โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เป็นโรคสะเก็ดเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผลต่อข้อต่อ และยังจัดเป็นโรคในกลุ่มของโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ
ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการเกี่ยวกับข้อต่อกระดูกสันหลังและข้อส่วนรยางค์ โดยโรคสะเก็ดเงินชนิดนี้เป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง
เพราะเมื่อใดที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจู่โจมเข้าทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินแล้ว
ระบบภูมิคุ้มกันก็จะตรงเข้าไปทำร้ายที่ข้อต่อ สำหรับผู้ป่วย โรคผิวหนังสะเก็ดเงิน อาจมีหรือไม่มีอาการของข้ออักเสบก็ได้
และในบางรายของผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบก็อาจจะเป็นโรคข้ออักเสบชนิดอื่นที่ไม่ใช่โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินก็ได้
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน คืออะไร?
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งจากข้อมูลทางการศึกษาก็พบว่ามีความสัมพันธ์กับยีน hla b27
โดยเกิดขึ้นร่วมกับปัจจัยภายนอกอื่นๆ อย่างเช่น สารเคมีบางชนิด การติดเชื้อ ยา และความเครียด ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดการทำงานที่ผิดปกติ
กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวที่เร็วกว่าปกติ จึงทำให้เกิดรอยโรคที่บริเวณผิวหนังและเล็บ นอกจากนี้ ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ยังไปกระตุ้นให้เกิดความอักเสบของข้อต่อต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดอาการอักเสบและเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
โดยอาการจะกำเริบเป็นระยะ ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดการทำลายข้อ เกิดการติดผิดรูป จนทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
สาเหตุของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
1.พันธุกรรม หรือยีนที่ผิดปกติ จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 45 ของผู้ป่วย จะมีญาติพี่น้องที่ป่วยเป็นโรคนี้
2.ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายทำงานผิดปกติหรือเรียกว่าอีกอย่างว่าการแพ้ภูมิตัวเอง คือ การที่ลิมโฟไซส์ ชนิด T cells ซึ่งมีทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
โดยถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไป ทำให้ย้อนกลับมาทำร้ายเซลล์ปกติในร่างกาย จนเกิดเป็น อาการของโรค ที่แสดงให้เห็นชัดเจนบนผิวหนัง
3.การได้รับเชื้อโรคบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้ เช่น เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส เป็นต้น จะเป็นตัวเข้ามากระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น
4.การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีด ยารักษาโรคมาลาเรีย และรับประทาน ยารักษาโรคจิตประสาท จำพวกกลุ่มลิเทียม ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน
5.การสัมผัสสารเคมีบางชนิด ที่เป็นอันตรายต่อ ผิวหนัง ระบบกระดูกและข้อ
6.การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีด ยารักษาโรคมาลาเรีย และการรับประทานยารักษาโรคจิตประสาท กลุ่มลิเทียม ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน
7.การได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง จนทำให้เกิดผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบได้
ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
- มักจะพบโรคนี้เพศหญิง มากกว่าเพศชาย
- โดยพบมากในช่วงอายุ 20-45 ปี
- ผู้ที่มีประวัติของบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้
อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
- มีผื่นเกิดขึ้นเป็นปื้น ที่บริเวณผิวหนัง อาจจะเกิดขึ้นเพียงจุดเดียวหรือหลายๆ จุดพร้อมกันทั่วทั้งร่างกาย โดยสามารถเห็นได้ชัดเจน
- มีตุ่มสีแดง มีขอบเข้ม และมีขุยสีขาว เกิดขึ้นที่ผิวทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อ
- มีอาการข้ออักเสบที่บริเวณ นิ้วเท้า ปลายนิ้วมือ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบวมที่บริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น ในกรณีที่เกิดการอักเสบที่รุนแรง จะส่งผลให้เกิดข้อผิดรูป โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วมือจะบิดเบี้ยว หงิกงอ ปูด บวม
- ผิวและเล็บจะมีลักษณะขรุขระ เป็นหลุมเล็กๆ เล็บจะมีลักษณะเบี้ยวผิดรูป ไม่ตรง ทั้ง 10 เล็บ
- มีอาการปวดและบวมที่บริเวณข้อต่อ เวลาจับจะรู้สึกอุ่น
- มีอาการปวดที่เท้า รู้สึกปวดเส้นเอ็นและเอ็นยึดกระดูกโดยเฉพาะที่บริเวณฝ่าเท้าและข้อเท้า
- มีอาการปวดบิดที่บริเวณคอและหลังส่วนล่าง
ภาวะแทรกซ้อน
โรคสะเก็ดเงินอักเสบมักจะมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซิมเศร้า เมื่อยล้า และโลหิตจาง นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูง
มีคอเลสเตอรอลสูงทำให้มีปัญหากับการควบคุมน้ำหนัก และยังมีโอกาสเกิดภาวะ Arthritis mutilans จัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรง
โดยเป็นภาวะที่เกิดการทำลายกระดูกนิ้วมือ และมือ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยพิการได้ แต่ก็มีโอกาสพบได้น้อยมากในภาวะนี้
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
ในการวินิจฉัยแพทย์จะต้องทำการตรวจสอบประวัติของบุคคลในครอบครัวว่ามีประวัติเคยเป็นโรคนี้หรือไม่ และตรวจร่างกาย
โดยจะทำการตรวจสอบจากอาการผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง อาการบวม อาการปวดที่บริเวณข้อต่อ ตรวจสอบที่ฝ่าเท้าว่ามีอาการบวมหรือมีอาการกดแล้วเจ็บหรือไม่
หากอาการที่ตรวจพบยังไม่ชัดเจนจนสามารถแยกโรคได้ แพทย์อาจจะทำการตรวจ MRI หรือทำ CT สแกนเพิ่มเติม เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ
และอาจจะมีการตรวจเลือดเพิ่ม ซึ่งการตรวจเลือดอาจจะไม่ได้ช่วยให้ผลการวินิจฉัยโรคมีความชัดเจนมากขึ้นนัก แต่ก็มีผลช่วยให้สามารถวินิจฉัยแยกโรคได้ง่ายขึ้น
และยังช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาได้อีกด้วย ซึ่งแต่ละขั้นตอนที่จะใช้ในการตรวจก็จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาอีกที
วิธีรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
ในส่วนของการรักษา จะสามารถรักษาได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1.การรักษาอาการทางผิวหนัง
จะใช้ครีมหรือขี้ผึ้ง เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังและลดการกำเริบของโรค ใช้ยาทาเฉพาะภายนอกเพื่อรักษา
โดยจะต้องเลือกประเภทของยาให้เหมาะสมกับอาการของในแต่ละระยะและในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย
และยังมีการรักษาด้วยการอาบรังสีจากแสงแดด หรือแสงยูวี ซึ่งมีผลข้างเคียงตามมา จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากเลือกใช้วิธีการนี้
2.การรักษาอาการข้ออักเสบ
จะใช้ยาในการรักษาโดยยาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาที่ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบของข้อ
โดยใช้ได้แค่ในช่วงระยะที่มีอาการ ซึ่งใช้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น และยาอีกกลุ่มจะเป็นยาที่ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรค
ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ แต่ข้อเสียคือยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า ต้องทานไปประมาณ 4-6 สัปดาห์
จึงจะเริ่มเห็นผล จะต้องทานติดต่อกันในระยะยาว และให้ค่อยๆ ปรับลดลงเมื่ออาการดีขึ้น เพราะฉะนั้น แพทย์จะต้องมีการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
และต้องตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่ สำหรับการเลือกใช้ยาแต่ละกลุ่มก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะอาการของผู้ป่วย
ด้วยว่ามีความเหมาะสมกับยากลุ่มไหนประเภทไหน เพราะการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละจะไม่เท่ากัน
3.การรักษาโดยการออกกำลังกาย
เป็นวิธีการทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการติดที่ผิดรูปของข้อ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
วิธีป้องกันโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
เนื่องจากเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินยังไม่สามารถทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดโรคได้
จึงยังไม่มียาหรือวัคซีนที่ใช้ป้องกันเฉพาะ จึงทำได้หลีกเลี่ยงอาการกำเริบของโรคเท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาสุขภาพอนามัย
- เมื่อมีผื่นขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ห้ามเกาหรือแกะ เพราะอาจจะทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการเครียด เนื่องจากความเครียดจะส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ทำให้เกิดการทำงานที่แปรปรวนผิดปกติ
Credit : evahillnutrition.com
จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา ทำให้ทราบได้ว่า โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันได้
เป็นเพียงโรคที่มีอาการเรื้อรัง พร้อมที่จะกำเริบได้ตลอดเวลาหากมีปัจจัยมาคอยกระตุ้น และยังเป็นโรคที่มีมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยพิการได้
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที จึงถือว่าเป็นโรคที่มีความน่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้น หากมีพบอาการผิดปกติหรือน่าสงสัยของโรคนี้เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา เพื่อป้องกันกันลุกลามของโรคโดยเร็ว