การนอนในผู้สูงอายุ นอนอย่างไรให้สุขภาพดี

การนอนในผู้สูงอายุ นอนอย่างไรให้สุขภาพดี

การนอนในผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงวัยหลายๆ ท่านมักมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน และมักจะตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยๆ ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้

เพราะฉะนั้นควรใส่ใจกับการนอนของผู้สูงอายุเป็นหลัก โดยจะนอนอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ ก็ต้องมาดูกันเลย

1.อย่านอนดึก นอนหลับให้ตรงเวลา

ผู้สูงวัยควรเข้านอนทันทีที่รู้สึกง่วง หรือรอให้ง่วงที่สุด แต่ไม่ควรเกิน 22.00 น. เพราะจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซมที่เพียงพอ

จึงมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ง่าย ที่สำคัญควรฝึกนอนให้ตรงเวลาอยู่เสมอ เพื่อปรับสมดุลการนอนของวัยสูงอายุให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

2.จัดห้องนอนให้เหมาะสม

ห้องนอนที่เหมาะสม ควรจัดให้เงียบสงบ สะอาด  ไม่มีแสงรบกวน อากาศต้องถ่ายเทดี เย็นสบาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุ

นอนหลับได้อย่างสบาย และหลับสนิทตลอดคืนมากขึ้น ทั้งยังสร้างความสุขในการนอนได้ดีอีกด้วย เพราะฉะนั้น

มาจัดห้องนอนของผู้สูงวัยให้เหมาะสมกันดีกว่า

3.เลี่ยงการนอนกลางวัน

การนอนอาจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่การนอนกลางวันไม่ค่อยดีสำหรับผู้สูงวัยมากนัก เพราะจะทำให้นอนหลับยากในตอนกลางคืน

ดังนั้นผู้สูงวัยควรจะมีกิจกรรมทำในตอนกลางวันอยู่เสมอ เช่นเข้าสมาคม ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรกที่ท่านชื่นชอบ

อย่างการปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์เพื่อจะได้ไม่มีเวลาว่างให้ง่วงเหงาหาวนอน แล้วเผลอหลับในตอนกลางวันนั่นเอง

4.รับประทานอาหารที่ช่วยทำให้นอนหลับง่าย

ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารที่ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น เช่นกล้วย นม โยเกิร์ต ชีส ปลาแซลม่อน ถัวแระ ข้าวโอ๊ต

หรือซุปอุ่นๆ โดยอาหารเหล่านี้มีสารอาหารสำคัญ ที่มีส่วนช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สมองปลอดโปร่ง

จึงนอนหลับได้สนิทและหลับสบายมากกว่าเดิม

5.เลือกท่านอนที่เหมาะสม

ต้องเลือกท่านอนให้เหมาะสมที่สุด โดยผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงดี ควรนอนท่านอนหงาย เพราะนอกจากจะช่วยให้ศีรษะ

ลำคอ และกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเพื่อเป็นการป้องกันอาการปวดคอและหลังแล้ว ยังเป็นท่านอนที่ช่วยป้องกัน

การเกิดอาการกรดไหลย้อนได้ดีอีกด้วย แต่กรณีที่ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ควรหลีกเลี่ยงการนอนท่านอนหงาย ให้ใช้ท่านอนตะแคงแทน จะนอนตะแคงซ้ายหรือตะแคงขวาก็ได้ตามความถนัด

การนอนในผู้สูงอายุ นอนอย่างไรให้สุขภาพดี

areepun.com

การนอนหลับของผู้สูงวัยจะพัฒนาดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ผู้สูงวัยสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ

ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของท่าน ให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงได้