โรคสังคัง เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ สำหรับผู้ชาย แต่ทั้งนี้ก็สามารถที่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้ด้วยเช่นกัน
โดยโรคนี้เป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง เราตามไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่า โรคสังคัง คืออะไร? และ สุขภาพคนวัย 40
ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากที่สุดควรดูแลตนเองและรับมือกับโรคอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
โรคสังคัง คืออะไร?
โรคสังคัง (jock itch) คือ โรคผิวหนังอีกหนึ่งชนิด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายโรคเกลื้อน โดยเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อจากเชื้อรา
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดโรคได้ที่บริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน ก้น อาจจะรวมถึงบริเวณอวัยวะเพศ จึงจำเป็นที่จะต้องระวังโรคนี้มากพอสมควร
เพราะเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัส อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายก็อาจจะติดเชื้อขึ้นได้จากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่มีเชื้อ
สาเหตุของโรคสังคัง
โรคสังคังมักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังเป็นโรคที่มักจะเกิดในเพศชายเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุหลักของโรคสังคัง คือ การติดเชื้อรากลุ่ม Dermatophyte หรือเรียกว่า Trichophytor Rubrum ซึ่งเชื้อราชนิดนี้
มักจะอาศัยบนผิวหนังตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดโรคสังคังได้ง่ายนั่นเอง
บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคสังคัง
สำหรับบุคคลที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสังคัง มีดังนี้
ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นหรืออาศัยอยู่ในบ้านของคนอื่น แล้วมีการใช้ของส่วนตัวของกันและกัน
ก็สามารถได้รับเชื้อจากการส่งผ่านเชื้อราจากสิ่งของเหล่านั้นได้ หรืออาจจะมีการสัมผัสตัวกัน เพียงแค่นั้นก็สามารถทำให้เป็นโรคสังคังได้แล้ว
ผู้ที่เล่นกีฬา ผู้ที่เล่นกีฬาล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงได้เทียบเท่ากับบุคคลที่มีความเสี่ยงแบบอื่นๆ
เพราะผู้ที่เล่นกีฬาอาจจะต้องอยู่ในชุดออกกำลังกายที่ชุ่มเหงื่อ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการอับชื้นขึ้นบริเวณซอกขาหนีบ หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อราที่อยู่บนผิวหนังสามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้เป็นโรคสำคัญๆ ได้
ผู้ที่ชอบใส่เสื้อผ้ารัดรูป การใส่เสื้อผ้ารัดรูปเป็นสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคสังคังได้ โดยเฉพาะการใส่กางเกงรัดๆ เพราะจะทำให้บริเวณขาหนีบอับชื้นจนนำมาซึ่งการเกิดเชื้อราได้ง่ายนั่นเอง
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เมื่อน้ำหนักตัวมากรูปร่างจะมีการขยายไปตามน้ำหนัก จึงทำให้บริเวณขาหนีบถูกเบียดได้ง่าย
และสามารถที่จะเกิดการอับชื้นได้อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิดเป็นโรคอ้วน เสี่ยงที่จะเป็นโรคสังคังได้ง่ายกว่าผู้ที่มีรูปร่างผอม
แต่อย่างที่บอกว่าโรคสังคังเป็นโรคที่มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มคนวัยนี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่ลดน้อยลง
โดยเฉพาะในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันที่จะช่วยกำจัดเชื้อต่างๆ ซึ่งเมื่อระบบต่างๆ ทำงานแย่ลง ระบบภูมิคุ้มกันในวัย 40 ปีขึ้นไป
ก็สามารถทำงานได้แย่ลงด้วยเช่นเดียวกัน โอกาสในการติดเชื้อโรคจึงมีเพิ่มสูงมากขึ้นนั่นเอง
อาการของโรคสังคัง
โรคสังคัง เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ง่าย โดยเฉพาะในบริเวณที่เกิดการอับชื้น มักจะเป็นจุดที่เกิดการติดเชื้อง่ายมากที่สุด สำหรับอาการของโรคสามารถสังเกตได้ดังนี้
- อาการคัน โดยมักจะคันแบบรุนแรงและคันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะคันเพียงแค่จุดที่เกิดการติดเชื้อโรคเท่านั้น
- มีตุ่มใส
- มีผื่นแดง
- ผิวหนังเป็นขุย
อาการดังกล่าว ล้วนเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนสำหรับผู้ป่วยโรคสังคัง แต่สำหรับอีกหนึ่งวิธีที่สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน
คือ เมื่อเริ่มคันบริเวณที่เป็นจุดอับของร่างกาย และเริ่มเกาเพื่อให้หายคัน ผื่นแดง หรือตุ่มที่อยู่บริเวณนั้นๆ ก็จะขยายบริเวณออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นเพียงแค่อาการคันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะทำให้เกิดอาการแสบบริเวณผิวที่เชื้อเริ่มมีการลุกลาม
และหากโรคสังคังเริ่มมีการลุกลามไปบริเวณอื่นๆ ต่อให้ไม่ใช่จุดอับของร่างกายก็สามารถที่จะเป็นโรคสังคังได้ โดยเฉพาะหลังและท้อง
การวินิจฉัยโรคสังคัง
สำหรับการวินิจฉัยโรคสังคัง แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วย รวมถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
ว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้สามารถติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคสังคังได้หรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์จะมีการตรวจร่างกายในบริเวณที่เกิดโรคสังคัง
หรือสำหรับบางรายแพทย์อาจจะต้องมีการเก็บเซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นเพื่อนำไปตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติม
เพราะโรคสังคังจะมีความคล้ายคลึงกับโรคสะเก็ดเงิน และเพื่อเป็นการรักษาให้ถูกต้องตามโรคที่เป็น จึงจะต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียด
วิธีรักษาโรคสังคัง
วิธีการรักษาโรคสังคังสามารถที่จะรักษาโรคให้หายได้ด้วยตนเอง เพียงแต่จะต้องศึกษาวิธีในการรักษาอย่างถูกต้อง โดยวิธีรักษาทำได้ดังนี้
การใช้ยา : การใช้ยาถือเป็นทางเลือกลำดับแรกสำหรับผู้ป่วยโรคสังคัง โดยอาจจะต้องปรึกษากับเภสัชในการเลือกซื้อยา
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นยาฆ่าเชื้อซึ่งจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบทาน แบบผงโรย และแบบสเปรย์
การทำความสะอาด : ในบริเวณที่เป็นโรคสังคังจะต้องมีการทำความสะอาดให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสบู่
และล้างน้ำให้สะอาด นอกจากนี้จะต้องทำการซับน้ำในบริเวณที่เป็นจุดอับของร่างกายเพื่อป้องกันการเสี่ยงต่อการเกิดความอับชื้น
ซึ่งทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมาเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นให้กับผู้ที่เป็นโรคสังคังที่ถูกต้องเหมาะสม แต่จะต้องเป็นโรคที่มีอาการในระดับที่ไม่รุนแรงมาก
ซึ่งจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 4 วันอาการก็จะหายหรือทุเลาลง พร้อมกันนี้ ในบางรายอาการอาจจะยังไม่ดีขึ้น
ดังนั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วิธีป้องกันโรคสังคัง
ถึงแม้ว่าโรคสังคังจะสามารถเกิดได้จากการสัมผัสหรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น แต่ก็ยังสามารถป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสังคังได้ โดยสามารถป้องกันได้ดังนี้
เสื้อผ้าต้องสะอาด : เสื้อผ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสังคัง ดังนั้น ควรที่จะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หากทำกิจกรรมแล้วมีเหงื่อออกจนทำให้เกิดการอับชื้น
โดยควรสวมเสื้อผ้าที่สะอาดทุกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรที่จะโปร่งและใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไปจนทำให้เกิดอาการอับชื้นตามมา
การทำความสะอาด : เพื่อเป็นการป้องกันโรคสังคังควรที่จะต้องหมั่นทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดอับ เช่น ขาหนีบ นอกจากนี้ควรที่จะซับให้แห้งเพื่อไม่ทำให้บริเวณเหล่านั้นอับชื้น
ความอ้วน : การมีรูปร่างอ้วนสามารถที่จะทำให้เกิดโรคสังคังได้เช่นเดียวกัน เพราะบริเวณขาหนีบจะอับชื้นได้ง่าย ดังนั้น ควรที่จะลดความอ้วน เพื่อป้องกันการอับชื้นดังกล่าว
สำหรับการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคสังคังในผู้สูงอายุ ผู้ดูแลควรที่จะต้องรักษาความสะอาด ทั้งในเรื่องของเสื้อผ้า
และในการสัมผัสตัวกับผู้สูงอายุที่เป็นแผลบริเวณจุดอับ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอจึงเสี่ยงเป็นโรคสังคังได้ง่ายกว่าคนที่ยังอายุน้อย
Credit : thaihealth.or.th
โรคสังคัง เป็นโรคที่จำเป็นจะต้องระวังสำหรับคนอายุ 40 ปีขึ้นไปอย่างมากทีเดียว เพราะสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพในการเข้าสังคมได้นั่นเอง