แพนิก โรคทางจิตเวช ต้นเหตุบั่นทอนคุณภาพชีวิต

panic แพนิก โรคจิต วิธีรักษา

แพนิก (Panic) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล และมักจะสร้างความทุกข์ทรมาน ให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้ เป็นอย่างมาก เพราะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

เนื่องจาก Panic เป็นอาการตกใจกลัวที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งยังเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมากผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น มีเหงื่อออก มือเท้าชา

หายใจไม่อิ่ม หรือรู้สึกมีก้อนจุกอยู่ที่ลำคอ แน่นหน้าอก เวียนหัว คลื่นไส้ มวนท้อง มีความรู้สึกภายในแปลก ๆ เช่น รู้สึกมึนงงคล้ายจะเป็นลม รู้สึกหวิว และรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย

โดยอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นหลาย ๆ อาการพร้อมกัน จนทำให้ผู้ป่วยเกิดความหวั่นวิตก และไม่กล้าที่จะออก ไปไหนมาไหนคนเดียว หรือไม่กล้าที่จะอยู่ตามลำพัง

เพราะกลัวว่า อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้น จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

[wpsm_video]https://www.youtube.com/watch?v=agRIV2-g5NI[/wpsm_video]

แพนิก เกิดจากอะไร?

แพนิก เป็นกลุ่มอาการทางจิต ที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง รวมทั้ง สภาพแวดล้อมซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น เช่น

ประสบการณ์ ที่กระทบกระเทือนใจในวัยเด็ก และความเครียดเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นสัญญาณหลอก ที่ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมี และฮอร์โมนบางอย่างออกมา ในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการ ดังกล่าวขึ้น

อย่างไรก็ดี แพนิก เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะต้องผสมผสานกัน ระหว่างการใช้ยาเพื่อลดอาการ ควบคุมอาการ ร่วมกับ การรักษาทางจิตสังคม เช่น

การผึกการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด และดูแลตัวเองให้ดี ด้วยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ระบบหัวใจ และปอดทำงานสมดุลขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าอดนอน เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย งดดื่มเครื่องดื่ม ที่มีสารกระตุ้นทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่าง ๆ

รวมทั้ง รู้จักจัดการกับความเครียด ด้วยการฝึกหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ศึกษาธรรมะ พูดคุย หรือระบายปัญหากับคนที่เรารัก และอย่าตื่นตกใจ เมื่อเกิดอาการแพนิก กำเริบขึ้น

panic แพนิก โรคจิต วิธีรักษา

ควรตั้งสติ และนั่งพักเพื่อรอให้อาการสงบ หรือรับประทานยา ตามที่แทพย์ระบุ ก็จะช่วยให้อาการที่เกิดขึ้นค่อย ๆ ทุเลาลงและหายไปได้

ที่สำคัญคือ ผู้ใกล้ชิด จะต้องมีความเข้าใจ อดทน และเป็นกำลังให้กับผู้ป่วยมาก ๆ เพื่อจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ คลายความวิตกกังวล และมีสติ ในการควบคุมอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขในที่สุด