โรคกรดไหลย้อน (ภาษาอังกฤษ – Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือ ภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมา บริเวณหลอดอาหาร
ซึ่งหลอดอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบ ของหลอดอาหาร โดยปกติแล้ว หลอดอาหาร จะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่าง และ หูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมา บริเวณหลอดอาหาร
แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน
พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่
และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้
ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรัง กลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
โรคกรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุอะไร?
สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติ ในการทำหน้าที่ของ หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น
มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหาร โดยไม่มีการกลืน หรือ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้อง และการบีบตัวของกระเพราะอาหารได้
ในภาวะปกติ ร่างกายมีกลไลการป้องกัน การไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง
ซึ่งหูรูดนี้ จะคลายตัวขณะที่มีการกลืนอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารและกรด จากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไป ในหลอดอาหาร
เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของกลไลการควบคุมนี้เสื่อมลง หรือบกพร่อง จึงเกิดกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเกิดเป็นครั้งคราว เป็นพักๆ หรือเกิดตลอดเวลาได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าว ทำงานผิดปกตินั้น ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจาก หูรูดเสื่อมตามอายุ หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กทารก หรือมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด
นอกจากนี้ อาจพบในสตรีมีครรภ์ เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน มีผลต่อการทำงานของหูรูดหลอดอาหาร
ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
การรับประทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารประเภทไขมันสูง อาหารทอด ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ความเครียด
หรือแม้กระทั่ง การนอนเอนหลังทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ ตลอดจนการสวมเสื้อผ้าคับๆ และรัดเข็มขัดแน่นๆ เป็นต้น
โรคกรดไหลย้อน มีอาการ อย่างไร?
1. อาการทางคอหอย และหลอดอาหาร
- เกิดอาการแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปจนถึงบริเวณคอได้ ซึ่งจะเป็นมากขึ้น ภายหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนงาย
- รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
- กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดขัด คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ
- เจ็บคอ แสบช่องคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
- รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
- มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
- เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือลำคอ
- รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
- มีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
2. อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
- ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือขณะนอน
- ไอ หรือรู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออก ในเวลากลางคืน
- อาหารหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ แย่ลง หรือไม่ดีขึ้น
- เจ็บหน้าอก
- เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆ หายๆ
3. อาการทางจมูก และหู
- คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ
- หูอื้อ เป็นๆ หายๆ หรือปวดหู
การป้องกัน และวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน
credit photo: doctor.or.th
การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยยา เพื่อลดปริมาณกรด ในกระเพาะอาหาร และเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร
การรักษา อาจต้องใช้เวลานานประมาณ 1-3 เดือน ดังนั้น จึงต้องรับประทานยา อย่างต่อเนื่อง
การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยวิธีนี้ จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ซึ่งให้การรักษา โดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยา ที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
นอกจากการรักษาข้างต้นแล้ว เราสามารถป้องกันโรคนี้ ไม่ให้เกิดกับเรา ได้โดย
- ไม่ควรรับประทานอาหาร แต่ละมื้อ ในปริมาณมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด
- หลักเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
- ไม่ควรนอน หรือเอนกายทันที หลังจากการรับประทานอาหาร
- รักษาน้ำหนักตัวให้พอเหมาะ ไม่ให้อ้วนเกินไป
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สดใสร่างเริง ไม่เครียด
- สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบาย ไม่คับแน่นจนเกินไป
สมุนไพรธรรมชาติ ที่สามารถช่วยป้องกัน และบรรเทาโรคกรดไหลย้อนได้ มีดังนี้
ว่านหางจระเข้ ส่วนของเจลใส ประกอบไปด้วยสารประกอบเชิงซ้อน จำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น
โพลีแซคคาไรด์ พองตัวเป็นเจล ช่วยรักษาและสมานแผล ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ บรรเทาอาการแสบร้อน เนื่องจาก ฤทธิ์ของกรดที่ไหลย้อน มาจากกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียอย่างอ่อน ให้ผลดีต่อภาวะติดเชื้อ ในระบบทางเดินอาหาร
เทียนเกล็ดหอย (Psylium Seed Husk) เยื่อหุ้มเมล็ดของต้นเทียนเกล็ดหอย มีใยอาหารที่มีคุณสมบัติ ดูดซับน้ำ ได้ถึง 25 เท่าของน้ำหนักตัวเอง
และเมื่อดูดซับน้ำไว้แล้ว จะมีลักษณะเป็นเยื่อเมือกลื่น ที่เรียกกว่า มิวซิเลจ ช่วยลดโอกาสการสัมผัสกันของ กรดในกระเพาะอาหาร และเยื่อบุทางเดินอาหาร
ชะเอม มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนาน ในเรื่องของการบรรเทาอาการระคายเคือง และลดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจาก รากชะเอม ช่วยเพิ่มการสร้างเยื่อเมือก และกระตุ้นการสมานแผล ในกระเพราะอาหาร และลำไส้เล็ก
ขิง มีสรรพคุณลดอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการคลื่นไส้ได้ดี
ลูกยอ มีผลช่วยเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หูรูดหลอดอาหารแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน
และทำให้อาหารเคลื่อนจาก กระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยย่อย ขับลม ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน อาจใช้ร่วมกับขมิ้นชัน
เนื่องจาก ขมิ้นชัน มีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับนำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งยังช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดีอีกด้วย
แกสตรา-เฮิร์บ (Gastra-Herb) อาหารเสริมสำหรับ โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน
กิฟฟารีน แกสตรา-เฮิร์บ เป็น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประกอบไปด้วย
- ผงว่านหางจระเข้
- ผงขมิ้นชัน
- สารสกัดจากมะขามป้อม
- สารสกัดจากใบบัวบก
- สารสกัดจากทับทิม
- ผงขิง
- ชะเอมเทศสกัด
- สารสกัดจากขมิ้น
กล่าวได้ว่า รวมดาวเด่น ของ สมุนไพรดีๆ ที่เป็นสุดยอดในการช่วยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกพิเศษมากมาย
เช่น บางชนิด ลดการหลั่งกรดในกระเพาะ บางชนิด ช่วยสมานแผล สร้างเมือกมาปิดแผลไว้ และเกือบทุกชนิด ช่วยทำลายเชื้อโรค H. Pyroli (เอชไพโรไล)
วิธีการรับประทาน ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อควรระวัง คือ อาหารเสริม แกสตรา-เฮิร์บ เป็นสมุนไพร จึง ห้าม รับประทาน ในผู้ที่เป็นโรคตับ เด็กและสตรีมีครรภ์ สตรีที่กำลังให้นมบุตร ผู้ป่วยที่กำลังได้เคโม หรือทราบมาว่าแพ้ สมุนไพรตัวใดตัวหนึ่ง