ปวดท้องข้างขวา อาการปวดท้องข้างขวาจี๊ดๆ ส่อโรคที่ไม่ควรละเลย !

ปวดท้องข้างขวา

อาการปวดท้อง (abdominal pain) ไม่ว่าจะ ปวดท้องข้างขวา หรือ ปวดท้องข้างซ้าย เป็นสิ่งที่เชื่อว่า ทุกคนล้วนต้องเคยเผชิญกับอาการปวดท้องกันมาแล้ว ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย

แต่ก็ยังมีอาการปวดในลักษณะอื่นที่แตกต่างกันออกไป สาวๆ จึงต้องสังเกตว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจาก การปวดบริเวณท้องข้างซ้าย หรือมาจาก อาการปวดท้องข้างขวา กันแน่

(อ่านเพิ่มเติม : อาการปวดท้องด้านซ้าย เกิดจากอะไร รีบหาสาเหตุ วิธีการรักษาก่อนสายเกินแก้! )

แล้วอาการปวดเป็นแบบจี๊ดๆ ปวดติดต่อกันนานๆ ปวดตุบๆ หรือปวดหน่วง บริเวณที่ปวดด้านขวา จะมีอวัยวะที่ไม่เหมือนกับด้านซ้าย

ดังนั้น ลองมาสังเกตกันดีกว่าค่ะว่า อาการปวดท้องข้างขวา จะเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง แล้วส่วนใหญ่มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน ?

สาเหตุของอาการปวดท้องข้างขวาที่พบได้บ่อย

1.ปวดท้องด้านขวาด้านบนที่ชายโครงด้านขวา มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

หากสาวๆ พบอาการ มักจะมีต้นตอมาจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี และโรคตับเป็นหลัก หากต้องการสังเกตว่ามาจากโรคตับหรือไม่

ให้ลองใช้มือคลำ หากพบลักษณะเป็นก้อนแข็ง ร่วมกับ อาการตาเหลือง ตัวเหลืองด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับอักเสบ

2.ปวดท้องด้านขวาบริเวณใต้ซี่โครง ซึ่งมักจะร่วมกับอาการเสียดท้องและจุก สาเหตุมาจากความผิดปกติที่บริเวณลำไส้เล็ก

เนื่องจากได้รับตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้เล็กถูกขัดขวางไม่ให้ดูดซึมอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากมาจาก “อาการแพ้โปรตีนกลูเตน”

จะทำให้รู้สึกปวดท้อง หากเป็นเรื้อรัง จะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย ลุกลามกลายเป็นอาการลำไส้เล็กอักเสบตามมาได้

3.ปวดท้องด้านขวาบริเวณบั้นเอวด้านขวา จะเป็นอาการปวดที่อยู่ส่วนกลางท้องด้านขวา อาการปวดที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ จะมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย

เสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือเนื้องอกในลำไส้ใหญ่กรณีคลำพบก้อนเนื้อ

แต่อาการปวดบั้นเอว ร้าวลงไปถึงส่วนของต้นขา มีไข้ และหนาวสั่นร่วมด้วย เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในท่อไต

4.ปวดท้องน้อยด้านขวาและเกร็งเป็นระยะ กรณีอาการปวดเช่นนี้ร่วมกับภาวะไข้ หนาวสั่น อาจมีตกขาวปริมาณมาก

เป็นสัญญาณอาการปีกมดลูกอักเสบ หรือการทำงานของรังไข่ผิดปกติ

5.อาการปวดท้องด้านขวาตอนตั้งครรภ์ ปกติจะไม่ใช่อาการที่บ่งบอกถึงสัญญาณอันตราย แต่เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

อาการปวดจะเกิดขึ้นแบบเบาๆ ในช่วงที่ตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในมดลูก ดังนั้นจึงเป็นอาการปวดที่มักจะอยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เท่านั้น

แต่หากมีอาการผิดปกติอื่นใดนอกจากนี้ร่วมด้วย ก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

การแบ่งช่องท้อง เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคปวดท้อง

ตามมาตรฐานแล้ว การแบ่งพื้นที่บริเวณช่องท้อง จะแบ่งออกเป็น 7 ส่วนด้วยกัน โดยมีตำแหน่งสะดือเป็นจุดศูนย์กลาง ดังนั้นจะแบ่งบริเวณช่องท้องออกเป็น

  • ช่องท้องด้านซ้ายบน
  • ช่องท้องด้านซ้ายล่าง
  • ช่องท้องด้านขวาบน
  • ช่องท้องด้านขวาล่าง
  • ช่องท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่
  • ช่องท้องบริเวณรอบสะดือ
  • ช่องท้องบริเวณเหนือกระดูกหัวหน่าว

ทั้ง 7 ตำแหน่งนี้ล้วนเป็นพื้นที่ส่วนประกอบของอวัยวะภายใน ดังนั้น อาการปวดท้องด้านขวา จึงเกิดขึ้นมาจากได้หลายสาเหตุ

ซึ่งหากเป็นอาการไม่รุนแรง หายไปได้เองในระยะเวลาสั้นๆ ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์

ซึ่งที่มักจะพบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด เป็นไข้ซึ่งมาจากการอักเสบ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นเลือด คลำพบก้อนเนื้อ มีอาการเกี่ยวกับปัสสาวะคัด ฯลฯ

การรักษาจึงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการ แนวทางในการรักษา กรณีไม่รุนแรง

อาจจะพักผ่อน และกินยาแก้ปวดธรรมดา ก็สามารถหายไปเองได้  แต่บางอาการรุนแรงจะใช้วิธีประคับประคอง ร่วมกับการรักษาต้นตอที่ทำให้เกิดอาการปวด

ปวดท้องข้างขวาล่าง

Photo Credit : stopdrinkingexpert.com

จะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องข้างขวา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การรักษาจึงต้องได้รับการวินิจฉัยให้เกิดความแน่ใจก่อน

ซึ่งตามปกติ อาการปวดก็มักจะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปอยู่แล้ว เนื่องจากความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด

แต่หากอาการปวดมีความรุนแรง มีอาการอื่นร่วมด้วยเหมือนอาการที่กล่าวไปข้างต้น ทางที่ดีสาวๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุดจะดีกว่าค่ะ