มะเร็งเส้นประสาท ฟังดูแล้วอาจไม่คุ้นหูคนไทยมากนัก เพราะเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่เมื่อเป็นแล้วก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
โดยเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีข่าวเกี่ยวกับคนไทยที่เป็น โรคมะเร็งเส้นประสาท และมีอาการที่รุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด
ทำให้คนไทยเริ่มตระหนักถึงโรคมะเร็งเส้นประสาทกันมากขึ้น เราเลยจะพาคุณไปทำความรู้จักโรคนี้กัน
โรคมะเร็งเส้นประสาทคืออะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
โรคมะเร็งเส้นประสาท คืออะไร?
โรคมะเร็งเส้นประสาท เป็นชื่อโรคที่เรียกรวมๆ โดยกล่าวถึงเนื้องอกมะเร็งที่เกิดขึ้นจากระบบประสาท โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะหมายถึง 2 กลุ่มโรค ดังนี้
- Neurogenic Tumor
- Neuroendocrine Malignancy
ซึ่งแต่ละโรคก็จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ตามรายละเอียดของมะเร็งเส้นประสาททั้ง 2 ชนิด
อย่างไรก็ตาม มะเร็งเส้นประสาททั้ง 2 ชนิดนี้ ยังพบได้ไม่มากในประเทศไทย รวมถึงจำนวนผู้ป่วยก็ยังมีจำนวนไม่แน่ชัดนัก
กลุ่มโรค Neurogenic Tumor
มะเร็งเส้นประสาทชนิด neurogenic tumor เป็นมะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่มีความผิดปกติ
มักจะเกิดขึ้นบริเวณด้านหลังของทรวงอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกหน้าอก (mediastinum) มักพบ neurogenic tumor ในผู้ป่วยที่อายุไม่มาก โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปี
อาการของ Neurogenic Tumors
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีเนื้องอกปรากฏขึ้น อาจยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ได้ ในบางรายแพทย์อาจพบว่า
ผู้ป่วยมีเนื้องอก neurogenic tumors โดยบังเอิญจากการทำ MRI หรือทำ CT scan เพื่อวินิจฉัยโรคอื่น ๆ
แต่ในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำให้เกิดการกดทับเนื้อเยื่อข้าง ๆ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ไอ
- ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
- รู้สึกปวดในทรวงอกหรือรู้สึกแน่น ๆ ในทรวงอก
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- เสียงแหบ
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ
- เหนื่อยง่าย ออกแรงไม่ได้เหมือนเดิม เมื่อยล้า
- มีปัญหาในการเดิน
กลุ่มโรค Neuroendocrine Tumors
มะเร็งเส้นประสาทชนิด neuroendocrine malignancy เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากการเจริญอย่างผิดปกติของเนื้อเยื่อประสาท
เช่นเดียวกันกับ neurogenic tumors แต่ในกรณีของ neuroendocrine malignancy จะเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อประสาท
ที่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ โดยมักจะพบมะเร็งเส้นประสาทชนิดนี้ได้ที่หลังทรวงอก ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
ประเภทของมะเร็งเส้นประสาท neuroendocrine tumors
มะเร็งเส้นประสาท neuroendocrine tumors สามารถเรียกชื่อได้แตกต่างกัน ตามตำแหน่งที่เกิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง
1.Pheochromocytoma
เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนอดรีนาลีน (adrenaline) ซึ่งจะมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ
ถ้ามีการปลดปล่อยสารอดรีนาลีนมากเกินไป ก็จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมถึงผลอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิต ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตสูง
- การโจมตีความวิตกกังวล
- ไข้
- อาการปวดหัว
- การขับเหงื่อ
- ความเกลียดชัง
- อาเจียน
- ผิวคลุกเคล้า
- ชีพจรรวดเร็ว
- หัวใจวาย
2.Merkel cell cancer
เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยาก โดยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง มักจะอยู่ภายใต้ผิวหนังหรือภายในรากผมหรือขน
ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณผิวหนังส่วนศีรษะและคอ ผู้ป่วยมักมีตุ่มนูนปรากฏบนผิวหนัง มักไม่เจ็บ อาจมีสีแดง ชมพู หรือสีน้ำเงินก็ได้
3.Neuroendocrine carcinoma
เป็นการเรียกรวม ๆ ของมะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อประสาท และสามารถผลิตฮอร์โมนได้ ที่นอกเหนือจากต่อมหมวกไตและ Merkel cell cancer
ซึ่งเนื้องอกชนิด neuroendocrine maglinancy กว่า 60% จัดอยู่ใน neuroendocrine carcinoma อาการโดยส่วนใหญ่ มีดังต่อไปนี้
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ทำให้ผู้ป่วยอาจปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ รวมถึงอาการหิวบ่อย
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ทำให้เกิดความเมื่อยล้า หงุดหงิด เวียนศีรษะ ปวดหัว เหงื่อออกมาก เป็นลม และอาจหมดสติ
- โรคท้องร่วง
- ปวดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายอย่างเรื้อรัง
- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ความอยากอาหารลดลง
- มีอาการไอหรือเสียงแหบเรื้อรัง
- คลำพบก้อนหนาในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- ระบบขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระทำงานผิดปกติ
- มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
- มีเลือดออกผิดปกติ
- มีไข้หรือเหงื่อออกตอนกลางคืน
การวินิจฉัยมะเร็งเส้นประสาททั้ง neurogenic tumors และ neuroendocrine malignancy
แพทย์จะการตรวจร่างกายและประเมินประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เพื่อรวบรวมข้อมูลโรคในอดีตและอาการ หรือความผิดปกติที่เคยเกิดขึ้น
รวมถึง การทำเอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งอาจใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการเอกซเรย์ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ซึ่งทำให้ได้ภาพของอวัยวะภายใน และสามารถเห็นตำแหน่ง ของเนื้องอกมะเร็งเส้นประสาทได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
วิธีรักษามะเร็งเส้นประสาท
สำหรับวิธีรักษามะเร็งเส้นประสาททั้งชนิด neurogenic tumors และ neuroendocrine malignancy สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับตำแหน่งและชนิดของเนื้องอกที่ผู้ป่วยเป็น
1.การผ่าตัด เป้าหมายของการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอกออกให้ได้มากที่สุด การผ่าตัดเนื้องอกบางชนิดอาจใช้การส่องกล้อง
เช่น การผ่าตัดเนื้องอก pheochromocytoma ซึ่งจะลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด ลดอาการแทรกซ้อน
และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากตำแหน่งของเนื้องอก
หรือสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย แพทย์ก็อาจจะแนะนำวิธีรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมแทน
อาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ได้แก่ การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด แผลไม่ติด อาการปวด เป็นต้น
ซึ่งเป็นอาการที่สามารถจัดการและป้องกันได้ เช่น การรักษาความสะอาดบริเวณแผล และการใช้ยาแก้ปวด
2.การฉายรังสี เป็นการใช้รังสียับยั้งเซลล์มะเร็ง แพทย์มักแนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษามะเร็งเส้นประสาท
ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งเป็นบริเวณกว้าง หรือไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้
การรักษาด้วยการฉายรังสี มีทั้งชนิดที่ใช้การฉายรังสีจากภายนอกร่างกาย (external-beam radiation)
และการฝังสารรังสีไว้ในร่างกาย (internal radiation หรือ brachytherapy) ซึ่งการฉายรังสีนั้นอาจต้องทำหลายครั้ง
โดยแต่ละครั้งจะห่างกันตามความเหมาะสม บางครั้งการฉายรังสีอาจเป็นการรักษาเสริม (adjuvant therapy)
เช่น ในกรณีของ Merkel cancer cell ในระดับที่หนึ่งและสอง (stage I และ II) จะใช้การฉายรังสีหลังจากการผ่าตัด เพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลือให้หมดไป
อาการข้างเคียงจากการฉายรังสี ได้แก่ เหนื่อยล้า ผื่นหรือปฏิกิริยาที่ผิวหนัง ปวดท้อง การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ซึ่งมักจะหายไปหลังจากการฉายรังสีไปสักระยะ
3.การใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) การใช้ยาเคมีบำบัดจะเป็นการหยุดยั้งการเจริญเติบโต
และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง มักจะให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือด และยาก็จะกระจายไปทั่วร่างกาย
และเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งในที่สุด โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพ
ในการฆ่าเซลล์มะเร็งสูงที่สุด ซึ่งยาแต่ละสูตรก็จะมีอาการข้างเคียงและข้อควรระมัดระวังที่แตกต่างกันออกไป
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดของยาเคมีบำบัด ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสามารถป้องกันได้
โดยการให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้อาเจียนก่อนการให้ยาเคมีบำบัด อาการผมร่วง ท้องเสีย ความอยากอาหารลดลง หรือเกิดแผลในปาก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยาเคมีบำบัดยังทำให้ระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัด ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
วิธีป้องกันโรคมะเร็งเส้นประสาท
ปัจจุบันสาเหตุของการเกิดมะเร็งเส้นประสาททั้ง neurogenic tumors และ neuroendocrine malignancy ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่การรักษาความสมบูรณ์ของร่างกาย การออกกำลังกาย และการหมั่นตรวจสอบความผิดปกติของร่างกายจากที่เคยเป็น
ก็จะช่วยให้ลดความรุนแรงของโรคได้ ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อพบความผิดปกติของสุขภาพ
ก็ย่อมตรวจหาโรคได้อย่างทันการณ์ ซึ่งจะทำให้การรักษาโรคให้หายเร็วเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
Credit : nyneurologists.com
มะเร็งเส้นประสาท หรือมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อหรือเซลล์ประสาท อาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
คือ neurogenic tumors และ neuroendocrine malignancy ซึ่งแต่ละชนิดก็จะตำแหน่งที่เกิด อาการ และความรุนแรงแตกต่างกัน
ส่วนใหญ่เมื่อมีอาการแสดงออกมาแล้วมักจะมีความรุนแรง ซึ่งการรักษาโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถทำได้โดยการผ่าตัด การฉายรังสี
และการใช้ยาเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับรักษาด้วยวิธีการใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคที่ผู้ป่วยเป็น รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์