วิกฤตวัยกลางคน ความไม่มั่นคงในการใช้ชีวิตของคนวัย 40-60 ที่ต้องรับมือ

วิกฤตวัยกลางคน เป็นภาวะของผู้ที่มีอายุ 40-60 ปีขึ้นไป ซึ่งถือเป็นช่วงวัยของชีวิตที่มักมีปัญหามากที่สุด ดังนั้น ควรที่จะต้องทำความเข้าใจกับวิกฤตวัยกลางคน

เราไปดูกันดีกว่าว่า วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้หรือไม่ ไปติดตามกันเลย

วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร?

วิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis) คือ ภาวะที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40-60 ปีเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องทางจิต

เนื่องจากเกิดความกังวล เสียดาย เครียด และยังสามารถส่งผลทำให้เป็นภาวะซึมเศร้าได้

สาเหตุของวิกฤตวัยกลางคน

สำหรับสาเหตุของวิกฤตวัยกลางคนนั้น มักจะเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นได้จากสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการกระตุ้นภาวะวิกฤตวัยกลางคน ดังนี้

1.เป้าหมายในชีวิต

หลายคนมักจะมีการวางแผนในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจ หรือการทำอะไรก็ตามโดยตั้งให้เป็นเป้าหมายในชีวิต

แต่เมื่ออยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เป้าหมายในชีวิตที่ตั้งไว้อาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จ ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวล และความเครียดส่งผลต่อการเป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนได้

2.หนี้สิน

หนี้สินถือเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตวัยกลางคน โดยหนี้สินที่เกิดขึ้นสามารถที่จะมาได้ทางจากบัตรเครดิต

รายการกู้ยืมจากที่ต่างๆ แต่ยังไม่สามารถที่จะจัดการใช้คืนได้หมดอย่างที่ต้องการ จึงส่งผลต่อความเครียด เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่ใกล้เกษียณงาน

3.หน้าที่การงาน

เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี เป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคน ซึ่งต้องบอกเลยว่าบางคนเมื่ออายุขึ้นเลข 4

ความกังวลในหน้าที่การงานมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าโดยปกติ เพราะเนื่องจากกลัวจะมีความเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงาน

โดยอาจจะถูกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิม หรือสำหรับบางรายก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการตกงาน จึงส่งผลต่อความเครียด

4.ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ถึงแม้ว่าจะเป็นปัจจัยที่อยู่ใกล้ชิดมากที่สุด แต่ก็สามารถส่งผลได้รุนแรงมากที่สุดเช่นเดียวกัน

เพราะสำหรับบางรายอาจจะมีการแต่งงาน แต่เมื่ออยู่ในช่วงภาวะวิกฤตวัยกลางคนก็อาจจะทำให้เบื่อคนรัก จนต้องการที่จะเลิกหรือแยกทางกัน

หรือสำหรับบางคนนั้นก็อาจจะอยากมีความอิสระในความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น หรือจะเรียกได้ว่าอยากที่จะอยู่เป็นโสด

5.การสูญเสีย

โดยในช่วงจังหวะอายุ 40-60 ปี เป็นช่วงที่พบเจอกับความสูญเสียได้มากที่สุด อย่างเช่น การสูญเสียพ่อแม่ การสูญเสียคนในครอบครัว

หรือแม้แต่การสูญเสียเพื่อน จึงเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบ โดยทำให้เกิดการกระตุ้นจนกลายเป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนตามมาได้

6.ความเปลี่ยนแปลงจากระบบร่างกาย

เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ระบบต่างๆ ภายในร่างกายจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง

ทำให้ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายไม่สามารถที่จะควบคุมได้เหมือนปกติ จึงทำให้เกิดความเครียดความกังวลได้อยู่ตลอด

อาการของภาวะวิกฤตวัยกลางคน

สำหรับภาวะวิกฤตวัยกลางคนอาการที่แสดงออก มักไม่ใช่อาการที่แสดงออกผ่านทางร่างกาย แต่เป็นการแสดงออกทางด้านอารมณ์เป็นส่วนใหญ่

จึงทำให้ผู้ที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนมีเพียงแค่ตัวผู้ป่วยเท่านั้นหรือผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะวิกฤตวัยกลางคนที่จะรับรู้ได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาการที่ว่า มีดังนี้

  • เบื่อกับสิ่งที่เคยสนใจ
  • ต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ
  • โกรธและหงุดหงิดกับคู่ของตน ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม
  • ไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ต่อไปอีกได้
  • สับสนในความสัมพันธ์ว่าจะอยู่ในจุดไหน
  • เสียใจกับสิ่งที่ยังไม่สำเร็จ
  • อยากที่จะย้อนกลับไปเป็นเด็ก
  • อย่าที่จะย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาเก่าๆ
  • ไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่
  • อยากเป็นอิสระ

สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตวัยกลางคน

ภาวะวิกฤตวัยกลางคนสามารถที่จะสังเกตสัญญาณเตือนล่วงหน้าเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมได้ คือ

ต้องการสิ่งแปลกใหม่ : อย่างแรกจะเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งเดิมๆ และจะหันมาให้ความสนใจกับสิ่งแปลกใหม่ที่อาจจะไม่เคยได้ลองทำ

อย่างเช่น การออกไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรือการเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรม

มองคนรักในทางไม่ดี : ผู้ที่เริ่มเข้าภาวะวิกฤตวัยกลางคนมักจะมองว่าควรรักนั้นน่ารำคาญ และมักจะสร้างปัญหาให้กับตัวเองอยู่เสมอ จึงทำให้มองเห็นเพียงแต่ข้อเสียที่เกิดขึ้น

เริ่มมีภาวะซึมเศร้า : ภาวะซึมเศร้ามักไม่ได้เกิดกับทุกคน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในบางคน

โดยอาจจะเริ่มสังเกตได้จากการไม่ตอบสนองต่ออารมณ์รูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และเริ่มที่จะหมดพลังในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต

วิธีรักษาวิกฤตวัยกลางคน

ภาวะวิกฤตวัยกลางคน อาจจะมีระยะเวลา 3-10 ปี ในการเป็นภาวะดังกล่าว ดังนั้น ในการรักษาเพื่อที่จะทำให้วิกฤตวัยกลางคนหายไปนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการทำความเข้าใจของแต่ละคน ดังนี้

1.ยินดีกับสิ่งที่เป็นอยู่

ผู้ที่เป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนควรที่จะรู้สึกยินดี หรือภูมิใจกับชีวิตที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะถือเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ

มีหน้าที่การงาน เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะมีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่ให้ได้มากที่สุด

2.การได้รับคำแนะนำ

การได้รับคำแนะนำจะช่วยให้ผู้ที่เป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนสามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับภาวะวิกฤตนั้นได้

อาจจะปรึกษากับพ่อแม่ นักบำบัด หรือแม้แต่กระทั่งจิตแพทย์เพื่อช่วยให้แนะนำในการใช้ชีวิตต่อไป

3.ก้าวไปข้างหน้า

เมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤตวัยกลางคนส่วนใหญ่อยากย้อนไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ในความเป็นจริงแล้ว การพยายามที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือจะเรียกว่ามองแต่อนาคต

ก็จะช่วยทำให้ผ่านวิกฤตวัยกลางคนไปได้ เพราะจะช่วยลดความเครียด ความกังวล และความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตได้

4.อยู่กับตัวเอง

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนมักจะมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งรอบตัวหรือผู้คนที่อยู่รอบตัว

ดังนั้น การหาเวลาได้อยู่กับตัวเองไม่ว่าจะเป็นการออกไปทำกิจกรรม การไปเที่ยว ก็จะช่วยทำให้ผ่อนคลายได้

5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ถึงแม้จะบอกว่าในภาวะวิกฤตวัยกลางคน การได้ลองทำอะไรใหม่ๆ อาจจะช่วยรักษาได้ แต่ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ที่เป็นภาวะวิกฤตวัยกลางคนได้มากกว่าเดิม เมื่อเมาก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับคนรอบข้าง จึงกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

วิธีป้องกันภาวะวิกฤตวัยกลางคน

ต้องบอกเลยว่าภาวะวิกฤตวัยกลางคนไม่สามารถที่จะป้องกันได้ แต่หากสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะทำให้ภาวะวิกฤตวัยกลางคนที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบจนสร้างปัญหาในการดำเนินชีวิต

Credit : milestoneconsulting.co.th

ภาวะวิกฤตวัยกลางคน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ แต่หากทำความเข้าใจ ภาวะวิกฤตวัยกลางคน

ก็จะไม่สร้างปัญหาให้ในการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน โดยผู้ป่วยควรที่จะเรียนรู้ในการอยู่กับภาวะวิกฤตวัยกลางคนให้ได้มากที่สุด