กรดไหลย้อน โรคฮิตของคนวัยทำงานที่ไม่ควรปล่อยให้เป็นนาน

อาการ กรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease: GERD) คือหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับคนในช่วงวัยทำงานเป็นประจำ ซึ่งโรคนี้ไม่เพียงแต่สร้างความทรมานให้กับร่างกายเท่านั้น แต่ก็ยังนำมาซึ่งอาการที่สร้างความอันตรายในระยะยาวให้กับร่างกายอีกด้วย ลองมาทำความรู้จักเพื่อเข้าใจและทราบถึงวิธีป้องกันของ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) นี้กัน

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

ในส่วนของสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้นั้น มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ

  • หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารมีความผิดปกติ สาเหตุนี้จะมาจากหูรูดเสื่อมสภาพ ซึ่งก็จะเป็นไปตามช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ พฤติกรรมเหล่านี้ก็นำมาซึ่งอาการหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารผิดปกติได้เช่นกัน
  • การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง ภาวะเช่นนี้จะทำให้อาหารที่ถูกย่อยแล้ว คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน ซึ่งก็จะทำให้ไม่สามารถบีบตัวได้อย่างปกติ ส่งผลให้เกิดแรงดันในกระเพราะอาหารมากขึ้นจนดันเอาอาหารและน้ำย่อยเข้าสู่หลอดอาหารได้
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากอายุครรภ์ที่มากขึ้น ทำให้ครรภ์ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็ทำให้เกิดความดันในกระเพาะมากขึ้นด้วย
  • ความเครียด เมื่อมีภาวะความเครียดที่สูงขึ้น ก็ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น ทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น

อาการของโรคกรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อน นั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน แต่จะสามารถสังเกตได้ไม่ยาก ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปนั้น ได้แก่

  • อาการจุกแน่นหน้าอก คล้ายกับอาการอาหารไม่ย่อย มีกลิ่นปาก เสียวฟันง่าย บางรายก็มีอาการฟันผุร่วมด้วย
  • ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร
  • แสบร้อนที่กลางอก และลิ้นปี่ บางคนอาจมีอาการปวดร้าวที่บริเวณคอ เวลานอาหารแล้วจะกลืนลำบาก แสบคอ มีรสขมหรือเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นที่คอหรือปาก
  • ไอแห้ง มีอาการไอเรื้อรัง หรืออาจกระแอมไอบ่อยๆ อาจมีอาการสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน

วิธีรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อน

การรักษาโรคกรดไหลย้อนนั้น แพทย์จะมีวิธีในการรักษาอยู่หลายวิธี และต้องเป็นการรักษาเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาด้วย โดยวิธีรักษานั้นคือ

  • การรับประทานยาลดกรด ช่วยในการลดการหลั่งกรดในกระเพาะ และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาด้วยการทานยามาเป็นเวลานาน แต่อาการของโรคยังคงอยู่
  • การทานสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน กะเพรา ขิง เป็นต้น

ในส่วนของการป้องกันนั้น สามารถทำได้โดยเริ่มจากการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งการผ่อนคลายเมื่อรู้สึกเครียด และการรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ เพื่อป้องกันการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป