เหนื่อยง่ายผิดปกติ เสี่ยงภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภัยเงียบที่ควรรีบรักษาก่อนสาย !

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน อาการ

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและมักจะกลายเป็นปัญหาชีวิต คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบไทรอยด์

นอกเหนือจากโรคไทรอยด์เป็นพิษที่เรามักจะเห็นกันได้บ่อยแล้ว ยังมี ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือ โรคพร่องไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์จะมีการทำงานน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย

ตามมาด้วยอาการไม่สบายต่างๆ ซึ่งด้วยภาวะนี้ เป็นผลกระทบในระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานในการรักษา

ลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า เราจะสามารถแก้ไขโรคนี้ให้หายและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ โดยที่โรคจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่

ทำความเข้าใจกับภาวะพร่องไทรอยด์

ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลง จนทำให้เกิดการพร่อง เราเรียกกันว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)

ทำให้ร่างกายเกิดการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนที่ส่งมาจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบของต่อมไร้ท่อ

อยู่ด้านหน้าของลำคอ ต่อจากลูกกระเดือกและกระดูกอ่อนไทรอยด์ รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อสองกลีบใหญ่

เชื่อมต่อกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus)

การเกิดภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ในทางการแพทย์รู้จักกันในชื่อว่า ภาวะไฮโปไทรอยด์ดิซึม

มีต้นตอมาจากการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้มากพอเท่ากับความต้องการของร่างกาย

จากความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ นำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติในส่วนอื่นของร่างายด้วย

โดยลักษณะที่พบของผู้ป่วยคือร่างกายจะมีการทำงานได้ช้าลง เกิดความรู้สึกไม่สบาย เจ็บป่วย

โดยจะมีอาการตรงข้ามกับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป แม้จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก

แต่หากเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติสุข และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา

สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

สาเหตุของภาวะนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอนั้น

อาจจะมาจากการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนหรือทั้งหมดออกไป การได้รับสารรังสีไอโอดีนเพื่อรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ

บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมาจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบภายในร่างกาย

ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการจากต่อมใต้สมองผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์หลั่งออกมาได้เพียงพอ

การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคคอพอกเป็นพิษหรือต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง ก็ล้วนทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

อาการของผู้ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

ส่วนใหญ่โรคนี้จะพบได้ในหญิงวัยกลางคน อาการที่พบจึงเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ระยะเวลาหลายเดือนจนเกือบปี เบื้องต้นจะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขี้เกียจ

เฉื่อยชา ความคิดต่างๆ ทำงานได้ช้า ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ขาดสมาธิ ความจำสั้น

หลงๆ ลืมๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว เกิดอาการท้องผูกบ่อยครั้งเนื่องจากลำไส้บีบตัวได้ช้าลง

มีภาวะอ้วนเข้ามาแทรก แม้จะกินในปริมาณเท่าเดิมก็ตาม มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายทำงานได้ช้าลง

ระบบเผาผลาญจึงลดต่ำ การดึงพลังงานออกมาใช้จึงน้อยตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะรู้สึกหนาวมากกว่าคนปกติ

หูตึง เสียงแหบพร่า ปวดชาที่ปลายมือเนื่องจากเส้นประสาทมือถูกรัดจนแน่น

มีสารมิวโคโพลีแซ็กคาไรด์เข้าไปสะสมอยู่ตามประสาทหู กล่องเสียง และเส้นประสาทที่อยู่ในมือ

บางรายไม่มีความรู้สึกทางเพศเหมือนเดิม ส่วนในผู้หญิงที่มีประจำเดือน อาจจะเกิดภาวะผิดปกติ

ประจำเดือนมามากหรือน้อยเกินไป ถึงขั้นไม่มาเลยก็เป็นได้ หากอาการรุนแรงมากขึ้นโดยไม่ทำการรักษา

ผู้ป่วยจะมีภาวะซึมลงจนทำให้หมดสติ เรียกว่า Myxedema coma

ซึ่งมีสาเหตุมาจากตัวกระตุ้นอย่างอากาศเย็นจัด การบาดเจ็บ และติดเชื้อภายในร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากความพร่องของฮอร์โมนไทรอยด์ อาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ระบบภูมิคุ้มกันลดลงต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หัวใจวาย เป็นหมัน แท้งบุตรได้ง่าย

มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โซเดียมในเลือดต่ำ และมีภาวะโรคจิตได้ในระดับที่เจอการกระตุ้นอย่างรุนแรง

ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

สำหรับผู้ป่วยที่ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ สังเกตตามผิวหนังและผิวหน้าจะมีอาการบวม

ผิวหนังหยาบ แห้งกร้าน ผมบางและหยาบ ผมและขนคิ้วร่วงเป็นกระจุก เมื่อตรวจชีพจรจะพบว่าเต้นช้ากว่า 50 ครั้งต่อนาที

ลิ้นโตจบแน่นปาก มือและเท้าเย็น การรีเฟล็กซ์ของข้อคืนตัวได้ช้ากว่าปกติ ส่วนใหญ่หากพบอาการผิดปกติที่ไม่น่าไว้ใจ

ควรรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาบอย่างเร่งด่วนเพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากโรคใด

ส่วนในรายที่รู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม อย่างภาวะอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

อาจจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ร่วมกับการตรวจพิเศษอื่นๆ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอื่นเพิ่มเติมเกิดขึ้นด้วย ในการรักษาจะมีการให้กินยาฮอร์โมนไทรอยด์ชดเชย

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คืออะไร

Photo Credit : setengahbaya.info

โดยระยะเวลาในการกินจะแตกต่างกัน ในหลายๆ สาเหตุที่พบ ผู้ป่วยอาจจะต้องกินฮอร์โมนไปจนตลอดชีวิต

ในการป้องกันโรคนี้เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถหาต้นตอของการเกิดได้ จึงเป็นไปได้ยากที่จะป้องกันการเกิดโรค

แต่สามารถสังเกตตัวเองจากอาการที่ผิดปกติ หากพบอาการต้องสงสัยควรรีบเข้าพบแพทย์

เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา