มดลูกต่ํา ความผิดปกติที่ผู้หญิงควรรู้จัก อันตรายไม่ไกลตัว !

มดลูกต่ํา รักษาอย่างไร

มดลูกต่ํา (ภาษาอังกฤษ – Pelvic Organ Prolapse) หรือเรียกกันในอีกชื่่อว่า มดลูกหย่อน เป็นภาวะที่มดลูกมีตำแหน่งต่ำลงมากกว่าปกติ ที่จะอยู่ภายในยอดบนของช่องคลอด

และมีปากมดลูกยื่นเข้ามาในช่องคลอด โดยทั่วไปผู้หญิงจะไม่ค่อยรู้ถึงตำแหน่งที่ผิดปกติไปของมดลูกโดยตรง

แต่จะรู้สึกได้จากอาการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรู้สึกเจ็บท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการดังกล่าว จะไม่ได้มาจากการเจ็บของการเสียดสีหรือไม่มีน้ำหล่อลื่น

แต่เจ็บจากการที่มดลูกถูกอวัยวะเพศชายกระแทกเข้าไปโดยตรง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะอักเสบ ที่จะเป็นอันตรายตามมาได้ง่าย เนื่องจากภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลตัวเองและหมั่นสังเกตความผิดปกติ ทางที่ดีลองมาทำความรู้จักกับอาการต่างๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนกันให้มากขึ้นดีกว่าค่ะ

ระดับการหย่อนในภาวะมดลูกต่ํา

ระดับความผิดปกติที่เกิดขึ้น กับผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกต่ํา ส่วนมากจะพบได้ในกลุ่มที่เป็นหญิงวัยกลางคนหรือหญิงสูงอายุ

เมื่อมดลูกอยู่ในตำแหน่งที่่ต่ำกว่าปกติจากยอดช่องตลอด การลดต่ำลงมาจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ

1.การเคลื่อนของมดลูกลงมา ในตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความลึกช่องคลอด

2.การเคลื่อนของมดลูกลงมาในตำแหน่งที่ปากมดลูก ยื่นถึงเยื่อพรมจรรย์ที่ปากช่องคลอด

3.การเคลื่อนของมดลูกลงมาในตำแหน่งที่ปากมดลูก ยื่นพ้นเยื่อพรมจรรย์ที่ปากช่องคลอด

4.การเคลื่อนของมดลูกลงมาในตำแหน่งที่ปากมดลูก พ้นปากช่องคลอดออกมา

เราจึงกล่าวได้ว่า ภาวะมดลูกต่ํา คือการที่มดลูกเคลื่อนตัวลงมาจากช่องคลอด หรือเรียกว่าการหย่อนตัวของผนังช่องคลอด

โดยอาจพบได้ตั้งแต่กำเนิดหรือการหย่อนของกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกราน ซึ่งทำหน้าที่ในการพยุงตัวของมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

เมื่อเกิดการหย่อนตัว ก็จะทำให้มดลูกหลุดลงมาอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิมนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการหย่อนตัวของอุ้งเชิงกราน

เนื่องจาก อุ้งเชิงกราน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะมดลูกต่ํา สาเหตุที่ทำให้เกิดการหย่อนของอุ้งเชิงกราน

สามารถเกิดขึ้นได้จากในกลุ่มผู้หญิงที่เคยมีบุตรมาแล้วหลายคน หรือคนที่ใช้วิธีการผ่าคลอด

เพราะการคลอดบุตรแต่ละครั้งจะทำให้กล้ามเนื้อและส่วนของเนื้อเยื่อต่างๆ ขยายตัว การมีอายุที่มากขึ้น ทำให้อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง มีการเสื่อมสภาพลงไปตามเวลา

แม้กระทั่งในรายที่เคยมีเพศสัมพันธ์มากๆ ทำให้ช่องคลอดใช้งานหนัก ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน

อาการ มดลูกต่ํา มีอาการอย่างไรบ้าง ?

สาวๆ สามารถสังเกตอาการมดลูกต่ําของตัวเองได้ จากความผิดปกติที่รู้สึกภายในช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นการรู้สึกคับแน่นหรือบวมในช่องคลอด

ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ละครั้งกระปริดกระปรอยมีปัสสาวะคั่งค้างหรือกั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่ใช่รอบเดือน

สาเหตุเพราะการเสียดสีจากภายใน มีระบบขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก ท้องอืด อุจจาระลำบาก มีอาการตกขาวคล้ายหนองปนเลือด รู้สึกหน่วงๆ ที่ปากช่องคลอด

เหมือนมีอะไรอยู่บริเวณนั้น ปวดหลังขณะยืนทำงาน แต่อาการจะหายไปเมื่อได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ

บางรายที่มีปัญหามดลูกต่ํามานาน อาจจะพบก้อนยื่นออกมาจากช่องคลอด ซึ่งก็คือส่วนของมดลูกที่ยื่นตัวออกมานั่นเอง

การรักษาภาวะมดลูกต่ําทำได้อย่างไร ?

การรักษาภาวะมดลูกต่ํา แพทย์จะใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไป

ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และระยะที่เป็นว่านานแค่ไหนแล้ว หากมีอาการไม่มากนัก

สังเกตได้ว่าผู้ป่วยเริ่มมีปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม สามารถใช้วิธีบำบัดด้วยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยวิธี “ขมิบ”

ในลักษณะเดียวกันกับที่เรากลั้นอุจจาระ ทำค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที / ครั้ง

แล้วปล่อยให้ผ่อนคลายประมาณ 3 วินาที จากนั้นก็ทำการขมิบใหม่  เซตละ 10 ครั้ง

อย่างน้อยวันละ 10 เซต ซึ่งจะรวมการขมิบได้ 100 ครั้งต่อวัน สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งขณะที่นอนอยู่เฉยๆ

ส่วนในรายที่เป็นมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดหรือที่เรียกกันว่า การทำรีแพร์ เป็นการแก้ไขหากมีภาวะมดลูกต่ําอย่างรุนแรง

การทำรีแพร์จำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยอื่นของผู้ป่วยร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นอายุ ความต้องการมีบุตร หรือแม้กระทั่งลักษณะความสัมพันธ์ทางเพศ

และอีกทางเลือกคือการใช้ยาสมุนไพรว่านชักมดลูก ที่จะต้องเลือกซื้อให้ถูกต้อง เป็นยาที่มีคุณภาพ จึงจะช่วยให้การรักษาได้ผลที่ดีตามมาได้

มดลูกต่ํา ภาษาอังกฤษ
Photo Credit : themenopauseguru.co.uk

ภาวะมดลูกต่ํา เป็นสิ่งที่พบได้ในผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุไหนก็เกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ดังนั้นสาวๆ จึงควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง

หากรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในช่องคลอด ก็ควรเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพภายใน ส่วนการป้องกันภาวะดังกล่าว การขมิบอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้มากเลยทีเดียวค่ะ