ผู้สูงอายุสมองเสื่อม ควรดูแลและสื่อสารอย่างไร? มีคำกล่าวไว้ว่า คนเราเมื่ออายุมากขึ้น จะมีความคิดกลับเป็นเด็ก
ชอบเรียกร้องความสนใจกับลูกหลาน ถ้าบ้านไหนลูกหลานเอาใจใส่ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่บ้านไหนลูกหลานไม่ค่อยมีเวลาดูแล
นานๆ จะแวะมาเยี่ยมเยียนสักครั้งหนึ่ง ผู้สูงอายุบ้านนั้นก็จะดูหงอยเหงา เศร้าซึม และเริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัยได้
โดยเมื่อมีผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการโรคสมองเสื่อมแบบนี้ เรามีวิธีการพูดคุย สื่อสารแบบไหน ให้ผู้สูงอายุเข้าใจ
และมีวิธีใดในการดูแลให้ท่านสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้บ้าง ก็มาดูกันเลย
การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม
มาดูวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่มีอาการสมองเสื่อมกัน โดยมีวิธีดูแลง่ายๆ ดังนี้
1.ผู้ดูแล และญาติต้องเข้าใจในอาการของโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัย
ต้องไม่โกรธ ไม่หัวเราะ หรือขำผู้ป่วยที่แสดงพฤติกรรมแปลกๆ ไม่เหมาะสมออกมา เพราะอาจจะเป็นกระตุ้นอาการป่วยให้กำเริบมากขึ้นได้ ไม่ฝืนให้ผู้ป่วย
ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหงุดหงิดได้ ให้ใช้วิธีพูดคุยสอบถามความรู้สึก คุยเกี่ยวกับความเป็นอยู่
ณ ปัจจุบัน ว่าชอบหรือไม่ อย่างไร และอาจจะพาไปทำกิจกรรมที่ผู้สูงวัยชอบด้วยก็ได้
2.จัดบ้านและบริเวณที่พักให้สะดวก ปลอดภัย เช่นในห้องน้ำ พื้นต้องไม่ลื่น แสงสว่างเพียงพอ และมีราวจับ
3.ชวนผู้สูงอายุทำงานอดิเรก
ถ้าหากผู้ป่วยยังสามารถทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆได้ ก็ต้องสนับสนุนให้ท่านทำโดยมีผู้ดูแลอยู่ใกล้ชิด
เช่น ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน และมีความสุขมากขึ้น
4.การดูแลผู้ป่วยในระยะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ตั้งแต่การอาบน้ำ แต่งตัว ป้อนอาหาร ช่วยเหลือผู้ป่วยในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ทุกความต้องการ ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม
เพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัว การถูกทอดทิ้งของผู้ป่วย เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นใจ และมั่นใจว่ามีผู้ดูแลคอยอยู่เสมอ
การสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม
สำหรับการสื่อสารกับผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม ก็มีวิธีการดังต่อไปนี้
1.ผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ
และสนใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด รวมถึงควรสบสายตากับผู้ป่วยขณะพูดคุย เพื่อให้ผู้ป่วยสนใจในสิ่งที่ผู้ดูแลกำลังพูดจะได้เข้าใจ เพื่อให้การสื่อสารดีขึ้น
2.ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่
ผู้ดูแลควรแสดงความนอบน้อม เคารพถึงแม้ท่านจะมีอาการสมองเสื่อม ไม่ควรพูดเหมือนผู้ป่วยเป็นเด็ก
3.ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สุภาพ
และชัดถ้อยชัดคำ ไม่ควรตะโกนหรือใช้เสียงแหลมสูง เพราะอาจจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยหงุดหงิด ผู้สูงอายุชอบฟังเสียงทุ้มมากกว่า และควรพูดเป็นประโยคสั้นๆ
Credit : siangtai.com
การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ต้องอดทน เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงวัยนั่นเอง