มะเร็ง ขึ้นชื่อว่าโรคร้ายนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนย่อมคิดว่าตัวเองอาจจะอยู่ได้ไม่นานหลายปีแน่นอน เพราะ โรคมะเร็ง เป็นโรคอันดับ 1 ที่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตได้สูงที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่เกิดในอวัยวะส่วนใดของร่างกายก็ตาม ซึ่งก็รวมถึง มะเร็งหลอดอาหาร ก็เช่นเดียวกัน
ในวันนี้เราเลยจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดอาหาร ให้ได้ทราบรายละเอียดเพิ่มเติมว่า
โรคมะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
มะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร?
มะเร็งหลอดอาหาร หรือทางการแพทย์เรียกว่า Esophageal cancer คือ อาการของเซลล์ภายในหลอดอาหาร
เกิดการแบ่งตัวเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งขึ้นที่บริเวณหลอดอาหาร
และอวัยวะใกล้เคียง ในปัจจุบันจากผลการสำรวจ และวิจัยทางการแพทย์ระดับโลกพบว่ามะเร็งหลอดอาหาร
ถือเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยครั้งจนก้าวมาเป็นอันดับที่ 7 เลยทีเดียว โดยสามารถพบเจอได้ในประเทศที่มีปัญหาในเรื่องของอาการกิน
โรคที่มีอุตสาหกรรมทางอาหาร หรือทางใต้ของประเทศไทยเป็นส่วนมาก ขอบเขตอายุของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารนั้น
จะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 55-65 ปี ซึ่งพบความเสี่ยงในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3 – 4 เท่า
ชนิดของเซลล์มะเร็ง
ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน ได้แก่
มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส (Squamous Cell Carcinoma) เชื้อมะเร็งจะเกิดขึ้นที่บริเวณชั้นผิวแรกของหลอดอาหาร สามารถพบได้ที่บริเวณหลอดอาหารส่วนกลางหรือส่วนบนและยังพบได้มากที่สุดในผู้ป่วย
มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา (Adenocarcinoma) คือ เชื้อมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ต่อมผลิตเมือก ทำให้เชื้อมะเร็งลุกลามจากบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตัวเล็ก ชนิดซาร์โคมา หรือชนิดเมลาโนมา โดยปัจจุบันสามารถพบเจอได้ยากกว่าชนิดอื่นๆ
สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหารมีสาเหตุหลักๆ มาจากความเสี่ยงที่ส่งผ่านทางหลอดอาหาร แต่ยังไม่ได้มีการตรวจพบสาเหตุที่แท้จริง
โดยทางการแพทย์ จะเลือกตรวจสอบอาการในหลอดอาหาร ควบคู่กับพฤติกรรมของผู้ป่วยไปพร้อมๆ กัน
ซึ่งสาเหตุแรกจะเป็นในเรื่องของอาหารการกิน และอาหารที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารประกอบไปด้วย
1.พฤติกรรมการทานอาหาร
การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของสารกันบูด
ซึ่งอาหารกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยสารไนโตรโซ (Nitroso compound) หรือไนโตรซามีน (Nitrosamine) มีผลทำให้หลอดอาหารอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างอาหารที่มีสารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง ปลาหมึก และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
การสูบบุหรี่
หลายคนอาจจะคิดว่าการสูบบุหรี่นั้นจะส่งผลต่อโรคถุงลมโป่งพองหรือว่ามะเร็งปอดเท่านั้น
แต่หากสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด Squamous cell carcinoma มากยิ่งขึ้น
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากคุณดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มออลกอฮอร์อย่างเป็นประจำ มีส่วนที่จะทำให้อาการมะเร็ง ลุกลามไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อเชื้อมะเร็งแพร่เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แอลกอฮอร์ ถือว่าเป็นตัวกลางที่จะส่งเชื้อมะเร็งหลอดอาหารให้เติบโตยิ่งขึ้น
การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ
เนื่องจากความร้อนที่ส่งผ่านเข้าสู่หลอดอาหารนั้น อาจจะทำให้ผนังเกิดเสื่อมสภาพ และเกิดบาดเจ็บระหว่างรับประทานอาหารได้
2.ปัญหาสุขภาพ
สาเหตุต่อมาคือโรคร้ายต่างๆ ในร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เชื้อมะเร็งหลอดอาหาร ลุกลามและทวีความเจ็บปวดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรืออ้วน รู้หรือไม่ว่าเมื่อคุณน้ำหนักตัวขึ้นจะทำให้มีคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง อาจจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ
และทำให้เกิดเชื้อมะเร็งต่างๆ รวมถึงมะเร็งหลอดอาหารง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
ผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อน สำหรับใครที่มีอาการกรดไหลย้อนควรจะทำให้ตรวจหลอดอาหารให้บ่อยครั้งขึ้น
เนื่องจากหลอดอาหารจะโดนกรดจากกระเพาะอาหารไหลออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน,
เยื่อบุภายในหลอดอาหารบาดเจ็บเสียหาย หรือภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร (Barrett’s esophagus) เป็นต้น
ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารแบบ Adenocarcinoma
ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด แน่นอนว่า เมื่อร่างกายรับสารอาหารได้ไม่ครบถ้วนอาจจะทำให้เกิดเสี่ยงต่อการป่วย
เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารหรือโรคร้ายอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะท่านที่รับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำน้อย
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุหรือปัจจัยในด้านอื่นๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร เช่น กรรมพันธุ์,
เคยได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณทรวงอกตั้งแต่ยังเด็ก หรีอมีเชื้อชาติของชาวอิหร่าน โซเวียต จีน และชาวผิวดำแอฟริกัน
อาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งหลอดอาหาร ถือว่าเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่น่ากลัว เรื่องจากในระยะแรกผู้ป่วยมักจะยังไม่พบอาการใดอย่างเด่นชัด
แต่อาจจะมีอาการกลืนอาหารแล้วรู้สึกเจ็บ กลืนไม่ลง และมีอาการปวดที่ลิ้นปี่ แต่ยังไม่สามารถชี้ตำแหน่งของอาการเจ็บได้อย่างชัดเจน
แต่เมื่ออาการมะเร็งหลอดอาหารได้ลุกลามจนทำให้เกิดก้อนมะเร็งโตออกมาในท่อหลอดอาหาร จะทำให้อาการต่างๆ ของโรคร้ายชนิดนี้ชัดเจน
ทวีความเจ็บปวด และน่ากลัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากที่ผู้ป่วยพบอาการเจ็บเมื่อต้องกลืนอาหารแข็ง เช่น ข้าวสวย เนื้อสัตว์
ขนมปัง หรือผักสด แต่เมื่อก้อนมะเร็งเริ่มโตขึ้นและส่งผลให้ไปอุดตันหลอดอาหาร ไม่ว่าคุณจะกินข้าวต้ม ดื่มน้ำ
หรือกลืนน้ำลายก็ยังคงทำให้เจ็บปวดอยู่ดี รวมไปถึงการพบเจออาการอื่นๆ อย่างเช่น แน่นหน้าอกหรือแสบร้อนในช่องอก
ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก สำลักอาหารหรือไอในขณะกินอาหารบ่อยครั้ง เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง
จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย จนเมื่อเชื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และกระแสเลือด
อาจจะทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเละเป็นสีดำ มีเสมหะปนเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือด ต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้าหรือที่คอโต
ปวดหลัง ปวดตัว และปวดกระดูก นอกจากนั้นอาจจะสามารถลุกลามเข้าสู่กล่องเสียงหรืออวัยวะใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหาร
เมื่อผู้ป่วยพบอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่า สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากส่วนใด และเป็นมะเร็งหลอดอาหารชนิดใด
เริ่มต้นจากการการซักประวัติผู้ป่วยให้ชัดเจน เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมหรือปัจจุบันเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เอกซเรย์ทรวงอก (Chest x-ray), กลืนแป้งสารทึบรังสี (Barium swallow test),
ส่องกล้องหลอดอาหาร (Esophagoscopy) หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ขึ้นอยู่กับอาการหรือความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละเคส
วิธีรักษามะเร็งหลอดอาหาร
การรักษามะเร็งหลอดอาหารที่ดีที่สุดนั้นจำเป็นจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับ ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง โดยสามารถรักษาได้ 3 วิธี ได้แก่
1.การผ่าตัดหลอดอาหาร (Esophagectomy) เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารในระยะแรก และผู้ที่ตรวจพบเชื้อมะเร็งบริเวณส่วนช่องอก หรือส่วนปลายของกระเพาะอาหาร
2.การรักษาแบบสลายเชื้อมะเร็ง วิธีรักษามะเร็งหลอดอาหารนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ หรือเริ่มมีอาการลุกลามของมะเร็ง
เช่น การใส่สายยางในกระเพาะอาหารหรือลำไส้, การขยายหลอด, การใส่ท่อหรือวัสดุถ่างขยายหลอดอาหาร (Esophageal stent) และการเลเซอร์ทำลายก้อนมะเร็ง
3.การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy) ถือเป็นการรักษาที่นิยมใช้แทนการผ่าตัด โดยการฉายรังสีเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง
และหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรง พร้อมด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อทำให้ร่างกายสามารถต้านเชื้อมะเร็งได้มากขึ้น
Credit : twitter.com
มะเร็งหลอดอาหาร เป็นโรคร้ายที่สามารถป้องกันได้ง่าย สิ่งสำคัญนั่นคือการควบคุมอาหารที่รับประทานอย่างเคร่งคัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ
รับประทานผักสดและผลไม้ปลอดสารเคมีให้มากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากตรวจพบว่า ตนเองมีโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงอย่าง กรดไหลย้อน หรืออาการอักเสบหลอดอาหารเรื้อรัง
ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เรียบร้อย เพื่อจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้มากยิ่งขึ้น