โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก ปัญหาสุขภาพจิตที่เล่นงานคนยุคใหม่ได้ง่ายไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก เป็นโรคใหม่ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ด้วยเพราะยุคสมัยที่ก้าวล้ำไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์นับวันก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น กระแสการอัพเดทเรื่องราวชีวิตตนเองผ่านเฟซบุ๊กจึงมีมากขึ้นตาม และโซเชียลมีเดียก็ล้วนแฝงไปด้วยความหลอกลวงเช่นกัน บางอย่างก็ไม่ใช่ข้อมูลจริง อาจเป็นข้อมูลที่บิดเบือน โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่นอกจะช่วยย่อโลกของมิตรภาพมาใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่าการเล่นเฟซบุ๊ก หากผู้เล่นใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของเฟซบุ๊กอย่างการมีปัญหาทางสุขภาพจิต จากการอิจฉาคนอื่นที่มีชีวิตดีกว่า นำมาซึ่งการมองตัวเองในคุณค่าที่ต่ำลง จนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กตามมาในที่สุด โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก คืออะไร โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดี หากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) มีสาเหตุมาจากการติดตามเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ผลลัพธ์จากการศึกษาบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจาก 1.การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจลดความสัมพันธ์แบบเห็นหน้ากัน 2.ลดการลงทุนในกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ 3.เพิ่มพฤติกรรมการเดิน นิ่ง โดยการกระตุ้นให้มีเวลาหน้าจอมากขึ้น 4.นำไปสู่การเสพติดอินเทอร์เน็ตและการทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผ่านการเปรียบเทียบทางสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย คนมักจะแสดงแง่มุมที่ดีที่สุดในชีวิตของตนเองบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างความเป็นไปได้ที่ต้องการให้คนอื่นเชื่อว่าชีวิตของตนเองดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตของเพื่อน ๆ ที่แสดงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ […]

kaewsai

August 20, 2018

โรคกลัวการแต่งงาน ปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่อันตราย แค่ปรับพฤติกรรมก็แก้ไขได้ !

โรคกลัวการแต่งงาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นทางด้านสุขภาพจิต ส่งผลให้ความนึกถึงและพฤติกรรมผิดแผกไปจากคนอื่น โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งงาน การมีชีวิตคู่ วันนี้เราจะพาคุณมาดูกันว่า โรคกลัวการแต่งงานคืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง เพราะหลายคนอาจจะไม่อยากเชื่อว่าจะมีโรคแบบนี้ด้วย ว่าแล้วก็ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย โรคกลัวการแต่งงาน คืออะไร?         โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเป็นหลัก โดยสามารถที่จะเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ในปัจจุบันมีการวิจัยออกมาว่าผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะต้องการแต่งงาน เนื่องจากการแต่งงานเป็นอีกวัฒนธรรมที่สำคัญของผู้หญิงสมัยนี้ และผู้หญิงก็เป็นเพศที่มีมีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดละเอียดอ่อน ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวเรื่องความรัก ผู้หญิงจึงเป็นเพศที่ค่อนข้างปรารถนาที่จะอยากแต่งงาน และได้ใช้ชีวิตคู่อยู่กับคนรักมากที่สุด สาเหตุของโรคกลัวการแต่งงาน โรคกลัวการแต่งงาน หากเป็นเมื่อก่อน เราอาจจะเคยได้ยินกับคำว่า เจ้าสาวกลัวฝน หรือกลัวการแต่งงานนั่นเอง แต่แท้จริงแล้ว หากเราลองได้ทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งจะพบว่า โรคกลัวการแต่งงานสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งสาเหตุในการเกิดโรคก็มีดังต่อไปนี้ 1.กลัวการสูญเสียอิสรภาพ ผู้หญิง อาจจะมีความกลัวในการสูญเสียอิสรภาพในการแต่งตัว หรือการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการไปช้อปปิ้งเครื่องแต่งกาย และอื่นๆ เพราะอาจจะต้องเกรงใจคู่ชีวิตให้มากขึ้น ผู้ชาย จะมีความกลัวในด้านของการมีสังคม การออกไปปาร์ตี้ เพราะเมื่อแต่งงานแล้วการออกไปปาร์ตี้จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สมควร จึงอาจจะทำให้เสียสังคมไปได้ 2.กลัวการเปลี่ยนแปลง ผู้หญิง กลัวฝ่ายชายจะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่แต่งงาน กลัวความเบื่อหน่ายจำเจ ที่จะต้องอยู่คนเดียวไปตลอดชีวิต […]

kaewsai

May 3, 2018

10 วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ยืดคุณภาพชีวิตให้อยู่กับลูกหลานยาวนานขึ้น

ผู้สูงอายุ ถือเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกาย อวัยวะต่างๆ ที่เสื่อมสภาพ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ผิวพรรณ ใบหน้า กล้ามเนื้อ และสายตาก็เริ่มมีสภาพที่เสื่อมโทรมลง นอกจากความเปลี่ยนแปลงทางกายแล้ว ในด้านของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประสบการณ์การใช้ชีวิตในช่วงวัยที่ผ่านมา ทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นผู้ที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” จึงทำให้เกิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น และกลายเป็นผู้สูงอายุที่แก่ชราอย่างมีคุณค่า แต่ในขณะเดียวกัน บางความสูญเสียก็อาจกลายเป็นความทรงจำแย่ๆ ที่ตกผลึกมาตอกย้ำซ้ำเติมและทำร้ายจิตใจผู้สูงอายุในยามที่อยู่ลำพังได้ ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง? ช่วงวัยที่ผ่านมา ผู้สูงอายุบางท่านอาจประสบกับการสูญเสียหลายอย่างในชีวิตไปเป็นอย่างมาก เช่น การเกษียณอายุจากการทำงาน สูญเสียเพื่อนหรือคู่ครองจากการเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุจะต้องปรับตัวอย่างมาก เมื่อก้าวเข้าสู่วัยแก่ชรา เพราะหากไม่สามารถปรับตัวได้ ก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมา ซึ่งปัญหาที่มักพบได้บ่อยๆ ได้แก่ อาการวิตกกังวล โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อการช่วยลดสาเหตุของการเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ตลอดจนวิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เราสามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ 1.ควรให้ความเคารพนับถือ สิ่งนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ลูกหลานและคนใกล้ตัวควรให้การปฏิบัติเพื่อเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เพราะการเคารพ นับถือและยกย่องท่านอยู่เสมอจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อทุกคนในครอบครัว รวมถึงบุคคลอื่นๆ ด้วย 2.พบปะคนในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวควรหาเวลาว่างๆ เพื่อเข้าพบปะเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุบ้าง […]

kaewsai

September 27, 2017