โรคกลัวการแต่งงาน ปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่อันตราย แค่ปรับพฤติกรรมก็แก้ไขได้ !

โรคกลัวการแต่งงาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นทางด้านสุขภาพจิต ส่งผลให้ความนึกถึงและพฤติกรรมผิดแผกไปจากคนอื่น

โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งงาน การมีชีวิตคู่ วันนี้เราจะพาคุณมาดูกันว่า โรคกลัวการแต่งงานคืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

เพราะหลายคนอาจจะไม่อยากเชื่อว่าจะมีโรคแบบนี้ด้วย ว่าแล้วก็ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

โรคกลัวการแต่งงาน คืออะไร?        

โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเป็นหลัก โดยสามารถที่จะเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

แต่ในปัจจุบันมีการวิจัยออกมาว่าผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะต้องการแต่งงาน

เนื่องจากการแต่งงานเป็นอีกวัฒนธรรมที่สำคัญของผู้หญิงสมัยนี้ และผู้หญิงก็เป็นเพศที่มีมีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดละเอียดอ่อน

ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวเรื่องความรัก ผู้หญิงจึงเป็นเพศที่ค่อนข้างปรารถนาที่จะอยากแต่งงาน และได้ใช้ชีวิตคู่อยู่กับคนรักมากที่สุด

สาเหตุของโรคกลัวการแต่งงาน

โรคกลัวการแต่งงาน หากเป็นเมื่อก่อน เราอาจจะเคยได้ยินกับคำว่า เจ้าสาวกลัวฝน หรือกลัวการแต่งงานนั่นเอง

แต่แท้จริงแล้ว หากเราลองได้ทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งจะพบว่า โรคกลัวการแต่งงานสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งสาเหตุในการเกิดโรคก็มีดังต่อไปนี้

1.กลัวการสูญเสียอิสรภาพ

ผู้หญิง อาจจะมีความกลัวในการสูญเสียอิสรภาพในการแต่งตัว หรือการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการไปช้อปปิ้งเครื่องแต่งกาย และอื่นๆ เพราะอาจจะต้องเกรงใจคู่ชีวิตให้มากขึ้น

ผู้ชาย จะมีความกลัวในด้านของการมีสังคม การออกไปปาร์ตี้ เพราะเมื่อแต่งงานแล้วการออกไปปาร์ตี้จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สมควร จึงอาจจะทำให้เสียสังคมไปได้

2.กลัวการเปลี่ยนแปลง

ผู้หญิง กลัวฝ่ายชายจะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่แต่งงาน กลัวความเบื่อหน่ายจำเจ ที่จะต้องอยู่คนเดียวไปตลอดชีวิต เนื่องจากสามีนอกใจไปมีคนใหม่

ผู้ชาย กลัวว่าจากสาวสวยที่เคยชอบในตอนแรก จะเปลี่ยนกลายเป็นคนละคน เช่น แก่ขึ้น ไม่แต่งตัว ขี้บ่น และจุกจิกในทุกๆ เรื่อง

3.กลัวไม่ใช่

เป็นความกลัวที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในทิศทางเดียวกัน เพราะอาจจะรู้สึกว่าในการคบเป็นแฟนอาจจะดีทุกๆ อย่าง

เพราะไม่จำเป็นที่จะอยู่ด้วยกันทุกวัน เห็นหน้ากันตลอด และที่สำคัญในเรื่องของพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าหากแต่งงานแล้วก็อาจจะพบเจอสิ่งเหล่านี้ จนทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่เข้ากัน

4.กลัวสิ่งที่ต้องทำ

โดยเฉพาะงานบ้าน อาจจะถือเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ คน เพราะสาวๆ ในยุคปัจจุบันอาจจะไม่ได้ใส่ใจในเรื่องทำงานบ้านเท่าที่ควร

เพราะฉะนั้นถ้าหากฝ่ายชายหวังแต่งงานเพื่อที่จะให้ไปเป็นพ่อบ้าน ก็อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการกลัวการมีชีวิตคู่

5.กลัวการเลิกรา

บางรายอาจจะเคยเห็นในเรื่องของการหย่าร้างจากคนรอบข้าง โดยจะต้องมีเรื่องวุ่นวาย ทั้งการตกลงด้านทรัพย์สิน หรือแม้แต่กระทั่งเวลาที่คนรอบข้างรู้เรื่อง อาจจะต้องคอยนั่งตอบคำถามอยู่ตลอด

6.กลัวการเป็นผู้นำ

เพราะสำหรับผู้ชายมักจะถูกกดดัน ทั้งจากคนรอบข้างและคนรักในการมาเป็นผู้นำของครอบครัว โดยจะต้องดูแลครอบครัวให้ดี เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ชายถูกกดดันอยู่ลึกๆ จึงทำให้กลัวการแต่งงาน

อาการของโรคกลัวการแต่งงาน

สำหรับอาการของโรคกลัวการแต่งงาน สามารถที่จะแสดงให้เห็นผ่านทางร่างกาย รวมถึงการแสดงออกผ่านทางอารมณ์และความคิด ดังนี้

อาการทางร่างกาย

  • ตัวสั่น
  • คลื่นไส้
  • ร้องไห้
  • เจ็บหน้าอก
  • เวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกเยอะ
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นเร็ว

อาการทางจิต

  • หวาดกลัวเกี่ยวกับการแต่งงาน
  • หลีกเลี่ยงการพูดถึงการแต่งงาน
  • กลายเป็นคนไม่มีเหตุผล
  • เป็นคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้
  • รู้สึกสูญเสียการควบคุม

การวินิจฉัยโรคกลัวการแต่งงาน

สำหรับการวินิจฉัยโรคกลัวการแต่งงานนั้น จิตแพทย์นอกจากจะใช้วิธีสอบถามประวัติของผู้ป่วยแล้ว ยังมีการทำแบบทดสอบ DSM-III โดยมีหลักเกณฑ์จากสาเหตุ คือ

  • ความกลัวแบบไร้เหตุผล
  • เกิดความตึงเครียดจากความกลัว
  • ความผิดปกติที่ไม่ได้มาจากทางจิต

วิธีรักษาโรคกลัวการแต่งงาน

สำหรับการรักษาโรคกลัวการแต่งงานสามารถที่จะแบ่งเป็นการรักษาทางการแพทย์ และรักษาตามแบบฉบับพื้นฐานของการปรับพฤติกรรม โดยสามารถที่จะแบ่งได้ ดังนี้

รักษากับทางการแพทย์

1.การบำบัดพฤติกรรมบำบัด (CBT) เป็นวิธีบำบัดโรคกลัวการแต่งงานที่ได้ผลมากที่สุด โดยแพทย์จะสอบถามความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการแต่งงาน

หลังจากนั้นจิตแพทย์จะเริ่มการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแต่งงานกับผู้ป่วย เพื่อให้มีทัศนะคติที่ดีเกี่ยวกับการแต่งงาน

2.การเผชิญหน้าโดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่กลัวการแต่งงาน วิธีแก้ที่สามารถทำได้คือ การให้ไปงานแต่งงานของคนรู้จักบ่อยๆ

เพื่อที่จะได้เห็นถึงบรรยากาศและผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น

3.ครอบครัวบำบัด สำหรับการใช้ครอบครัวในการบำบัดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ช่วยลดการเกิดความกลัวไปได้

แต่ทั้งนี้การใช้ครอบครัวบำบัดจะเป็นวิธีในการสร้างแรงจูงใจในการเผชิญปัญหาเกี่ยวกับความกลัวการแต่งงาน

4.การบำบัดด้วยยา แพทย์จะสั่งจ่ายยาให้ก็ต่อเมื่ออยู่ในขั้นที่ร้ายแรงแล้วจริงๆ โดยจะสั่งจ่ายยาลดความกังวล

รักษาด้วยการปรับพฤติกรรม

1.คิดเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาว สำหรับการวางแผนระยะยาวจะช่วยลดความกังวลในการกลัวการแต่งงานได้มาก

เพราะสำหรับบางคนอาจจะต้องจ่ายค่าบ้าน รถ หรือมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เพราะฉะนั้นก็จะต้องลดภาระความผูกพันเกี่ยวกับหนี้ระยะยาว

โดยอาจจะตั้งเป้าหมายใช้หนี้บางอย่างให้เรียบร้อยจึงวางแผนแต่งงานก็จะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับภาระที่จะต้องจ่ายในอนาคตลงได้

2.ความมุ่งมั่น หากอยากที่จะรักษาโรคกลัวการแต่งงาน การวิเคราะห์เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของตัวเองเป็นเรื่องที่ช่วยได้

เพราะหากมุ่งมั่นที่อยากจะมีชีวิตคู่ และสามารถที่จะยอมรับได้ทั้งข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการใช้ชีวิตของอีกฝ่ายได้ ก็จะช่วยลดความกลัวในการแต่งงานลงไปด้วย

แต่หากลองวิเคราะห์จากเงื่อนไขหรือข้อกำหนดต่างๆ แล้ว พบว่ายังไม่สามารถที่จะรับได้ ก็ถือว่ายังไม่เหมาะที่จะแต่งงาน

3.เรียนรู้ความผูกพัน การเรียนรู้ในการสร้างความผูกพัน จะช่วยลดความกังวลการเลิกกันในอนาคตลงได้ โดยวิธีสร้างความผูกพันมีอยู่หลายวิธี

เช่น อยู่ด้วยกันในเวลาที่ยากลำบาก ซื่อสัตย์ในความสัมพันธ์ และที่สำคัญไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรก็ควรที่จะต้องบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ไปด้วยพร้อมกัน

วิธีป้องกันโรคกลัวการแต่งงาน

สำหรับวิธีป้องโรคกลัวการแต่งงาน มีหลากหลายวิธีโดยสามารถที่จะอธิบายได้ ดังนี้

1.บอกเกี่ยวกับความกลัว

เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งควรที่จะต้องบอกเกี่ยวกับความกลัวที่เกิดขึ้นกับการแต่งงานให้กับคนรักได้รู้ ไม่ว่าจะเป็นการมีลูก

อาชีพ การจัดการด้านการเงิน ในอนาคตว่าจะจัดการอย่างไร เพราะการบอกสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนการหาทางออกได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

2.ทำความเข้าใจความไม่สมบูรณ์

สำหรับผู้ที่ต้องการมีชีวิตคู่สิ่งที่ควรจะต้องทำความเข้าใจ ก็คือชีวิตคู่มักจะไม่สมบูรณ์เสมอไป เพราะบางครั้งอาจจะต้องทะเลาะกัน

มีปัญหาเรื่องการจัดการหน้าที่ในบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนจะทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ และเป็นปัญหาในการแต่งงานส่งผลให้หลายๆ คนกลัวการแต่งงาน

3.ลองอยู่ด้วยกัน

แต่อาจจะใช้ได้เพียงแค่บางคนเท่านั้น เพราะตามวัฒนธรรมไทยการอยู่ก่อนแต่งงานอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม หากคู่ใดสามารถลองอยู่ด้วยกันได้

ก็จะได้เรียนรู้พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนเรียนรู้นิสัยกันและกัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ ปรับตัวเข้าหากันได้หรือเปล่า

4.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อเป็นการลดความกังวล และความกลัวต่างๆ การเข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านของปัญหาครอบครัวเพื่อรับคำแนะนำ

รวมทั้งการประเมินเพื่อมองหาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือหากไม่อยากไปหาผู้เชี่ยวชาญ ก็สามารถที่จะปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่แทนก็ได้

โรคกลัวการแต่งงาน เป็นโรคความกลัวชนิดหนึ่งที่ไม่ได้รุนแรงมากนัก การรักษาและป้องกันด้วยการเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งบำบัด

จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ เข้าใจและยอมรับสภาพนั้นได้ ซึ่งการแต่งงานก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไปอย่างที่คิด