โรคฮิสทีเรีย เป็นโรคเฉพาะที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ และที่สำคัญยังส่งผลอันตรายต่อเรื่องสุขภาพส่วนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นแล้วมาดูกันดีกว่าว่า โรคฮิสทีเรีย คืออะไร? และสามารถที่จะรักษาได้อย่างไรบ้าง
โรคฮิสทีเรีย คืออะไร?
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีความผิดปกติจากระบบประสาท เพราะจะทำให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์
และความคิดไม่ได้ ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกับโรคทางประสาทอีกหลายชนิด เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโมโฟเบีย
แต่ลักษณะที่สามารถสังเกตได้จากการเป็นโรคที่กล่าวมาคือ ผู้ป่วยจะมีลักษณะของความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ
โรคฮิสทีเรียมีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
โรคฮิสทีเรียสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ Conversion และ Dissociative โดยสามารถอธิบายรูปแบบของแต่ละชนิดได้ คือ
1.โรคฮิสทีเรียชนิด Conversion
ฮิสทีเรียชนิด Conversion คือ ภาวะที่เกิดความวิตกกังวล แต่ความวิตกกังวลสามารถเปลี่ยนเป็นอาการเกี่ยวกับความรู้สึก จากการขัดแย้งทางความคิดและจิตใจแบบรุนแรง
และจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว อีกทั้งจะมีอาการแสดงออกทุกครั้งเมื่อมีความเครียดมากระตุ้น
2.โรคฮิสทีเรียชนิด Dissociative
ฮิสทีเรียชนิด Dissociative คือ ภาวะที่เกิดความวิตกกังวล แต่ความวิตกกังวลสามารถกลายเป็นการแสดงออกทางบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากเดิม
โดยอาจจะมีการแสดงออกในการพูด หรือการใช้ชีวิตประจำวัน แต่สำหรับบุคลิกที่แสดงแตกต่างออกมาผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำเหตุการณ์เหล่านั้นได้
ในการเกิดบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากเดิม อาจจะเกิดขึ้นจากการเรียกร้องความสนใจจากบุคคลรอบข้าง
หรือบางรายอาจจะมีปัญหาในการเดินละเมอในตอนกลางคืน ความจำเสื่อมจนไม่สามารถจำเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวหรือสิ่งรอบข้างได้
สาเหตุของโรคฮิสทีเรีย
สำหรับสาเหตุของโรคฮิสทีเรีย แพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค แต่สามารถที่จะระบุปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้
1.พันธุกรรม
เป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อการเป็นโรคฮิสทีเรีย หากมีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคฮิสทีเรียหรือบุคลิกภาพผิดปกติ
ก็อาจจะเกิดการส่งต่อทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ แต่ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลได้แบบ 100 เปอร์เซนต์
2.สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคฮิสทีเรีย โดยเฉพาะหากคนในครอบครัวมักมีการทะเลาะ และทำร้ายร่างกายกัน
ก็จะเป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดโรคฮิสทีเรีย หรือสำหรับบางรายบริเวณรอบๆ ที่อยู่อาศัยมักมีเหตุการณ์ที่รุนแรงก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน
3.การเลี้ยงดู
หากในครอบครัวมีการเลี้ยงดูลูกแบบที่ไม่ได้สนใจและใส่ใจเด็ก เช่น ไม่ลงโทษถ้าหากทำผิด
หรือไม่ได้ถูกอบรมสั่งสอนในเรื่องต่างๆ อย่างเหมาะสม ก็เป็นสาเหตุกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคฮิสทีเรียได้
4.การจัดการความเครียด
สำหรับผู้ที่มีปัญหาความเครียดเกิดขึ้น หากไม่สามารถที่จะจัดการกับความเครียดได้ ก็จะทำให้การแสดงออกทางอารมณ์เกิดได้มากกว่าทางปัญญา
จึงทำให้มีปัญหาหลายบุคลิก หรือการแสดงออกทางอารมณ์ที่เรียกร้องความสนใจ
อาการของโรคฮิสทีเรีย
สำหรบอาการโรคฮิสทีเรีย สามารถที่จะสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยอาการที่แสดงออก มีดังนี้
- ความดันโลหิตสูง
- เจ็บหน้าอก
- เหงื่อออกมาก
- มือสั่น
- มีปัญหาทางเดินหายใจ
- ชักกระตุก
- มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ
อาการทั้งหมดที่แสดงออกคือ การแสดงออกทางร่างกาย แต่โรคฮิสทีเรียเป็นโรคที่เกิดจากปัญหาทางจิต เพราะฉะนั้นก็จะมีการแสดงออกทางด้านความคิดและอารมณ์ด้วย ดังนี้
เรียกร้องความสนใจ : ผู้ป่วยมักพยายามที่จะทำให้ตัวเองอยู่ในจุดที่จะต้องได้รับความสนใจจากทุกคนอยู่เสมอ
และหากไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ต้องการ ก็อาจจะมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมอย่างรุนแรง เช่น การทำร้ายร่างกาย
แต่การเรียกร้องความสนใจอาจจะมาในรูปแบบของการแต่งตัว และพฤติกรรมที่พยายามจะยั่วยวนผู้อื่นตลอดเวลา
ความอดทนลดลง : ผู้ป่วยจะไม่สามารถอดทนในการทำกิจกรรมได้นาน โดยเฉพาะกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
หรืออาจจะมีปัญหากับงานที่ไม่สามารถอดทนทำให้เสร็จได้อย่างที่ต้องการ หรือแม้แต่กระทั่งความสัมพันธ์กับคนรัก
ก็จะไม่สามารถที่จะรักษาให้อยู่ได้ยาวนาน เพราะมักจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่จริงใจ
ไม่มีเหตุผล : ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในเรื่องของการวิเคราะห์ เพราะฉะนั้นจะตัดสินทุกๆ อย่างด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผลและตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว
การวินิจฉัยโรคฮิสทีเรีย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคฮิสทีเรียจากการสอบถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียด แต่เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท
ดังนั้น แพทย์จะมีคำถามเฉพาะ เพื่อช่วยประเมินความผิดปกติของผู้ป่วย และจะต้องมีการตรวจสภาพร่างกายควบคู่กัน ดังนี้
- การทำ CT Scan และ MRI เพื่อที่จะตรวจหาอวัยวะที่ส่งผลผิดปกติต่อสภาพของร่างกาย
- การอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจโครงสร้างที่เสียหายและผิดปกติ
- การตรวจเลือด เพื่อเป็นการหาโรคแทรกซ้อน และสาเหตุที่เกี่ยวข้อง
วิธีรักษาโรคฮิสทีเรีย
การรักษาโรคฮิสทีเรียแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคให้ดีขึ้น โดยมีวิธีรักษา ดังนี้
1.การรักษาด้วยยา
ยา เป็นทางเลือกการรักษาให้กับผู้ป่วยโณคฮิสทีเรีย แต่ก็ควรที่จะอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัย โดยแพทย์จะจ่ายยา คือ
- ยากล่อมประสาท เช่น Oxazepam, Elenium และ Phenazepam
- ยาแก้โรคซึมเศร้า เช่น amitriptyline, Anafranil และ citalopram
- วิตามินบีรวม
2.การรักษาด้วยธรรมชาติ
สำหรับวิธีการรักษาด้วยธรรมชาติจะใช้วิธีรักษาที่หลากหลาย โดยเป็นการรักษาที่เน้นช่วยลดความเครียด และสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยจะแบ่งการรักษาได้ ดังนี้
- การแช่เท้า โดยสามารถเลือกที่จะแช่เท้าด้วยทราย ดิน เกลือ โคลน และจะต้องแช่ประมาณ 20 นาที เพื่อช่วยคลายเครียด
- การนวด เป็นวิธีที่ช่วยคลายเครียดได้ดี โดยการใช้น้ำมันหอมระเหย เพื่อทำให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันโรสแมรี่ และน้ำมันขิง โดยจะเน้นนวดก่อนนอนเพื่อผ่อนคลาย
นอกจากนี้ ยังต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยทั่วไป เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ผ่อนคลายลดความเครียด และหมั่นออกกำลังกายด้วยเช่นกัน
วิธีป้องกันโรคฮิสทีเรีย
การป้องกันโรคฮิสทีเรียที่ดีมากที่สุดคือ การป้องกันเหตุการณ์ที่กระทบกับจิตใจ หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความเครียด และยังมีวิธีอื่นๆ อีก ดังนี้
- รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดโรคฮิสทีเรีย โดยจะต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- นอนหลับให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
Credit : soclaimon.wordpress.com
โรคฮิสทีเรีย เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่มีผลกระทบมาจากความเครียด โดยส่งผลทำให้มีบุคลิกที่แตกต่าง
ทั้งนี้โรคฮิสทีเรียไม่ใช่โรคที่ขาดผู้ชายไม่ได้ แต่เป็นโรคที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าจะต้องแสดงพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม