โรคขาดผู้ชายไม่ได้ เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าชื่อ โรคฮิสทีเรีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว คือ โรคนิมโฟมาเนีย
และที่เข้าใจผิดกันอีกอย่างเลยก็คือ ไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น เพราะผู้ชายก็สามารถที่จะเป็นได้เช่นกัน
ซึ่งบทความนี้เราก็จะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
โรคนิมโฟมาเนีย คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลยค่ะ
โรคนิมโฟมาเนีย คืออะไร?
โรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania) คือ โรคที่เกิดจากการป่วยทางจิต โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมความต้องการทางเพศได้
หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เสพติดการมีเพศสัมพันธ์ (sexual addiction) แต่นิมโฟมาเนียเป็นชื่อโรคที่เอาไว้เรียกสำหรับเพศหญิง
หรือผู้ที่มีรสนิยมรักร่วมเพศ หากเป็นเพศชายจะเรียกว่า โรคสไตเรียซิส (satyriasis)
และผู้ป่วยจะไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเอาไว้ได้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย
โรคนิมโฟมาเนียมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
สำหรับโรคนิมโฟมาเนียสามารถที่จะแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.แบบใคร่ไม่รู้อิ่ม (Hypersexuality) ซึ่งเป็นอาการหลักๆ ของผู้ป่วยนิมโฟมาเนีย
2.แบบมโน (Erotomania) เป็นความผิดปกติที่คิดคิดว่า อีกฝ่ายหลงชอบตัวเองเอามากๆ
3.แบบกามวิปริต (Paraphilia-related disorder) เป็นรูปแบบความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์แบบซาดิสต์
หรือบางรายอาจจะมีปัญหาในการตอบสนองทางเพศที่รุนแรงกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากจินตนาการ
หรือบางรายอาจจะมีการจำลองสถานการณ์ และบางรายอาจจะชื่นชอบการใช้อุปกรณ์
4.แบบยับยั้งไม่ได้ (Sexual disinhibition) เป็นรูปแบบที่คล้ายกับแบบแรก โดยจะเกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้คิดถึงความเหมาะสมหรือความถูกต้อง
สาเหตุของโรคนิมโฟมาเนีย
1.ความผิดปกติของสมอง
เกิดจากความผิดปกติทางสมองซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสารสื่อประสาทที่อาจจะหลั่งเกินปริมาณความต้องการของร่างกาย
ทำให้การสื่อสารเกี่ยวกับระบบควบคุมฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ขณะเดียวกัน อาจจะเกิดความผิดปกติที่สมองส่วนกลาง (Midbrain)
ซึ่งเป็นส่วนช่วยร่างกายในการรับสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดีให้เกิดความผิดปกติไปด้วยได้
2.ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens)
เป็นฮอร์โมนที่จะส่งผลต่อความต้องการทางเพศ ซึ่งหากร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปก็จะส่งผลทำให้มีความต้องการทางเพศสูง
3.เหตุการณ์
เหตุการณ์เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคนิมโฟมาเนีย เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะเคยพบเจอกับประสบการณ์ที่สร้างบาดแผล
เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง หรือการถูกข่มขืน แต่บางรายอาจจะเป็นเพราะคนในครอบครัวมีพฤติกรรมหรือป่วยเป็นโรคนิมโฟมาเนีย ก็จะทำให้เกิดการเลียนแบบได้
4.โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะทำพฤติกรรมซ้ำๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งจากการวิจัยผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยจะมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 30 ครั้ง ในเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งก็จะทำให้เป็นโรคนิมโฟมาเนียได้
5.ยารักษาพาร์กินสัน
เป็นยาที่มีส่วนผสมของสารเอนโดพามิน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทโดยตรงที่จะควบคุมให้สามารถทำงานได้ปกติ และมีผลต่อการควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกาย
อีกทั้งประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ยา ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคนิมโฟมาเนียตามมาได้อีกด้วย
อาการของโรคนิมโฟมาเนีย
โรคนิมโฟมาเนียไม่ใช่โรคที่จะแสดงออกผ่านเป็นการเจ็บป่วยของร่างกาย แต่จะมีอาการหรือความผิดปกติทางพฤติกรรมและความคิดของแต่ละบุคคล โดยมีอาการ ดังนี้
- หมกหมุ่นคิดแต่เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์
- ดูสื่อลามกอนาจารเป็นประจำ
- ใช้บริการการค้าประเวณีตลอด
- ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ได้ เช่น การเลี้ยงฉลอง การทำงาน เพราะมัวแต่หมกหมุ่นกิจกรรมทางเพศ
- มีรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
- มักมีเพศสัมพันธ์ในอารมณ์ที่โกรธ หงุดหงิด เครียด หรือกังวล
- ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก หรือคู่แต่งงานได้
การวินิจฉัยโรคนิมโฟมาเนีย
สำหรับการวินิจฉัยโรคนิมโฟมาเนีย แพทย์จะไม่ใช้วิธีการตรวจร่างกาย เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นการวินิจฉัยจึงมีวิธี ดังนี้
การสอบถามประวัติผู้ป่วย : การสอบถามประวัติของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคคือ สอบถามด้านความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และพฤติกรรมการใช้สารเสพติดว่ามีหรือไม่ อย่างไร
การทำ DSM-V : การทำ DSM-V คือ แนวทางการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชฉบับที่ 5 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเพื่อการวินิจฉัยโรควิตกกังวล
และโรคทางจิตเวชที่อันตรายต่อสังคม โดยนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ตัดสินโรคและลักษณะเพิ่มเติมที่มีผลเป็นอันตรายต่อสังคม
เช่น มาโซคิส ซาดิส ชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก และการมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อื่น
วิธีรักษาโรคนิมโฟมาเนีย
การรักษาโรคนิมโฟมาเนียเป็นเรื่องยาก เพราะคล้ายกับการติดสารเสพติดจึงจะต้องใช้ระยะเวลาและการเอาใจใส่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้
1.การบำบัดแบบ CBT (Cognitive behavioral therapy)
นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยปัญหาทางสุขภาพจิตเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
หรือเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองได้หากว่าเจอสิ่งเร้า แต่จะต้องอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์
2.การใช้ยา
แพทย์จะมีการจ่ายยาเพื่อช่วยลดความต้องการทางเพศ เช่น ยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท
แต่นอกเหนือจากนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะต้องการยาที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย
3.การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย สามารถที่จะเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลายได้
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเลือกการเล่นโยคะ หรือการออกกำลังกายที่จะต้องมีสมาธิอยู่กับตัวเอง เพราะการออกกำลังกายรูปแบบนี้
จะทำให้ผ่อนคลายและไม่ฟุ้งซ่าน อีกทั้งยังช่วยให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีความสมดุลยิ่งขึ้น
รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่เพียงแค่วิธีการรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเท่านั้น แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เริ่มจากความคิดของตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยมีวิธีดังนี้
1.เข้าใจ เริ่มแรกจะต้องเริ่มเข้าใจโรคที่เกิดขึ้นก่อน โดยควรทำความเข้าใจตั้งแต่สาเหตุที่ส่งผล อาการแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นและปัญหาที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิต
2.มุ่งมั่น เพื่อรักษาให้ได้อย่างหายขาด ความมุ่งมั่นและตั้งใจในการรักษาจะช่วยทำให้การรักษาเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะในระหว่างรักษาหลายคนอาจจะรู้สึกท้อ หรืออายที่จะต้องเล่าเรื่องส่วนตัวที่เกิดขึ้นให้กับผู้อื่นฟัง
3.จัดการความเครียดและความวิตกกังวล ความเครียดและความวิตกกังวลเป็นสาเหตุของโรคนิมโฟมาเนียได้
ดังนั้น จึงจะต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับภาวะดังกล่าว เช่น ออกกำลังกาย หรืออ่านหนังสือ เพื่อให้กายและใจผ่อนคลายมากขึ้น
วิธีป้องกันโรคนิมโฟมาเนีย
โรคนิมโฟมาเนีย ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยสามารถเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้
ก็ย่อมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนิมโฟมาเนียลงได้ โดยเฉพาะการควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล เพราะระดับฮอร์โมนสามารถส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และความคิดได้
Credit : hiclasssociety.com
โรคนิมโฟมาเนีย หรือ โรคขาดผู้ชายไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนและคำแนะนำของแพทย์
และจะต้องสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับอาการก็ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วย่อมดีที่สุด