โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเอสแอลอี (SLE) โรคพุ่มพวง ดูแลได้ ด้วยการเพิ่มวิตามินเสริม

โรคภูมิแพ้ตัวเอง เกิดจาก

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงการณ์สุขภาพ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิแพ้ คงเคยได้ยินชื่อ โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเอสแอลอี (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง นั่นเอง

ซึ่งตั้งตามชื่อของนักร้องลูกทุ่งชื่อดังในอดีต พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ ทำให้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในประเทศไทยยังไม่มี

อาการของโรค จะมีความเกี่ยวของกับการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง มีลักษณะผื่นคันเป็นจุดเริ่มต้นเพียงเล็กๆ

ก่อนจะลุกลามไปทั่วร่างกาย อาจมีการอักเสบ เกิดแผลในช่องปาก ตามมือเท้า ใบหน้าบวม

จากนั้นอาการของโรคก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

นอกจากโรคนี้จะไม่หายขาดแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

เนื่องจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนไปยังต่อมน้ำเหลือง เกิดการติดเชื้อตามอวัยวะอื่นๆ ซึ่งใครที่มีคนในครอบครัวกำลังป่วยเป็นโรคนี้

การรักษาที่พอจะช่วยลดความรุนแรงของโรค และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ด้วยร่วมกับการใช้ยา

คือเลือกใช้วิตามินเสริมที่เข้าไปเพิ่มภูมิคุ้มกัน  Immune System ให้ร่างกายมากขึ้น

ลักษณะอาการของโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE

สำหรับ โรคเอสแอลอี (SLE) มีชื่อย่อจากภาษาอังกฤษเต็มๆ ว่า Systemiclupus Erythematosus หรืออาจเรียกว่า “โรคลูปัส”  อาการที่เกิดขึ้นจะกระทบกับระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ

มีต้นตอมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่คอยเป็นตัวป้องกันเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก แต่กลับมาต่อต้านร่างกายตัวเอง

กลายเป็นกลุ่มภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่เพี้ยน ร่างกายมีการสร้างสารแอนติบอดี้ในกระแสเลือด จำนวนมากเกินความต้องการ ส่งผลให้มันเข้าทำลายเซลล์ต่างๆ ของอวัยวะจนเกิดการอักเสบ

สถิติที่พบโรคนี้ จะพบได้ในผู้หญิงวัยสาวไปจนถึงวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี โอกาสเกิดโรคได้มากกว่าผู้ชาย

พบได้มากในคนผิวดำและผิวเหลือง ซึ่งแน่นอนว่าในประเทศไทย โรคนี้ก็จัดอยู่ในโรคที่ควรระมัดระวังสำหรับสาวๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จัดได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย แต่ก็ยังมีโอกาสหายได้ด้วยการดูแลตัวเองให้มากขึ้น

จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดการอักเสบ และใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ

สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ตัวเอง

ปัจจุบันจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด

หลักฐานส่วนใหญ่ทางการแพทย์ระบุว่า มีหลายตัวกระตุ้นที่ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ

โดยเฉพาะกรรมพันธุ์ฮอร์โมนเพศหญิง, เชื้อไวรัสและภาวะติดเชื้อบางชนิด

นอกจากนี้ ตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ คือ แสงแดด รังสียูวี

การสัมผัสกับยาหรือสารเคมีอันตรายบางอย่างติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเข้าไปสะสมในร่างกาย

ภาวะเครียด และการตั้งครรภ์ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี SLE

อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อย พบเห็นได้จากผื่นคันตามบริเวณผิวหนังเป็นจุดเริ่มต้น

บางรายอาการก็จะแสดงกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่ส่งผลกับทุกส่วนของร่างกาย

บางคนก็มีอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นพร้อมกันทุกระบบในครั้งเดียว ส่งผลให้อาการป่วยรุนแรง

ซึ่งอาจกระทบต่อระบบประสาท การทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกมึน เบลอ ซึม เบื่ออาหาร พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากนัก แต่ก็จัดว่ายังต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น หน้าบวม ขาบวม

เนื่องจากภาวะอักเสบของไต มีผื่นขึ้นเป็นเม็ดๆ ตามใบหน้า และแตกตัวในเวลาต่อมา ปวดตามข้อต่างๆ อาการทั้งหมดอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

หากใครที่มีอาการรุนแรงดังกล่าวข้างต้น จะต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนทำให้ลุกลามมากขึ้น

การรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง และการดูแลตัวเอง

สำหรับการรักษาตามการแพทย์แผนปัจจุบัน จะมีการให้ยาสเตียรอยด์ร่วมด้วย ซึ่งหากมีการอักเสบเกิดขึ้น ก็จะมีการให้ยาแก้อักเสบและแก้ปวด เพื่อช่วยทุเลาอาการ

ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ มีการตรวจอาการอย่างสม่ำเสมอ

การเข้าพบแพทย์ตามนัดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม ซึ่งข้อจำกัดของยาชนิดนี้ก็จะมีผลต่อหญิงตั้งครรภ์

และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้อาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย

การรักษาอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยลดการเกิดโรคนี้ให้น้อยลงได้

คือ เลือกใช้วิตามิน ที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานที่เหมาะสม ร่วมกับการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไปพร้อมๆ กัน

วิตามินเสริมอิมมูน ตัวช่วยบรรเทาอาการ

การเพิ่มภูมิคุ้นกันร่างกายทั้งระบบ (Immune System) ซึ่งเป็นระบบทั้งหมดที่เราพบได้ในร่างกาย

ทำหน้าที่คอยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ภายใน

เมื่อการรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

การเพิ่มระบบนี้ให้แข็งแรง จะช่วยทำให้การรักษาทำได้ง่ายมากขึ้น การเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันองค์รวม กรณีที่มีปัญหาเลือดจาง ร่วมด้วยจากการตรวจ

ควรเริ่มจากการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อปลาที่ย่อยง่าย

มีสารอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งแร่ธาตุและวิตามินจำเป็น เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ดื่มน้ำนมถั่วเหลืองเป็นประจำ

ส่วนวิตามินเสริมที่ไม่ควรมองข้ามคือกรดโฟลิกอย่างน้อยครั้งละ 1 เม็ด ทานทุกเช้า – เย็น

ร่วมกับวิตามินบีสิบสองครั้งละ 1 เม็ดตอนเช้า ติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์

โรคพุ่มพวง อยู่ได้กี่ปี

Photo Credit : medicalnewstoday.com

จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนัง และระบบทำงานของอวัยวะภายในได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การให้วิตามินเสริม เป็นทางเลือกที่ช่วยลด ภาวะรุนแรงของโรคเอสแอลอีให้น้อยลง แต่ไม่ใช่การทำให้โรคนี้หายขาดแต่อย่างใด

ดังนั้น การรักษาควบคู่กับยาของแพทย์อย่างมีวินัย ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่เป็นสุขได้มากขึ้นแล้วล่ะค่ะ