วิธีปรับโภชนาการผู้สูงอายุ เสริมสุขภาพคนสูงวัยให้แข็งแรงด้วยการกินอย่างถูกหลัก

โภชนาการผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญ โดยเรื่องของโภชนาการสามารถเริ่มปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

เพราะถือเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเสื่อมสภาพ

อวัยวะการทำงานต่างๆ ก็เสื่อมสภาพตามไปด้วย อาจทำให้พฤติกรรมการกินอาหารมีผลกระทบตามมา ก่อให้เกิดโรคขาดสารอาหารและเจ็บป่วยได้ในที่สุด

อันเกิดจากสาเหตุ ทุพโภชนาการ นั่นเอง โดยเฉพาะสุขภาพของผู้สูงอายุที่จะต้องใส่ใจดูแลอย่างมากจากคนในครอบครัว

วันนี้เราไปดูวิธีการปรับโภชนาการในผู้สูงอายุอย่างถูกต้องกันดีกว่า เพื่อยืดอายุคนที่คุณรักให้อยู่ยาวนานยิ่งขึ้นด้วยหลักการกินง่ายๆ ดังนี้

ทำไมโภชนาการผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ?

โภชนาการผู้สูงอายุ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้ได้รับสารอาหารหรือวิตามินแร่ธาตุชนิดใดมากจนเกินไป

เพราะหากร่างกายได้รับสารอาหารหรือวิตามินแร่ธาตุมากจนเกินไป ระบบภายในร่างกายของผู้สูงอายุ จะไม่สามารถกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้ด้วยตนเอง

จนทำให้เกิดการตกค้าง และเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกาย ส่งผลต่อการเป็นโรคต่างๆ ตามมา

ข้อควรรู้โภชนาการผู้สูงอายุ

อย่างที่ทราบว่าโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุจะต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคน โดยสามารถทำได้ ดังนี้

ลักษณะของอาหาร : ลักษณะอาหารสำคัญต่อโภชนาการของผู้สูงอายุ โดยควรเลือกทานอาหารที่มีความเหนียว หรือเคี้ยวยากจนเกินไป

เนื่องจากจะส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร แนะนำอาหารที่เคี้ยวง่าย และไม่ย่อยยาก

ความต้องการสารอาหารต่างๆ : ร่างกายของผู้สูงอายุจะมีความต้องการสารอาหารต่างๆ ที่แตกต่างกัน

แต่ควรจะใช้ค่าเฉลี่ยโดยพื้นฐานของความต้องการสารอาหารแต่ละอย่างเป็นหลัก และควรที่จะต้องปรับลดในส่วนของคาร์โบไฮเดรตรวมถึงไขมัน

เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรค อีกทั้งควรที่จะเพิ่มสารอาหารจำพวกโปรตีนร่วมด้วย

เทคนิคปรับโภชนาการผู้สูงอายุจากชีวิตประจำวัน

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ สามารถที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนได้ทีละน้อยจากการรับประทานอาหารหรือการทำพฤติกรรมต่างๆภายในชีวิตประจำวัน ดังนี้

1.เครื่องปรุง

ถึงแม้ว่าเครื่องปรุงจะช่วยสร้างสีสันและสร้างรสชาติให้กับอาหารได้ดี แต่สำหรับผู้สูงอายุควรเลี่ยงทานเครื่องปรุงสำเร็จรูป

อย่างเช่น ผงชูรส โดยสามารถใช้เครื่องปรุงธรรมชาติเพื่อแทนการปรุงด้วยผงชูรสได้ เช่น พริกไทย น้ำมะนาว และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม

2.ปริมาณอาหาร

ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณมากในแต่ละมื้อ เพราะจะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร

เนื่องจากหากระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดีเท่าเดิม ก็จะทำให้การย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น

ดังนั้น การปรับลดปริมาณอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากกลัวว่าผู้สูงอายุจะรับประทานได้ไม่เพียงพอก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มมื้ออาหาร

3.เครื่องดื่ม

ปริมาณเครื่องดื่มต่อวันมีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับปริมาณเครื่องดื่มที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำวันละ 8 แก้วต่อวัน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียว

นอกจากนี้ ยังสามารถที่จะเสริม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

หากผู้สูงอายุไม่สามารถรับประทานอาหารได้มาก สำหรับเครื่องดื่มที่มีประโยชน์เหล่านั้น ได้แก่ นมปราศจากไขมัน น้ำผลไม้สด น้ำผัก

แต่ไม่แนะนำ เครื่องดื่มผู้สูงอายุ ในรูปแบบสำเร็จรูป เพื่อป้องกันการปรุงรสและการแต่งกลิ่นรวมถึงการเติมน้ำตาลในปริมาณสูงจนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคตามมา

4.ไขมัน

ผู้สูงอายุยังสามารถที่จะรับประทานอาหารที่มีไขมันได้ตามปกติ แต่ควรที่จะต้องเป็นไขมันดี และเป็นไขมันไม่อิ่มตัว

ที่สามารถหาได้จากอาหารโดยทั่วไป เช่น ถั่วต่างๆ น้ำมันมะกอก เมล็ดทานตะวัน น้ำมันปลา น้ำมันงา ซึ่งนอกจากจะเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแล้ว

ไขมันเหล่านี้ยังสามารถช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจและช่วยลดความเสี่ยงในการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย

พร้อมกันนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเกี่ยวข้องกับไขมันอิ่มตัว เช่น ครีม เบอร์เกอร์ ไส้กรอก เค้ก ช็อคโกแลต

นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของระบบหัวใจแล้วยังส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายได้ด้วยนั่นเอง

5.โปรตีน

โปรตีนถือเป็นสารอาหารสำคัญที่ผู้สูงอายุควรจะเน้นเป็นหลัก เนื่องจากโปรตีนจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อ

โดยเซลล์กล้ามเนื้อจะช่วยในการลดการเสียดสีระหว่างกระดูกข้อต่อ และปัญหากระดูกอื่นๆ

โดยสามารถที่จะเลือกรับประทานได้จากอาหารหลากหลายชนิด เช่น อกไก่ ถั่วต่างๆ และปลาแซลมอน

6.ผักและผลไม้

ผักและผลไม้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญในการจัดโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ เพราะผลไม้และผักหลากสีสามารถที่จะช่วยสร้างสีสันให้กับอาหารของผู้สูงอายุ

และช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ดี นอกจากนี้ ผักและผลไม้ยังมีสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย

แต่ไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุได้รับผลไม้ที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมากจนเกินไป โดยผักผลไม้ที่แนะนำ คือ กล้วย ส้ม กะหล่ำปลี และแครอท

7.อาหารสำเร็จรูป

เพื่อโภชนาการที่ดีของผู้สูงอายุควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อย่างเช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

เพราะมีส่วนประกอบของโซเดียมปริมาณมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากนั่นเอง

8.ฉลากโภชนาการ

การอ่านฉลากโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบถึงปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารแต่ละชนิด

แต่ไม่เพียงแค่การบอกถึงปริมาณของสารอาหารเท่านั้น แต่ฉลากโภชนาการยังสามารถที่จะบ่งบอกในเรื่องของปริมาณแคลอรี่ของอาหารแต่ละชนิดได้อีกด้วย

ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกซื้ออาหารควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างละเอียด เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารชนิดนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

9.การซื้อวัตถุดิบ

การซื้อวัตถุดิบผลกระทบผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว อาจจะต้องมีการทำความเข้าใจในการเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสม

และมีคุณค่าทางโภชนาการ ในปัจจุบันนั้นตามซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ จะมีการบอกเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

แต่ไม่เพียงเท่านั้นควรที่จะต้องสังเกตวันหมดอายุของอาหารร่วมด้วย เพื่อที่จะได้จัดการกับระยะเวลาในการจัดเก็บอาหารเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง

10.การรับประทานอาหารพร้อมกัน

สำหรับผู้สูงอายุอาจจะสามารถบริโภคได้น้อยกว่าปริมาณที่เหมาะสมของร่างกาย เนื่องจากจะต้องรับประทานอาหารเพียงคนเดียว

ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นผู้สูงอายุให้สามารถรับประทานอาหารให้ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

ควรจัดสรรบรรยากาศการนั่งรับประทานอาหารแบบพร้อมหน้าพร้อมตากันกับคนในครอบครัว

ตลอดจนการได้นั่งทานอาหารกับกลุ่มเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันด้วยบ้าง ก็ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นความอยากอาหารได้ดีทีเดียว

Credit : bumrungrad.com

โภชนาการผู้สูงอายุ อาจจะดูแล้วเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากทำความเข้าใจและสามารถปรับให้เหมาะสมกับการการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุได้

ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นจากการรับประทานอาหารได้อย่างไม่ยากเย็นอีกต่อไป