โรคนิ่วในไต เป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวเรา โดยที่หลายคนอาจจะไม่ทันนึกถึง และมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนมาก
บางคนเป็นแล้วไม่รู้ตัว วันนี้เราตามไปดูกันดีกว่าว่าโรคนี้เป็นอย่างไร มีอาการ สาเหตุ และวิธีรักษาป้องกันอย่างไรบ้าง
โรคนิ่วในไต คืออะไร
โรคนิ่วในไต มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Kidney Stones เป็นโรคที่เกิดจากแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ
ที่เกิดการรวมตัวกันจนกลายเป็นก้อน ก้อนนิ่วมีหลายชนิด ซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป โดยปกติจะเกิดขึ้นบริเวณไต
แต่สามารถพบได้ตลอดทางเดินปัสสาวะ จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงหากปัสสาวะมีความเข้มข้นจนทำให้ธาตุต่าง ๆ ตกตะกอน
จนจับตัวกันกลายเป็นก้อนนิ่ว นิ่วในไตจะสร้างความทุกข์ทรมานให้แก้ผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก
หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนไปปิดกั้นและสร้างบาดแผลที่ไต จะทำให้ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
อาการของนิ่วในไต
ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กมาก อาจหลุดออกไปพร้อมกับปัสสาวะโดยไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเจ็บปวดใด ๆ
อาการของนิ่วในไตจะยังไม่ปรากฏอาการจนกว่านิ่วจะเริ่มเคลื่อนตัวรอบ ๆ ไตไปยังท่อไต
เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างไตและกระเพาะปัสสาวะ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต มีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดบริเวณหลังหรือช่องท้องด้านล่างข้างใดข้างหนึ่ง อาจเกิดอาการปวดร้าวลงมาจนถึงบริเวณขาหนีบ
- จะมีอาการปวดบีบเป็นระยะ มีอาการปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ ที่บริเวณดังกล่าว
- เวลาปัสสาวะมีเลือดปนออกมา อาจมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล
- เวลาปัสสาวะจะรู้สึกเจ็บ
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
- หนาวสั่น เป็นไข้
สาเหตุของนิ่วในไต
นิ่วในไตเกิดจากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสะสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้ความเข้มข้นน้อยลง จึงทำให้เกิดการเกาะตัวของนิ่วในไต
นิ่วในไตยังอาจเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การทานเกลือ น้ำตาล และอาหารที่มีโปรตีนสูง
การดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน รวมถึงอาจเกิดจากโรคอื่นที่เป็นอยู่ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเมตาบอลิก
รวมถึงการใช้ยาบางชนิด การรับประทานวิตามินดีเสริมมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดนิ่วในไตได้
สาเหตุของนิ่วในไตจะแบ่งตามประเภทของก้อนนิ่วที่เกิดขึ้น จากสารหลัก 4 ชนิด ดังต่อไปนี้
1.แคลเซียม ก้อนนิ่วในไตที่เกิดจากแคลเซียมเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นก้อนนิ่ว
ที่เกิดจากแคลเซียมรวมกับออกซาเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่พบได้ในอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกัน
เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ผักใบเขียว ถั่วเต้าหู้ โซดา เบียร์ ชา กาแฟ ส่วนก้อนนิ่วชนิดอื่นที่มารวมกับแคลเซียม อาจเป็นฟอสเฟตหรือกรดมาลิก
2.กรดยูริก ก้อนนิ้วชนิดนี้จะพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบได้ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์รวมถึงผู้ป่วย
ที่กำลังเข้ารับการเคมีบำบัด ก้อนนิ่วที่เกิดจากกรดยูริก จะเกิดขึ้นต่อเมื่อปัสสาวะมีกรดสูงมากจนเกินไป
3.สตรูไวท์ เป็นก้อนนิ่วที่ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
ก้อนนิ่วชนิดนี้จะเป็นก้อนนิ่วซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่ไต มีขนาดใหญ่ จนไปขัดขวาง ทำให้การขับปัสสาวะถูกปิดกั้น
4.ซีสทีน เป็นนิ่วที่พบได้ไม่บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของซีสทีน
ซึ่งเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยธรรมชาติ และรั่วจากไตออกมายังปัสสาวะ
วิธีรักษานิ่วในไต
นิ่วในไตเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ โดยจะใช้วิธีรักษาที่หลากหลายซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนนิ่วและสาเหตุของการเกิด
สำหรับแนวทางการรักษานิวในไตนั้นจะพิจารณาไปตามขนาดของก้อนนิ่วเพื่อให้การรักษาอย่างตรงจุดตามลักษณะดังต่อไปนี้
1.การรักษานิ่วในไตขนาดเล็ก
การรักษานิ่วในไตที่มีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
จะช่วยขับก้อนนิ่วให้หลุดออกมาพร้อมปัสสาวะ ควรดื่มน้ำให้มากพอ จะทำให้ปัสสาวะเจือจาง จนไม่มีสีเหลืองและสีน้ำตาล
นิ่วอาจจะหลุดลงมาเป็นก้อนนิ่วในท่อไต ในบางกรณีแพทย์แพทย์อาจพิจารณาเอาก้อนนิ่วออก
ก้อนนิ่วขนาดเล็กอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม แพทย์อาจจะให้ยาบรรเทาปวด
การใช้ยาขับก้อนนิ่วก็เป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยแพทย์จะสั่งจ่ายยากลุ่มแอลฟา – บล็อกเกอร์
ซึ่งเป็นยาขับก้อนนิ่วออกมาทางปัสสาวะ ยาจะออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ทำให้นิ่วในไตถูกขับออกมาได้เร็ว ทำให้รู้สึกเจ็บน้อยเพียงแค่ดื่มน้ำช่วย
2.การรักษานิ่วในไตขนาดใหญ่
ก้อนนิ่วจะมีขนาดใหญ่มากว่า 5 มิลลิเมตร สามารถทำให้เลือดออกได้ ทำให้เกิดแผลที่ท่อไต
หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จนไม่สามารถหลุดออกมาเองได้ จะต้องใช้การรักษาดังต่อไปนี้
การใช้คลื่นเสียง เหมาะสำหรับนิ่วในไตที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร เป็นการใช้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง
ทำให้นิ่วแตกตัวออกมาเป็นชิ้นเล็ก จนถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 45 – 60 นาที
การผ่าตัดก้อนนิ่วออก เหมาะสำหรับก้อนนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 3 เซ็นติเมตร แพทย์จะใช้การผ่าตัด
โดยการส่องกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก และสอดเครื่องมือเข้าไปบริเวณหลังของผู้ป่วย เป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพถึง 72 – 99 %
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ โรคต่อมไทรอยด์สูง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดนิ่วในไตที่เกิดจากแคลเซียมฟอสเฟต
โดยมีสาเหตุมาจากก้อนเนื้องอกที่เจริญเติบโตบนต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดเอาเนื้องอกออก จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตได้
วิธีป้องกันโรคนิ่วในไต
วิธีการป้องกันโรคนิ่วในไต สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง โดยการดื่มน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอ
ก็จะช่วยลดความเข้มข้นของปัสสาวะ ทำให้เจือจางลง ดังนั้นการดื่มน้ำจึงเป็นวิธีป้องกันโรคนิ่วในไตที่ทำได้ง่าย
Credit : emedicinehealth.com
โรคนิ่วในไต เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุต่าง ๆ จนรวมตัวกันกลายเป็นก้อนนิ่ว เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดแก่คนไข้
ถึงแม้ว่าก้อนนิ่วจะมีขนาดเล็กก็ตาม การรักษานิ่วในไตก็สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด การใช้คลื่นเสียง การดื่มน้ำให้เพียงพอ
จะก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไตได้ รู้กันแบบนี้แล้ว ก็เฝ้าระมัดระวังและดูแลใส่ใจสุขภาพกันให้มากขึ้นนะคะ