โรคมือจีบเกร็ง โรคหอบจากอารมณ์ ใส่ใจรู้ลึก.. ก็รับมืออาการได้อย่างเท่าทัน !

โรคมือจีบเกร็ง โรคหอบจากอารมณ์

โรคมือจีบเกร็ง หรือ โรคหอบตามอารมณ์ เป็นอีกหนึ่งโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยเช่นกัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมรอบตัวที่อาจนำมาซึ่งความเครียด

ความกดดัน จนทำให้จิตใจผู้ป่วยย่ำแย่ ไม่อาจทนรับกับสภาวะนั้นได้ไหว ก็จะแสดงอาการหายใจหอบถี่ออกมา พร้อมกับอาการมือจีบเกร็ง

อย่างไรก็ตาม โรคนี้แม้ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงหรืออันตรายถึงแก่ชีวิต แต่การที่ผู้ป่วยเป็นโรคนี้บ่อยๆ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้

โดยจะทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตแย่ ไม่มีประสิทธิภาพที่สดใสเหมือนเช่นคนอื่นๆ และยังส่งผลทำให้ง่ายต่อการเป็นซึมเศร้าตามมาอีกด้วย

ผู้ใกล้ชิดจึงจะต้องใส่ใจดูแลเป็นอย่างมาก เรามาดูกันว่า โรคมือจีบเกร็งคืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกัน ทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

โรคมือจีบเกร็ง คืออะไร?

โรคมือจีบเกร็ง หรือ โรคหอบตามอารมณ์  (Hyperventilation) คือ ภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

โดยทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจเร็วและลึกมากกกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลทำให้รูปแบบของการหายใจเสียสมดุล

เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายและสมองมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง และยังทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำลงอีกด้วย

สาเหตุของโรคมือจีบเกร็ง

สำหรับสาเหตุของโรคมือจีบเกร็ง หากจะให้พูดถึงสาเหตุหลักๆ ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากภาวะวิตกกังวล ความกดดัน

แม้แต่กระทั่งความเครียด ก็ถือเป็นผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ จึงทำให้เกิดโรคมือจีบเกร็งขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

  • โรคหอบ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคปอดติดเชื้อ
  • การตั้งครรภ์
  • มีไข้
  • โรคถุงลมโป่งพอง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่เกิดมาจากโรคต่างๆ แต่ทั้งนี้สำหรับโรคมือจีบเกร็ง ถ้าหากร่างกายได้รับสารกระตุ้นหรืออาจจะใช้ยาเกินขนาด

ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคได้เช่นเดียวกัน แม้แต่กระทั่งการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 6,000 ฟุต ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการถูกกระตุ้น

อาการของโรคมือจีบเกร็ง

อาการของโรคมือจีบเกร็ง มักจะไม่มีการแสดงออกให้เห็นเป็นเวลานาน เพราะผู้ป่วยจะมีอาการเพียงแค่ 20-30 นาทีเท่านั้น โดยจะมีการแสดงออกทางร่างกาย ดังนี้

  • อาการที่ระบบทางเดินหายใจ สำหรับโรคมือจีบเกร็งสามารถที่จะเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจได้ คือ หายใจเร็ว มีอาการหอบ โดยจะหายใจหอบถี่ บางรายอาจจะถอนหายใจได้บ่อยๆ
  • อาการ Tetanic คืออาการที่มีผลต่อหัวใจ และสามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตึง
  • อาการทางสมอง สามารถที่จะส่งผลทำให้เกิดอาการทางสมองได้เช่นเดียวกัน โดยจะทำให้เกิดอาการเวียนหัว แล้วปวดหัว

ถือเป็นรูปแบบของอาการที่สามารถแบ่งลักษณะอาการออกได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดโรคมือจีบเกร็ง

อย่างเช่น ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้า โรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อย่างเช่น อาการปวดท้อง ไม่เพียงเท่านี้ อาจจะมีอาการที่รู้สึกว่าร้อนๆ หนาวๆ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นอาการทางกายภาพที่สามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเป็นโรคมือจีบเกร็งนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือจีบเกร็ง

สำหรับโรคมือจีบเกร็งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้มีอาการที่รุนแรงอย่างชัดเจน แต่ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือจีบเกร็งจะสะท้อนออกมาถึงการใช้ชีวิต

คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีเท่าที่ควร โดยสาเหตุเป็นเพราะอาจจะมาจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นของโรคนี้นั่นเอง จึงทำให้ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะเครียดหรือเป็นซึมเศร้าขึ้นได้

การวินิจฉัยโรคมือจีบเกร็ง

การวินิจฉัยโรคมือจีบเกร็ง นอกเหนือแพทย์จะสอบถามประวัติส่วนตัวของผู้ป่วยแล้ว ก็ยังมีวิธีตรวจผ่านทางห้องปฏิบัติการที่จะใช้เพื่อวินิจฉัยโรคมือจีบเกร็งเพิ่มเติม โดยมีดังนี้

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง (electroencephalography)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography)
  • การตรวจความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย (capnography testing)
  • การตรวจสารเคมีในร่างกาย
  • การตรวจสอบการทำงานของปอด

และนี่ก็คือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์มักจะนิยมใช้เพื่อหาความชัดเจนในการวินิจฉัยโรคมือจีบเกร็ง แต่นอกจากนี้ ก็ยังมีอาการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อการวินิจฉัยโรคมือจีบเกร็งเพิ่มอีก ดังนี้

  • อาการหายใจหอบในขณะพักผ่อน
  • มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • เส้นประสาทถูกกดทับ
  • มีอาการเวียนศีรษะ

วิธีรักษาโรคมือจีบเกร็ง

การรักษาโรคมือจีบเกร็ง ถือเป็นโรคที่มีวิธีรักษาหลากหลาย โดยวิธีบำบัดรักษาก็มีดังนี้

1.การหายใจ

เพราะเมื่อมีอาการกำเริบ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหอบ หายใจถี่ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามหายใจเข้าลึกๆ

ซึ่งเป็นวิธีช่วยปรับระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายและสมองให้กลับมาเป็นสมดุลดังเดิม โดยมีวิธีดังนี้

  • หายใจเข้าทางจมูก 5 วินาที
  • กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที
  • หายใจออกผ่านทางปาก 7 วินาที

2.การเดิน

การเดินสามารถที่จะช่วยในเรื่องของการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย หรือบางคนอาจจะใช้เป็นวิธีการวิ่งแทน ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการหายใจได้

3.เลือกใส่เสื้อผ้าที่ไม่อึดอัด

การเลือกใส่เสื้อผ้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาโรคมือจีบเกร็ง เพราะหากใส่เสื้อผ้าที่อุ่นมากจนเกินไปก็จะมีผลต่อการหายใจทำให้เกิดโรคมือจีบเกร็งได้

4.การพกถุงกระดาษ

การพบถุงกระดาษ เพราะจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีในเวลาที่เกิดอาการของโรคมือจีบเกร็ง

โดยจะใช้ถุงกระดาษในการหายใจ เพื่อรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ภายในถุงกระดาษเข้าไปในร่างกายให้ได้มากยิ่งขึ้น

5.การลดความเครียด

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมือจีบเกร็ง ความเครียดเกิดเป็นสาเหตุสำคัญที่จะส่งผลทำให้เกิดโรคมือจีบเกร็งได้

โดยผู้ป่วยควรจะต้องปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้น

6.การฝังเข็ม

ก่อนใช้วิธีฝังเข็มในการรักษา แนะนำว่าควรที่จะต้องปรึกษากับแพทย์ โดยวิธีนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลและลดความรุนแรงของอาการที่จะเกิดขึ้นได้

7.ฝึกการหายใจ

การฝึกการหายใจถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมือจีบเกร็ง โดยสามารถที่จะแบ่งวิธีฝึกการหายใจได้ดังนี้

วิธีฝึกหายใจ วิธีนี้อาจจะมีความรู้สึกเหมือนได้ออกกำลังกายไปในตัว โดยจะต้องพยายามฝึกหายใจให้ได้ลึกๆ

ซึ่งใช้เวลา 20 นาทีในการฝึก โดยหายใจช้าๆ เพื่อให้ลมผ่านไปทางกระเพาะอาหารหรือช่องท้อง

การฝึกโยคะ โยคะถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยในเรื่องของการฝึกการหายใจได้ดี ช่วยในการเสริมสมาธิไปในตัวซึ่งสามารถที่จะช่วยลดความวิตกกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะมีความคล้ายคลึงกับการฝึกโยคะ โดยจะช่วยในการฝึกหายใจและสามารถที่จะปรับสมดุลให้เหมาะสมกับการทำงานของร่างกายได้

วิธีป้องกันโรคมือจีบเกร็ง

สำหรับวิธีป้องกันโรคมือจีบเกร็ง สามารถที่จะป้องกันได้จากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีดังนี้

1.การเลือกสวมใส่เสื้อผ้า

ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อึดอัดรัดแน่นจนเกินไป โดยเฉพาะชุดชั้นในถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้การหายใจลำบาก

หรือคุณอาจจะสามารถหายใจได้ แต่สามารถหายใจได้เพียงแค่ตื้นๆ เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาระบบการหายใจได้นั่นเอง

2.การออกกำลังกาย

ถือเป็นเรื่องพื้นฐานเพื่อที่จะใช้ในการป้องกันโรคมือจีบเกร็ง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยปรับสมดุลให้กับการหายใจ

และที่สำคัญยังเป็นการปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล จึงช่วยลดความวิตกกังวลลงได้

3.การผ่อนคลาย

การใช้ชีวิตทำงานในบางคนอาจจะมีความเครียดบ่อยๆ จนทำให้เกิดความเครียดสะสม หรือแม้กระทั่งความกดดัน

เพราะฉะนั้น จึงควรหาเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมที่เป็นการผ่อนคลายจิตใจให้ตัวเองบ้าง เพื่อช่วยลดความเครียดและความกดดันลง

4.การพักผ่อน

ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนจะส่งผลทำให้สภาพจิตใจไม่สดชื่นแจ่มใส ทำให้สารเคมีในสมองหลั่งออกมาไม่เป็นไปอย่างสมดุล

ฮอร์โมนแปรเปลี่ยนจนทำให้เกิดภาวะอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ได้ แต่การนอนพักผ่อนเต็มอิ่ม โดยนอนวันละ 7-8 ชั่วโมง จะช่วยให้อารมณ์ดี สมองแจ่มใส ซึ่งสามารถรับมือกับความเครียดได้ง่ายอีกด้วย

5.เลือกรับประทานอาหาร

โดยควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ที่สำคัญควรที่จะงดดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ตลอดจนแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ก็ด้วยเช่นกัน

Credit : gedgoodlife.com

โรคมือจีบเกร็ง ถือว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบมาจากสิ่งที่เกิดในชีวิตประจำวัน และสภาพแวดล้อมรอบตัว

โดยเฉพาะความเครียดและความกดดันที่อยู่ในสังคมทางการทำงาน การเรียน หรือแม้แต่กระทั่งครอบครัว

และคนใกล้ชิด จึงควรที่จะต้องดูแลสุขภาพจิตให้ดี เพื่อป้องกันภาวะการเกิดสิ่งกระตุ้นโรคไม่ให้กำเริบขึ้นได้ง่าย