โรคเริม เกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาอย่างถูกต้อง

โรคเริม คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

เมื่อพูดถึง โรคเริม หลายคนอาจจะเริ่มคิดถึงคนที่ชอบมีคู่นอนหลายคน เพราะโรคนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มหรือผื่นที่ขึ้นมาตามร่างกาย

โดยบางคนอาจจะคิดว่าตนเองนั้นแพ้บางอย่าง เลยปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา เพราะคิดว่าน่าจะหายเองได้ตามธรรมชาติ

หรือเพียงหายามาทาบรรเทาผดผื่น หากกระนั้นก็พบว่ายังไม่ยอมหายซักที่ ที่สำคัญโรคนี้ยังลุกลามเป็นหนักมากกว่าเดิมเสียอีก

เพราะฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า โรคเริมคืออะไร และจะมี วิธีป้องกันรักษาโรคเริมอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

โรคเริม เกิดจากอะไร?

โรคเริม (Herpes) เป็นโรคผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายก็จะเกิดการแบ่งตัว

จึงทำให้ผิวหนังในบริเวณนั้นบวมเป็นตุ่มน้ำและมีอาการอักเสบ และหลังจากนั้นเชื้อก็จะไปอยู่ในปมประสาท

เมื่อไหร่ก็ตามที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง หรือเชื้อถูกกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อม ซึ่งได้แก่ แสงแดด ความเครียด หรือประจำเดือน ก็จะทำให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก

อาการเริ่มต้นของโรคเริม

สำหรับอาการเริ่มต้นของโรคเริมนั้น ผู้ป่วยจะเริ่มด้วยความรู้สึกเจ็บ ๆ ตึง ๆ และคันในบริเวณที่เป็น หลังจากนั้นภายในเวลา 24 ชั่วโมง

ก็จะเริ่มมีลักษณะเป็นตุ่มพองใส อาการของโรคเริมจะเหมือนกับเวลาที่โดนน้ำมันกระเด็นใส่ จากนั้นตุ่มก็จะแตกกลายเป็นแผลตื้น ๆ

ตกสะเก็ดแล้วก็หายไปในที่สุด ส่วนบริเวณที่ติดเชื้อโรคเริมได้บ่อยที่สุดคือ บริเวณริมฝีปาก และบริเวณอวัยวะเพศ

จึงจัดว่า โรคเริมเป็นโรคติดต่อทางเพศ ซึ่งโรคเริมสามารถพบได้ในทุกส่วนของร่างกาย ในบางราย อาจมีตุ่มเริมขึ้นตามต้นขา ต้นแขน และนิ้วมือ เป็นต้น

สาเหตุของโรคเริม

โรคเริมนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม หรือ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus – HSV)

ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใส โดยมีลักษณะของอาการคล้าย ๆ กันคือ มีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นบริเวณผิวหนัง

เชื้อโรคเริมนั้นจะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ ไวรัสเริมชนิดที่ 1 ที่เรียกว่า เอชเอสวี – 1 (Herpes simplex virus หรือ HSV -1)

กับไวรัสเริมชนิดที่ 2  มีชื่อเรียกว่า เอชเอสวี – 2 (Herpes simplex virus2 หรือ HSV- 2) ซึ่งเชื้อเริมทั้งสองชนิดนี้ จะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทางบริเวณผิวหนังทั่วไป

ยารักษาโรคเริม

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเริมนั้นอยู่ 3 แบบ ซึ่งยาทั้ง 3 แบบนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ช่วยลดอาการรุนแรงของโรคให้ลดลงได้

ซึ่งจะช่วยลดความถี่และลดระยะเวลาที่เป็น สำหรับยาทั้ง 3 แบบนี้ได้แก่ Acyclovir, Valacyclovir, Famiclovir โดยการให้ยาก็มีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1.Acute therapy หมายถึง การเริ่มให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการ กล่าวคือ ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน ตั้งแต่ยังไม่มีผื่นขึ้น ถ้ามีผื่นขึ้นจะไม่ได้ผล และจะต้องให้ยาครบ 5 วัน

2.Suppress therapy คือ การให้ยา เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ จะเลือกให้ในบางรายที่กลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีโรคประจำตัว

ยาทาแก้โรคเริม

สำหรับยาทาแก้โรคเริมนั้นยังไม่มียาทาตัวไหนที่ได้ผลดี สำหรับยาทานั้นจะช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้ผื่นแห้งเร็ว

โดยตัวยาที่นิยมกันได้แก่ acyclovir ครีม ซึ่งจะได้ผลเฉพาะ primary lesion และโดยปกติแล้ว ยาทาจะไม่ช่วยลดจำนวนเชื้อ

หรือลดระยะเวลาที่เป็นโรค สำหรับยาตัวอื่นต้องเลือกให้ดี เพราะอาจมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

หรือสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอย่างอื่น ทำให้แผลหายช้า และยาที่มีส่วนผสมของ steroid ก็ไม่ควรนำมาใช้ในการรักษาเช่นกัน

การรักษาโรคเริม

การรักษาโรคเริมนั้น หากผู้ป่วยมีอาการที่ชัดเจน แพทย์จะทำการรักษาไปตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ยาเบาเทาอาการคัน

หรือการใช้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ ร่วมกับการให้ยาต้านไวรัสก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรค ทำให้หายเร็วขึ้น

โดยจะช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ๆ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดเริมซ้ำ เนื่องจากยาต้านไวรัส

ไม่สามารถเข้าไปจัดการเชื้อไวรัสที่แฝงอยู่ในปมประสาทได้ ส่วนในรายที่ยังแสดงอาการไม่ชัดเจน

ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งวิธีการรักษาโรคที่สำคัญ คือการให้ยาต้านไวรัส

สมุนไพรรักษาโรคเริม

ในปัจจุบันมีสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเริมที่ปากได้ เช่น พญายอ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เสลดพังพอนตัวเมีย

สามารถลดอาการและทำให้ตุ่มใสหายเร็วขึ้น โดยสามารถหาซื้อในรูปของครีมพญายอ

อาหารที่ห้ามรับประทาน สำหรับคนเป็นโรคเริม

หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

อาหารดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว เพราะเมื่ออาหารนั้นไปสัมผัสกับแผลในขณะที่ทาน

จะทำให้เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์เกิดการเจริญเติบโตได้ดีในสภาพเป็นกรด ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นกรดทั้งหลาย

เพื่อไม่ให้สัมผัสกับแผล ซึ่งได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ มะนาว และน้ำส้มสายชู เป็นต้น

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอาร์จินินสูง

อาร์จินินเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไวรัสเฮอร์ปีส์ เจริญเติบโตได้ดี

สำหรับอาร์จินินนั้น จะพบได้มากในธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็ง และช็อกโกแลต

Credit : scienzaesalute.blogosfere.it

โรคเริม เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเชื้อไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในปมประสาทแล้ว

แต่สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ และช่วยลดความถี่ในการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย

เพราะเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ก็จะทำให้ อาการโรคเริม กำเริบ ดังนั้นจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี

และควรรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ามาเยอะจนทำลายภูมิคุ้มกันให้ต่ำลงนั่นเอง