พังผืดมดลูก อาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุ และวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

มดลูก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ หากไม่มีมดลูก ผู้หญิงเราก็ย่อมไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้

แต่ขณะเดียวกัน มดลูกก็มาพร้อมปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านโรค หรืออาการที่เกิดขึ้นกับมดลูก ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง เนื้องอก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ พังผืดมดลูก ฯลฯ วันนี้เราจะพูดถึงพังผืดมดลูก

มาดูกันนะคะว่า พังผืดมดลูกคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง บทความนี้เราคัดสรรคำตอบมาฝากสาวๆ แล้วค่ะ

มดลูก คืออะไร?

มดลูก (Uterus) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิงที่มีไว้สำหรับการตั้งครรภ์ สามารถขยายตัวได้มากตามความเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

และจะหดตัวกลับคืนสู่สภาพปกติภายหลังจากการคลอดแล้ว มดลูกมีลักษณะคล้ายกับลูกฝรั่งของไทยหรือลูกแพร์ของฝรั่ง

มีขนาดโดยปกติยาวประมาณ 3 นิ้ว เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน มีส่วนประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วนคือ

1.ตัวมดลูก : เป็นบริเวณส่วนใหญ่และเป็นที่สำหรับให้ทารกเจริญเติบโต ภายในตัวมดลูกก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์หรือการตกไข่

ผนังมดลูกจะขยายตัวเพื่อเตรียมที่จะรับไข่ที่ผสมแล้ว แต่หากไข่ไม่ได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิ ผนังมดลูกจะค่อยๆ เสื่อมลง

และมีการบีบตัวเพื่อขับสิ่งต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาทิ้งไปพร้อมทั้งมีการตกเลือดที่เรียกว่า ประจำเดือน ซึ่งการมีประจำเดือน

เป็นการทำความสะอาดภายในมดลูก ความสกปรกต่างๆ ทั้งหลายจะถูกชะออกมา แต่หากไม่รักษาความสะอาดให้ดีก็อาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย

2.ปากมดลูก : เป็นส่วนปลายแคบๆ และสั้น อยู่ทางด้านล่างติดต่อกับช่องคลอด เป็นที่สำหรับให้เชื้ออสุจิผ่านเข้าสู่มดลูก

หากปากมดลูกเกิดผิดปกติ จะส่งผลให้เชื้ออสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้(ภาวะมีบุตรยาก)

3.ปีกมดลูก : เป็นส่วนบน มีลักษณะเป็นท่อแคบๆ และยาว อยู่ข้างละอันคล้ายกับเขาควาย ตรงปลายเปิดเป็นช่องบานออก

เหมือนกับปากแตรสำหรับรับไข่จากรังไข่ และเป็นทางผ่านของไข่ไปสู่ตัวมดลูก

มดลูกเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์หรือดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ซึ่งหากสูญเสียมดลูก

จะยังคงมีฮอร์โมนเพศหญิงตามปกติ แต่ร่างกายจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก หรือหากเป็นพังพืดมดลูก ก็อาจทำให้มีบุตรได้ยาก

พังผืด คืออะไร? 

พังผืด คือ เนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ จากเดิมที่ควรอยู่ห่างหรือแยกจากกัน กลับขยับยึดเข้ามาติดกัน

โดยพังผืดจะเปรียบเสมือนกาวที่ยึดอวัยวะให้ติดกันนั่นเอง และเมื่อร่างกายเกิดการบาดเจ็บ อักเสบ หรือเกิดการระคายเคือง

ธรรมชาติของร่างกายจะมีกลไก ซึ่งคอยทำหน้าที่ในการปกป้องและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอด้วยตัวเอง

โดยจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา และเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมานั้นก็จะมีลักษณะที่เป็นเส้นใยเหนียวๆ

โดยคอยเหนี่ยวรั้งอวัยวะต่างๆ ให้ชิดติดกัน เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งยึดติดกันลักษณะนี้ จึงเรียกกันว่า “พังผืด” นั่นเอง

พังผืดมดลูก มีลักษณะเป็นอย่างไร?

โดยปกติโพรงมดลูกจะเป็นโพรงที่ปิด (Potential space) โดยจะมีการขยายตัวเปิดออกเมื่อตั้งครรภ์ ซึ่งมดลูกมีการยืดขยายมาก

(ประมาณ 11 เท่าของก่อนตั้งครรภ์) และจะลดขนาดลงในทันทีที่เด็กและรกคลอดออกมา และการมีก้อนเนื้อมาอยู่ในโพรงมดลูก

เช่น เนื้องอกมดลูก หรือมีเลือดคั่ง/เลือดตกค้างในโพรงมดลูก อย่างเช่น เลือดประจำเดือน ซึ่งการใช้ผ้าอนามัยเพื่อป้องกันเวลามีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ดี

แต่ควรรีบเปลี่ยนและทำความสะอาดทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ ซึ่งควรเปลี่ยนทุก 3-4 ชั่วโมง หรือหากประจำเดือนมามากเป็นพิเศษ

ก็อาจต้องเปลี่ยนเร็วขึ้น หรือเปลี่ยนทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ เนื่องจากประจำเดือนที่ตกผ่านมาตามช่องคลอด

จะถูกผ้าอนามัยกั้นเอาไว้ ส่งผลให้ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปทางปีกมดลูกเข้าสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกาย

สร้างเส้นใยมาคลุมอยู่ภายนอก ทำให้มดลูกถูกพอกด้วยเส้นใยเหล่านี้และหนาตัวขึ้นเรียกว่า ไฟบรอยด์ (Fibroid) หรือก้อนเนื้อ

ส่งผลให้มดลูกขยายตัวไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งได้ง่าย แต่หากไม่มีสิ่งเหล่านี้เยื่อบุโพรงมดลูกจะแฟบเข้าหากัน

ในกรณีที่มีพังผืด หรือมีภาวะพังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae) จะทำให้โพรงมดลูก 2 ด้านมายึดติดกัน

โพรงมดลูกจะขยายตัวไม่ได้ หรือขยายตัวได้ไม่ดี ส่งผลต่อการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์

ซึ่งภาวะพังผืดในโพรงมดลูกสามารถเรียกได้หลายชื่อคือ Uterine synechiae หรือ Asherman syndrome หรือ Intrauterine adhesions

สาเหตุของการเกิดพังผืดในโพรงมดลูก

การขูดโพรงมดลูก หรือการขูดมดลูก

ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก มักเกิดขึ้นจากการขูดมดลูกหลังคลอดบุตร เนื่องจากมีเศษรกค้างหลังคลอด

หรือการขูดเพื่อรักษาการแท้งไม่ครบ (Incomplete abortion) หรือการชักนำให้แท้งเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ (Induced abortion)

หรือเพื่อช่วยวินิจฉัยในกรณีที่มีเลือกออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ซึ่งหากมี การขูดมดลูกอย่างรุนแรง หรือขูดลึกมากเกินไป

จนไปทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกชั้นที่อยู่ลึก (Basal layer) หรือขูดลึกเข้าไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก (Myometrium)

จนทำให้มดลูกไม่สามารถสร้างเสริมเยื่อบุโพรงมดลูกชั้น Functional layer ที่หลุดลอกออกเป็นเลือดประจำเดือนในแต่ละรอบเดือนขึ้นมาทดแทน

แต่จะเกิดเป็นพังผืดในโพรงมดลูกจากกลไกการซ่อมแซมเยื่อบุโพรงมดลูก/ผนังมดลูกบริเวณที่เกิดเป็นบาดแผลจนเกิดเป็นพังผืดขึ้นมาแทน

ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนขาด หรือมีอาการปวดมากขณะมีประจำเดือน เกิดภาวะมีบุตรยาก

หรืออาจเกิดการแท้งบุตรขึ้นในอนาคต และยิ่งหากได้รับการขูดมดลูกหลายครั้ง ก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดภาวะพังผืดในโพรงมดลูก

การติดเชื้อในโพรงมดลูก

เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อ ที่มักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อบุโพรงมดลูก

ซึ่งโดยส่วนมากเป็นการติดเชื้อโรคที่อยู่ในช่องคลอด หรือที่ปากมดลูกที่ลุกลามขึ้นไปในโพรงมดลูก

การติดเชื้อในอุ้มเชิงกราน/อุ้มเชิงกรานอักเสบ คือการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงส่วนบน

คือตั้งแต่ภายในโพรงมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และการติดเชื้อวัณโรคในเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการของภาวะพังผืดในโพรงมดลูก

ในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีพังผืดเพียงเล็กน้อย

และบางรายอาจมีพังผืดมากจนปิดโพรงมดลูก ซึ่งอาการที่พบได้หากมีภาวะพังผืดในโพรงมดลูก

อาการปวดประจำเดือน : หากมีพังผืดมากจนเกิดการอุดตันของช่องทางไหลออกของประจำเดือน

หรือทำให้ประจำเดือนไหลไม่สะดวก แต่หากพังผืดอุดตันโพรงมดลูก จะทำให้ไม่มีประจำเดือน และไม่มีอาการปวดท้อง

แต่หากพบว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นมาก จนถึงกับไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ อาจเป็นได้ว่ามีเนื้องอกในมดลูก

ประจำเดือนออกน้อย หรือออกกะปริดกะปรอย (เลือดออกน้อย เป็นๆ หายๆ) : หากยังพอมีเยื่อบุโพรงมดลูก (เนื้อเยื่อชั้นในสุดของผนังมดลูก

เป็นเนื้อเยื่อเมือกที่บุด้านในโดยรอบโพรงมดลูก) หลงเหลืออยู่ที่พอจะทำงานได้ และ/หรือยังเหลือช่องทางออกของประจำเดือนได้บ้าง

ทำให้มีบุตรยาก และทำให้เกิดการแท้งซ้ำซาก/การแทงซ้ำ (Recurrent miscarriage) : หากมีพังผืดเกิดขึ้น จะส่งผลให้รกเกาะตัวที่โพรงมดลูกได้ไม่ดี

วิธีรักษาภาวะพังผืดในโพรงมดลูก

ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะพังผืดในโพรงมดลูกที่ต้องการมีบุตรหรือมีอาการปวดประจำเดือนมาก

แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาโดยใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopic resection) เพื่อทำการผ่าตัดพังผืดมดลูก

หลังจากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาฮอร์โมนเพศ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูก

โดยบางครั้งอาจใส่ห่วงยางอนามัย หรือใส่กระเปาะสายสวนปัสสาวะค้างไว้ในโพรงมดลูกเป็นระยะเวลา 3 เดือน

หลังทำการผ่าตัด เพื่อช่วยในการขยายโพรงมดลูก หรือบางครั้งอาจมีการใส่สารหรือแผ่นฟิล์ม

ไปเคลือบในโพรงมดลูกหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันการกลับมายึดติดกัน และ/หรือเกิดพังผืดของผนังโพรงมดลูกอีก

พังผืดมดลูก สาเหตุ

Credit : bangkokhospital.com

พังผืดมดลูก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมนำปัญหาต่างๆ มาสู่ร่างกาย โดยหลักๆ จะส่งผลทำให้เกิดการแท้งบุตรซ้ำซาก และทำให้มีบุตรยาก

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องเสี่ยงเกิดภาวะพังผืดในโพรงมดลูก ควรหลีกเลี่ยงการขูดมดลูก แต่หากจำเป็นต้องทำการขูดมดลูก

ต้องไม่ขูดมดลูกจนลึกเกินไป และหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อในโพรงมดลูก และ เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

เช่นจาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นพังผืดมดลูกได้เป็นอย่างดี