โรคเชื้อราที่เล็บ เป็นโรคที่มีสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากเชื้อรา “เดอมาโตไฟต์ (Dermatophytes)” ซึ่งเป็นเชื้อรา ที่พบได้ทั่ว ๆ ไปตามพื้นดิน ผิวหนัง และขนของคน และสัตว์ เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่มักก่อให้เกิดความไม่มั่นใจ กับผู้ที่เป็นโรคนี้
โดยมากจะพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นคนที่รับประทานยา จำพวกสเตียรอยด์บ่อย ๆ และกลุ่มคนที่ต้องทำงาน ในที่อับชื้นเป็นประจำ จะมีภาวะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคนี้ค่อนข้างสูง
โรคเชื้อราที่เล็บ มักจะเกิดขึ้นที่เล็บเท้า โดยเฉพาะ ที่นิ้วหัวแม่เท้า มากกว่าที่เล็บมือ เนื่องจาก บริเวณเท้า จะมีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะแก่ การเติบโตของเชื้อรา
อีกทั้ง ยังมีการไหลเวียนของเลือด ไปเลี้ยงบริเวณนิ้วเท้า น้อยกว่านิ้วมือด้วย จึงทำให้มีภูมิคุ้มกัน ที่จะป้องกันการติดเชื้อต่ำกว่า และมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่า
นอกจาก กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ผู้ที่มีเหงื่อออกมากใ นบริเวณมือและเท้า เป็นโรคที่เกี่ยวกับเล็บอยู่แล้ว เช่น
โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ หรือเป็นโรคน้ำกัดเท้า ชอบใส่ถุงเท้า และรองเท้าที่อับชื้น ไม่ซึมซับเหงื่อ ชอบเดินเท้าเปล่า ในสถานที่เปียกแฉะ ในที่สาธารณะ
รวมทั้ง มีบาดแผล หรือการบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเล็บ ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้เป็นโรคนี้ได้มากเช่นกัน
สำหรับอาการของผู้ที่เป็นโรคเชื้อราที่เล็บ
เล็บจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล หรือเป็นสีดำ เนื่องจาก มีเนื้อตายอยู่ภายใต้ผิวหนังของเล็บ เล็บขาดความมันเงา และหนาขึ้น อาจแตกเป็นขุย และมีกลิ่นเหม็น
ในบางราย ที่มีการติดเชื้อมาก ๆ ก็จะทำให้เล็บมีรูปร่างบิดเบี้ยว โค้งงอ หรือมีรอยหยักเป็นลูกคลื่น และอาจมีอาการเจ็บหรือคันได้บ้าง แต่จะพบได้น้อย
Credit Photo: http://www.podiatryassociates.ca
ผู้ที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่ จะเข้ารับการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็ควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำ อย่างเคร่งครัด
โดยในกรณี ที่มีการติดเชื้อไม่มาก แพทย์จะให้ยามาทา เพื่อฆ่าเชื้อ และอาจทำร่วมกับการขูดแต่งเล็บ เพื่อลดปริมาณของเชื้อราลง
ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน หรือมีประวัติการติดเชื้อที่ผิวหนัง แพทย์จะรักษา ด้วยการให้รับประทานยา แต่ในรายที่มีอาการติดเชื้อ ค่อนข้างรุนแรง
แพทย์อาจวินิจฉัยให้ ทำการถอดเล็บออก ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า ที่เล็บจะงอกออกมา จนเท่าเดิม
โรคเชื้อราที่เล็บ เป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาให้หายได้ค่อนข้างช้า จึงควรป้องกันไว้จะดีกว่า ด้วยการพยายามดูแลเล็บให้สั้น แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ
เลือกสวมถุงเท้า ที่ดูดซับเหงื่อได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าอับชื้นจนเกินไป
และในระหว่างวัน ก็ควรจะถอดรองเท้าออกบ้าง เป็นครั้งคราว อย่าเดินเท้าเปล่าออกนอกบ้าน และเมื่อต้องทำงานที่มือหรือเท้า ต้องเปียกน้ำเป็นเวลานาน ๆ
ก็ควรสวมถุงมือยาง หรือรองเท้ายางป้องกันไว้เสมอ และหลีกเลี่ยง การตัดผิวหนังบริเวณที่อยู่รอบ ๆ เล็บ
การใช้ยาทาเล็บ หรือการต่อเล็บ และเมื่อต้องการจะทำเล็บ ก็ควรดูให้มั่นใจก่อนว่า ร้านทำเล็บนั้น ใช้เครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดีแล้ว