โรคเพมฟิกัส เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายโดยตรง ซึ่ง โรคเพมฟิกัส คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
โรคเพมฟิกัส คืออะไร?
โรคเพมฟิกัส (pemphigus vulgaris) คือ โรคที่เกิดความผิดปกติกับระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลต่อผิวหนังและเยื่อบุผิวหนัง
จึงทำให้เกิดการแยกตัวของชั้นผิวหนังกำพร้าและหนังแท้ และเกิดตุ่มน้ำพองในระหว่างชั้นผิว ซึ่งโรคเพมฟิกัสไม่ใช่โรคติดต่อ
ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสหรือใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ป่วยก็จะไม่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้จากการสัมผัสหรือใกล้ชิดดังกล่าว และยังถือเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ตำแหน่งของการเกิดโรค
การเป็นโรคเพมฟิกัสส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณ ดังนี้
- ปาก
- คอ
- จมูก
- ตา
- ปอด
- แผ่นหลัง
- อวัยวะสืบพันธุ์
ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มจากการเป็นแผลในปากและลุกลามไปยังบริเวณต่างๆ ของร่างกาย แต่ในการเป็นโรคเพมฟิกัสจะต้องรีบรักษาให้หาย เพราะมีความเสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
ชนิดของโรคเพมฟิกัส
สำหรับชนิดของโรคเพมฟิกัส สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ แบบตื้น และแบบลึก โดยอธิบายได้ ดังนี้
1.โรคเพมฟิกัสแบบตื้น (pemphigus foliaceus)
สำหรับลักษณะของแผลที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะที่ไม่ลึกมาก และส่วนใหญ่จะเริ่มการเป็นแผลบนใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก แผ่นหลัง
โดยมักจะคันเพียงอย่างเดียวไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และเนื่องจากแผลไม่ได้ลึกมากจึงไม่ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อ
2.โรคเพมฟิกัสแบบลึก (Pemphigus vulgaris)
เป็นลักษณะที่พบบ่อยที่สุด โดยจะเริ่มจากการเกิดแผลภายในปากและลุกลามไปในพื้นที่ต่างๆ ของร่างกาย และเนื่องจากแผลมีขนาดลึกจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
อีกทั้งยังส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บและปวดแผลได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดแผลบนอวัยวะเพศได้อีกด้วย
สาเหตุของโรคเพมฟิกัส
สำหรับการเกิดโรคเพมฟิกัสอย่างที่ทราบกันดีว่าสาเหตุหลักๆ มาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยสาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นต่อการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มีดังนี้
1.การรับประทานอาหาร
ในปัจจุบันอาหารส่วนใหญ่มักจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค และสารเคมีที่อันตรายต่อร่างกายโดยที่ผู้บริโภคไม่ทราบ
ซึ่งสารทั้งหมดที่เข้าไปในร่างกายจึงมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและอ่อนแอลง
2.ความเครียด
ความเครียดเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเมื่อเราเครียดร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนโปรสตาแกลนดินส์ (prostaglandins)
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานให้กับระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยต้านการอักเสบภายในร่างกายได้อีกด้วย
3.การดื่มแอลกอฮอล์
ภายในแอลกอฮอลล์นอกจากจะมีสารแอลกอฮอลล์แล้ว ยังมีส่วนประกอบของน้ำตาล ซึ่งทั้งสองอย่างจะช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาวที่จะใช้เพื่อการกำจัดเชื้อโรค
ทำให้เชื้อโรคร้ายที่ไม่ได้รับการกำจัดจะย้อนกลับมาสร้างความเสียหายต่อระบบภูมิคุ้มกันให้แย่ลงได้นั่นเอง
4.การนอนหลับ
การนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนของร่างกายและการซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกันที่สึกหรอ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน หากนอนพักผ่อนให้เพียงพอร่างกายก็สามารถผลิตเม็ดเลือดขาวเพื่อมาต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกายได้อีกด้วย
5.การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น ตรงกันข้าม หากไม่ได้ออกกำลังกายย่อมมีผลต่อการขับของเสียออกจากร่างกายกล่าว
คือ ระบบเลือดและน้ำเหลืองจะไม่เกิดการไหลเวียน ทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะพัฒนาเซลล์ แอนตี้บอดี้ เพื่อมาจัดการกับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการของโรคเพมฟิกัส
สำหรับอาการของโรคเพมฟิกัสจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไประหว่างแบบตื้นและแบบลึก โดยสามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้
อาการของโรคเพมฟิกัสแบบตื้น
- มีแผลพุพองบนใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง
- มีอาการคันที่แผล
อาการโรคเพมฟิกัสแบบลึก
- มีตุ่มน้ำใสเริ่มจากในปาก
- เมื่อกดที่ตุ่มน้ำ น้ำจะขยายไปที่ผิวหนังบริเวณด้านข้าง
- แผลพุพองสามารถที่จะลอกได้
- มีอาการคันและปวดบริวณตุ่มน้ำ
ซึ่งการเป็นโรคเพมฟิกัสแบบลึก ถือเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มาก โดยเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วก็จะทำให้มีอาการข้างเคียงตามมา
คือ เป็นไข้ อ่อนเพลีย บางรายอาจจะแสดงอาการมากกว่าเดิมคือ แผลพุพองอาจจะมีลักษณะเป็นคล้ายรอยแผลไฟไหม้
การวินิจฉัยโรคเพมฟิกัส
โรคเพมฟิกัส เป็นโรคที่ยากต่อการวินิจฉัยและสามารถที่จะระบุได้แบบชัดเจน จึงจะต้องใช้วิธีทางการแพทย์และขั้นตอนในการวินิจฉัยที่ละเอียด ดังนี้
1.การสอบถามประวัติของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายจะมีปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมหรือพฤติกรรมบางรูปแบบ
ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติที่แตกต่างกัน จึงจะต้องระบุประวัติอย่างละเอียด
2.การเก็บตัวอย่างผิวหนัง แพทย์อาจจะต้องมีการใช้สำลี หรือถุงมือสัมผัสเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติจากกล้องจุลทรรศน์
3.การตรวจเลือด วัตถุประสงค์สำคัญของการตรวจเลือด เพื่อช่วยหาปริมาณของแอนติบอดี้ในร่างกาย
เพราะในระยะแรกของการเป็นโรคเพมฟิกัส ปริมาณของแอนติบอดี้จะสูงกว่าปกติ และจะลดลงตามลำดับเมื่อมีอาการดีขึ้น
4.การส่องกล้อง เป็นการวินิจฉัยเพื่อหาแผลพุพองที่อยู่ในลำคอ ด้วยการใส่กล้องลงไปในลำคอ
วิธีรักษาโรคเพมฟิกัส
สำหรับวิธีรักษาโรคเพมฟิกัสสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี โดยมีวิธีรักษา ดังนี้
1.รักษาด้วยยา
แพทย์จะทำการจ่ายยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งเป็นยาลดการอักเสบ แต่อยู่ในกลุ่มยาสเตียรอยด์ในระดับสูง
ที่ร่างกายสามารถรับไหว เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรค และจะปรับลดลงตามระดับเมื่ออาการของโรคดีขึ้น
2.การกรองพลาสม่า
การกรองพลาสม่า หรือการฟอกพลาสม่า เป็นการเจาะเลือดจากผู้ป่วยแล้วนำมาแยกพลาสม่าออกจากเซลล์เม็ดเลือด
หลังจากนั้นจึงฉีดพลาสม่ากลับสู่ร่างกายผ่านทางหลอดเลือดดำ เนื่องจากพลาสม่าสามารถช่วยกำจัดแอนติบอดี้ที่ทำลายเซลล์ผิวหนังได้
วิธีป้องกันโรคเพมฟิกัส
วิธีป้องกันโรคเพมฟิกัส เนื่องจากโรคดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค หรือเพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้นั่นเอง โดยสามารถทำได้ดังนี้
- หมั่นออกกำลังกาย
- เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย โดยเน้นให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่สมดุล
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
Credit : icare2check.org
โรคเพมฟิกัส ไม่ใช่โรคที่อันตรายต่อสังคม แต่อาจจะสร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยและคนที่คอยดูแลได้
เพื่อไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้น แต่หากสามารถดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการบกพร่องของภูมิคุ้มกันย่อมเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน
เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวก็ย่อมมีน้อยลงหรือไม่มีเลย