันโลหิตภายในสมองให้มีแรงดันเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อาการโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง

สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ถูกแบ่งไปตามระดับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการสังเกตความผิดปกติของอาหารต่างๆ โดยแต่ละระดับของอาการ แบ่งได้ดังนี้

1.ระดับ unruptured aneurysm

เป็นระดับที่เส้นเลือดโป่งพองมีขนาด 7-10 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถทำให้เกิดการกดเส้นประสาทภายในสมองและสามารถส่งผลทำให้ตาบอดได้ โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • ปวดบริเวณโดยรอบของดวงตา
  • มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • มีอาการชาบริเวณใบหน้า

2.ระดับ Leaking aneurysm

เป็นระดับที่บริเวณหลอดเลือดที่โป่งพองนั้นเริ่มจะมีการรั่วซึม โดยอาการแสดงออกคือ การปวดหัวในระดับที่รุนแรงมากและไม่สามารถทนได้

3.ระดับ Ruptured aneurysm

เป็นระดับที่บริเวณที่มีเส้นเลือดโป่งพองมีการแตกออก ซึ่งถือเป็นระดับที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก และเสี่ยงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • ปวดหัวรุนแรง
  • คลื่นไส้
  • มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
  • ชัก
  • สายตาไวต่อแสง
  • เวียนศีรษะ
  • หมดสติ

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง

สำหรับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด โดยมีวิธีวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองดังนี้

การซักถามประวัติ : แพทย์จะต้องมีการซักถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยจะต้องมีการทราบเกี่ยวกับประวัติบุคคลในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ และระยะเวลาที่ป่วยเริ่มมีการแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนอย่างไร

การทำ CT Scan : เป็นการสแกนภาพในสมองเพื่อหาจุดโป่งพองภายใน

การทำ MRI : การทำ MRI เป็นการทำการสแกนคล้ายกับการทำ CT Scan แต่เป็นการใช้สนามแม่เหล็ก

และคลื่นวิทยุเพื่อเป็นสร้างรายละเอียดทั้งหมดของสมองและหลอดเลือด ซึ่งเป็นการช่วยหาจุดโป่งพองของหลอดเลือดเช่นกัน

การฉีดสารทึบสี : การฉีดสารทึบสีเป็นวิธีการวินิจฉัยที่แพทย์จะต้องทำเพื่อสร้างความแม่นยำบริเวณที่เกิดจุดโป่งพองของหลอดเลือดภายในสมอง

การตรวจน้ำไขสันหลัง : เป็นการทดสอบน้ำภายในไขสันหลัง เพื่อเป็นการหาจุดเลือดออกที่อยู่ในช่องใต้เยื่ออแรชนอยด์

วิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง

สำหรับวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองนั้น สามารถทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1.การผ่าตัด

การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกแรกในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โดยแพทย์จะทำการนำคลิปเข้าไปในบริเวณก่อนถึงเส้นเลือดโป่งพอง

ซึ่งคลิปจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มปริมาณเลือดให้ไหลเข้าไปสู่บริเวณจุดที่เกิดการโป่งพอง โดยจะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นไม่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น

แต่นอกเหนือจากการใช้คลิปแล้วแพทย์จะมีการนำลวด Platinum ใส่เข้าไปบริเวณหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ไม่ทำให้บริเวณจุดที่โป่งพองเกิดการขยายตัว

2.การใช้ยา

หากสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองนั้นมาจากภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์จะมีการสั่งยาเพื่อช่วยลดความดันโลหิต

และช่วยทำให้ผนังหลอดเลือดในสมองผ่อนคลายเพื่อลดความเสี่ยงในจุดที่โป่งพองแตก โดยยาลดความดันโลหิตที่แพทย์จะจ่ายให้ คือ กลุ่มยาเบต้าบล็อกเกอร์

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • หมั่นออกกำลังกาย แต่ควรเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรง
  • ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็คระดับความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย

Credit : articlekey.com

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ถือเป็นอีกหนึ่งโรคในคนวัย 40 ปีขึ้นไปที่ควรเฝ้าระมัดระวังอย่างยิ่ง และหากเกิดความผิดปกติใดๆ ต่อร่างกาย

ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที สำหรับใครที่สุขภาพยังแข็งแรงก็ควรดูแลตัวเองเนิ่นๆ เป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว